เข้าร่วมโครงการ สัมมนาบูรณาการการศึษษแบบองค์รวม เพื่อการพัฒาบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ ๒๑ (๔) : AAR


การไปร่วมสัมมนาครั้งนี้ เกิดสิ่งที่ดีที่ผมเห็นกับตนเอง ดังนี้  

  • ได้พบและรู้จักเครือข่ายการศึกษาทั่วไป จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  และประสบการณ์จากการขับเคลื่อนของแต่ละสถาบัน
    • มข. ก้าวไปไกล ด้วยการบูรณาการโครงการสร้างผู้ประกอบการกับโครงการพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะการร่วมมือกับ MIT  ยกเอาสิ่งดี ๆ มาสร้างกิจกรรมสร้าง StartUp  
    • ม.นครพนม มีทีมเข้มแข็งมาก กำลังขับเคลื่อนอ่างจริงจัง ... ท่านบอกว่าสิ่งสำคัญคือการบูรณาการระหว่างการปลูกฝัง Hard Skils และ Soft Skills 
    • มรภ. ร้อยเอ็ด มีรายวิชาศาสตร์พระราชา และกำลังบูรณาการศาสตร์พระราชากับการพัฒนาชุมชน 
    • มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังปลูกฝัง "ความพอเพียง" ผ่าน กิจกรรม "หลุมพอเพียง"  ภายในมหาวิทยาลัยใจกลางเมืองที่มีพื้นที่จำกัด... น่าสนใจมากครับ 
    • วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย  ปลูกฝังโดยเน้นการทำตนเป็นแบบอย่าง และบ่มเพาะด้วยความรัก ความเมตตา  ...  ท่านเป็นอาจารย์พยาบาลครับ ... ผมรู้จักอาจารย์สอนพยาบาลหลายท่าน ที่มีบุคคลแห่งความใจดี มีเมตตาแบบนี้   ผมสงสัยว่าต้องมีอะไรสักอย่างในหลักสูตรของการสร้างพยาบาล ที่ปลูกฝังให้มีจิตใจเช่นนั้น 
    • วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ... ท่านแข็งขันถึงขั้นพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนเครือข่ายพัฒนาบัณฑิตแบบองค์รวมหรือการศึกษาทั่วไป ... รศ.ดร.ฉลาด จันทรสมบัติ ครูอาจารย์ของคนพอเพียงนั้นเองครับ ที่เป็นผู้นำขับเคลื่อน
    • วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู  น่าจะเป็นตัวอย่างของการบูรณาการการศึกษากับการพัฒนาชุมชนได้ดีมาก ... ผมคิดว่า อาจารย์ที่กำลังทำงานกับชุมชน ต้องเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับวิทยาลัยชุมชนนี้ 
    • วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เป็นเอีกแห่งที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ท่านที่เป็นตัวแทนอยู่ในกลุ่มย่อยที่ผมอยู่พอดี จึงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับท่าน ... (แต่ก็เสียดายที่เวลามีจำกัด อย่างไรก็ดี เราได้แลกเปลี่ยนเบอร์กันไว้แล้ว)
  • ได้เห็นต้นแบบของนักเรียนรู้  รศ.ดร.สุภาพ ณ นคร ผมสังเกตว่า ท่านอยู่ร่วมวงตลอด ๒ วัน ทั้งทำหน้าที่ช่วยเป็นฟากลุ่มย่อย ทั้งคอยสรุปและกำกับให้ทิศทางและเชียร์เด็กรุ่นหลัง ให้มีพลังก้าวต่อไป ... ท่านเป็นแบบอย่างของการทำอะไรด้วยใจ ท่านเป็นต้นแบบแห่งการคิดแบบองค์รวมอย่างแท้จริง สำนักศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ท่านช่วยหลายอย่างจนเดินทางมาถึงทุกวันนี้


  • ผมฟังว่า ต่อไปอาจจะไม่มีเวทีดี ๆ แบบนี้ เพราะทาง สกอ. จะส่งตรงงบประมาณไปยังมหาวิทยาลัย (ซึ่งคงไปไม่ถึงสำนักศึกษาทั่วไป)  จึงลุกขึ้นเสนอตอนท้ายการประชุม กับเจ้าหน้าที่ของ สกอ. ที่ท่านมาร่วมวงด้วย  โดยฝากท่านว่า อยากให้มีเวทีกลางแบบนี้อีก เปิดโอกาสให้คนศึกษาทั่วไป นำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน แบบไม่ต้องแข่งขัน หรือวิ่งตามความโลภแบบฝรั่งที่ทุกมหาวิทยาลัยกำลังดิ้นรน 
สุดท้ายนี้ขอจบด้วยกลอนของ ท่านอาจารย์สุภาพ ณ นคร จากกลุ่มย่อยที่ ๓ ที่ขับขานในวงโดย อ.มดเอ็กซ์ จาก ม.นครพนม  ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมและเชียร์ดังสนั่นห้องไปเลยครับ 



(ขอแก้ที่ผมพิมพ์ผิดนิดเดียวครับ  เปลี่ยนจาก ชีวิตเอย เป็น เลี้ยงชีพเอย ในบรรทัดสุดท้าย)

ขอจบบันทึกการเข้าร่วมประชุมตรงนี้ครับ  โอกาสหน้าหวังว่าจะเจอทุกท่านอีกครับ  การศึกษาทั่วไป คือหัวใจแห่งการสร้างคนที่ชาติต้องการอย่างแท้จริง การศึกษาทั่วไปจำเป็นต้องเข้าไปพัฒนาทั้งอาจารย์และนิสิต เป็นการศึกษาเพื่อชีวิต และทำให้ทุกคนเรียนรู้ตลอดชีวิต เปรียบแล้วเหมือนเป็นสิ่งขับเคลื่อนทุกสิ่งอย่างให้ก้าวย่างไปในทางที่ถูกที่ควร 


หมายเลขบันทึก: 662529เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2019 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2019 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท