94. งานวิจัยที่ส่งเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ "ครูเชี่ยวชาญ" ตาม ว 21/2560 ควรเป็นลักษณะใด?


มีครูสอบถามว่าการส่งผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ตาม ว 21/2560 ผลงานทางวิชาการต้องเป็นการวิจัยในลักษณะใด จำเป็นต้องเป็นวิจัยและพัฒนา R&D หรือไม่

คำตอบ

ตามหลักเกณฑ์ในคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครุและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สพฐ. กำหนดให้ครูที่ประสงค์ขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ “ต้องมีผลงานทางวิชาการซึ่งเป็นงานวิจัยในชั้นเรียนหรือรายงานรายงานผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 รายการ โดยต้องเป็นงานงานวิจัย    ในชั้นเรียน อย่างน้อย 1 รายการ”

แต่ในมาตรา 54 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ บัญญัติว่า “การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะใดและเลื่อนเป็นวิทยฐานะใด      ต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิทยฐานะมาตรา 42 ซึ่งผ่านการประเมิน....” ต่อไปก็ต้องไปดูว่ามาตรฐานวิทยฐานะ ตาม ว 22/256๐ ได้กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะครูเชื่ยวชาญไว้ว่า “มีคุณภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษและต้องแสดงให้เห็นว่ามีการคิดค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ วิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน พัฒนานวัตกรรมให้เป็นต้นแบบ  การเรียนรู้.....”

สรุปแล้วครูจะต้องผลงานลักษณะใด ที่แน่ ๆ ก็คือต้องทำผลงานใน 2 คือรายการที่ 1 ตาม ว ๒๑/๒๕๖๐

ก็ทำเป็นวิจัยในชั้นเรียน แต่ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ และ ว 22/256๐ ครูต้องทำงานวิจัยเป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)  จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาครูต้องตัดสินใจเองว่าจะทำงานวิจัยในลักษณะใด แต่ “ถ้าเป็นผม ผมจะทำงานวิจัยในชั้นเรียน   ที่เป็น R&D ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ และ ว 22/2560 เพราะตาม

พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗  เป็นกฎหมายหลักที่ครูทุกคนต้องปฏิบัติ" ส่วนผลงานทางวิชาการอีก ๑ รายการก็จะไปทำรายงานรายงานผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากชุมชน  การเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น

          ผลงานทางวิชาการอื่นที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ เช่น

  • ๑. การประเมินโครงการหรือการประเมินงานที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
  • ๒. สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ผลงานด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอน ผลงาน

ด้านการคิดพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นการจัดทำเป็นเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมทั้งเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

หมายเลขบันทึก: 662305เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2019 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2019 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กระชับ เข้าใจง่าย ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท