การประเมินความเข้มแข็งของชุมชน



ในหนังสือ สร้างเสริมสุขภาพด้วยการเสริมพลังชุมชน (1) Professor Laverack กล่าวไว้ในบทที่ 5 ของหนังสือว่า ได้ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกันสามแนวคิด ได้แก่ แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community participation) แนวคิดขีดความสามารถของชุมชน (Community capacity) และแนวคิดการพัฒนาชุมชน (Community development) แล้วได้ข้อสรุปว่า การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต้องมีอย่างน้อย 9 มิติด้วยกันคือ

1. การมีส่วนร่วม

2. ผู้นำชุมชน

3. โครงสร้างองค์กร

4. การประเมินปัญหา

5. การถามว่า "ทำไม" (การมีวิจารณญาณ)

6. การระดมทรัพยากร

7. การเชื่อมโยงกับองค์กรและบุคคลภายนอก

8. การสร้างความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกับตัวแทนองค์กรภายนอก (พี่เลี้ยง)

9. การบริหารจัดการ

ความเข้มแข็งของชุมชนทั้ง 9 มิติในบริบทของโครงการชุมชนน่าอยู่ (2) แสดงไว้ในตารางที่ 1


ตารางที่ 1 ความเข้มแข็งของชุมชน 9 มิติ ในบริบทของโครงการชุมชนน่าอยู่

เนื่องจากสำนักสร้างเสริมโอกาสและนวัตกรรมเห็นว่า การสร้างเสริมสุขภาพควรเน้นเรื่องผลลัพธ์ ทั้งนี้สังเกตได้ว่า เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของสสส.(3) ทั้งเป้าหมายทั่วไปและเป้าหมายเฉพาะล้วนเป็นผลลัพธ์ทั้งสิ้น โครงการชุมชนน่าอยู่ (2) จึงเน้นเรื่องผลลัพธ์ และมีการพัฒนาแนวคิดบันไดผลลัพธ์ขึ้นมา (4) ข้อความที่แสดงถึงความเข้มแข็งของชุมชนในแต่ละมิติ เป็น 5 ระดับในตารางที่ 1 ก็คือ ผลลัพธ์ของการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในแต่ละมิติเป็น 5 ระดับของการพัฒนา ซึ่งอาจนำมาแสดงเป็นบันไดผลลัพธ์ 5 ขั้นของแต่ละมิติ ดังแผนภาพที่ 1 ถึง 9 และกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์แต่ละระดับ ไว้ใต้บันไดแต่ละขั้นด้วย

ขั้นตอนสำคัญของการประเมินความเข้มแข็งของชุมชนจึงได้แก่ การหาข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน การบรรลุผลลัพธ์ระดับนั้นๆที่ตรวจสอบได้ ทำให้การประเมินมีความเรียบง่าย และผลการประเมินมีความเป็นปรนัย และ น่าเชื่อถือมากขึ้น


แผนภาพที่ 1 ความเข้มแข็งของชุมขนในมิติการมีส่วนร่วม


แผนภาพที่ 2 ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติผู้นำชุมชน


แผนภาพที่ 3 ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติโครงสร้างองค์กร


แผนภาพที่ 4 ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติการประเมินปัญหา


แผนภาพที่ 5 ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติการระดมทรัพยากร


แผนภาพที่ 6 ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติความเชื่อมโยงกับองค์กรและบุคคลภายนอก


แผนภาพที่ 7 ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติการ 'ถามว่าทำไม'


แผนภาพที่ 8 ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง


แผนภาพที่ 9 ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติการบริหารจัดการ


วิธีการประเมิน

1. การประเมินความเข้มแข็งของชุมชนในโครงการชุมชนน่าอยู่ มีสภาผู้นำชุมชนซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน เป็น ผู้ประเมิน โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้อำนวยความสะดวก

2. กำหนดการประเมินฯปีละ 3 ครั้ง ตามจังหวะการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (4,5) โดยสภาฯมีการ กำหนดผู้เก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องใช้ไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ระยะวางแผนแล้ว (เช่น มีผู้รับผิดชอบเก็บรวบรวมข้อมูลมิติละ 2 คน เป็นต้น เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องเก็บตั้งแต่ต้น)

3. ในการประเมินฯ ที่ประชุมสภาฯพิจารณาความเข้มแข็งของชุมชนทีละมิติ มีผู้เสนอข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ในมิตินั้นๆ ให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น อภิปราย ลงมติ และจดบันทึกมติพร้อมเหตุผลและข้อโต้แย้ง (ถ้ามี) แล้วจึงพิจารณา ในมิติต่อไป จนครบ 9 มิติ (จึงมีหลักฐานบันทึกไว้ในรายงานการประชุมสภาฯ)

4. นำผลการประเมินฯในแต่ละมิติที่เป็นตัวเลขของระดับความเข้มแข็งไปใส่ไว้ในแผนภาพใยแมงมุม แสดงไว้ใน ที่เหมาะสม เพื่อให้ทุกคนในชุมชนเห็นได้ ดังตัวอย่างในแผนภาพที่ 10


แผนภาพที่ 10 ตัวอย่างแผนภาพใยแมงมุม แสดงผลการประเมินความเข้มแข็งของชุมชน เปรียบเทียบผลการประเมินฯ ครั้งที่หนึ่ง (วงใน) กับการประเมินฯครั้งที่สอง (วงนอก)


ตัวอย่างการนำผลการประเมินฯมาใช้ประโยชน์

จากแผนภาพที่ 10 แสดงให้เห็นว่าหมู่บ้านตัวอย่างยังมีความเข้มแข็งค่อนข้างต่ำ (ระดับ 3) ในมิติ ผู้นำชุมชน โครงสร้างองค์กร การประเมินปัญหา และการระดมทรัพยากร (เมื่อเปรียบเทียบกับมิติอื่นที่อยู่ระดับ 4)


แผนภาพที่ 11 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลไกสภาผู้นำชุมชนและกลไกแผนชุมชนพึ่งตนเอง กับความเข้มแข็งของชุมชน 9 มิติ


เมื่อพิจารณาแผนภาพที่ 11 จะเห็นได้ว่า มิติผู้นำชุมชน โครงสร้างองค์กร และการประเมินปัญหา มีความสัมพันธ์ กับกลไกสภาผู้นำชุมชน สภาผู้นำฯจึงควรพิจารณาโครงสร้างของสภาฯว่า มีการระดมผู้นำชุมชนที่มีอยู่แล้วในชุมชน ให้มาร่วมงานด้วยในจำนวนที่เหมาะสมแล้วหรือยัง เป็นต้น

ในทำนองเดียวกัน มิติการประเมินปัญหา และการระดมทรัพยากร มีความสัมพันธ์กับกลไกแผนชุมชนพึ่งตนเอง สภาฯจึงควรนำแผนชุมชนพึ่งตนเองที่มีอยู่ขึ้นมาพิจารณาว่า มีปัญหาชุมชนประเด็นใดบ้าง นำขึ้นมาประเมินใหม่โดยมี พี่เลี้ยงเป็นผู้อำนวยความสะดวก ว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมทั้งพิจารณาเรื่องทรัพยากรด้วย แล้วเลือกแผนที่สามารถทำเอง มาดำเนินการ เพื่อเรียนรู้จากการลงมือทำ นี่คือแนวทางในการนำความรู้จากการประเมินฯมาปรับปรุงงาน ด้วยการวางแผน เพื่อนำไปสู่วงจรต่อไปคือ ทำ - ตรวจสอบ - พิจารณา - วางแผน ของการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (5)


เอกสารอ้างอิง

1. สร้างเสริมสุขภาพด้วยการเสริมพลังชุมชน แปลจาก Laverack G (2007) Health Promotion Practice: Building empowered Communities. Open University Press.

Download ฉบับแปลเป็นภาษาไทยได้ Http://www.gotoknow.org/posts/...

2. โครงการชุมชนน่าอยู่ Http://www.gotoknow.org/posts/...

3. เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ในแผนหลัก สสส. ๒๕๖๑-๒๕๖๓

4. สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือ การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา สำหรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก

5. การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา Http://www.gotoknow.org/posts/...


อำนาจ ศรีรัตนบัลล์

13 กรกฎาคม 2562

หมายเลขบันทึก: 663051เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท