นวัตกรรมข้าวสารเสก แก้อาการปวดเมื่อย


 จากการที่สังเกตเห็น เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลหลายท่านมีอาการปวดบริเวณไหล่ ทั้ง 2 ข้างต้องใช้บริการของแพทย์แผนไทยนวด หรือกายภาพบำบัดอยู่บ่อยครั้งซึ่งหลายคนก็ รู้สึกว่าอาจต้องทิ้งงานบริการเพื่อไปดูแลตัวเอง จึงทำให้คิดว่ามีนวัตกรรมอะไรบ้างที่สามารถใช้ลดปวดลดเมื่อยในขณะที่เราให้บริการคนอื่นโดยที่ไม่กระทบกับงานได้บ้าง

      แล้วก็เห็นว่ามีเว็บต่างประเทศเขาทำ การประคบร้อนโดยใช้ข้าวสาร ซึ่งเขาเรียกว่า Heat rice pack ก็เลยมาคิดว่าน่าจะสามารถเอามาใช้ในการลดอาการปวดเมื่อยเจ้าหน้าที่ได้โดยที่ไม่กระทบกับงาน

      จากนั้นก็เริ่มมาศึกษาว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเมื่อยนั้น วัตถุที่นำมาใช้จะต้องมีอุณหภูมิสักเท่าไหร่ต้องประคบนานเท่าไร ซึ่งได้คำตอบมาว่า อุณหภูมิความร้อนที่ใช้ในการรักษาการปวดเมื่อยนั้นที่เหมาะสมคืออุณหภูมิประมาณ 40 ถึง 60 องศาเซลเซียสและวัตถุนั้นสามารถปล่อยความร้อน ได้มากกว่า 15 นาที ถึงจะทำให้อาการปวดเมื่อยนั้นลดลงได้

      หลักการในการรักษานั้นคือความร้อนที่แผ่ไป ในกล้ามเนื้อของเราจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ซีโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน ที่คั่งอยู่ในบริเวณกล้ามเนื้อนั้น สลายตัวไปเลือดกับมาไหลเวียนได้ดีแทนทำให้อาการปวดเมื่อยดีขึ้น

      จากนั้นก็เริ่มมองหาหนูทดลองไม่ใช่ใครที่ไหนก็คือแม่เรานั่นเอง ได้ทดลองนวัตกรรมนี้กับแม่มาเกือบปี อาการปวดเมื่อยลดลงลดการรับประทานยาแก้ปวดแก้อักเสบลงได้มาก นวัตกรรมที่ใช้ก็สามารถให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 40 ถึง 60 องศาเซลเซียส โดยให้ความร้อนได้นานถึง 20-30 นาทีเลยทีเดียว

      ตอนนี้ได้ทดลองใช้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล......จำนวน 30 รายที่มีอาการปวดเมื่อย บริเวณไหล่หรือที่เรียกว่าออฟฟิศซินโดรมผลการทดลองพบว่าหลังใช้นวัตกรรมอาการปวดลดลง อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ<.05 P Value = .000 ทดสอบโดยใช้สถิติ wilcoxon sign rank test 

       สำหรับวิธีการทำก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร ก็ใช้ผ้าเย็บเป็นแผ่นหรือทำตัวการ์ตูน น่ารักอย่างที่เห็นในแบบบรรจุข้าวสารข้างใน เวลาใช้ก็นำไปเข้าอบในไมโครเวฟ อุณหภูมิ สูงถึงอุณหภูมิหานกลาง เป็นเวลา 2-3 นาที  จากนั้นก็นำมาประคบบริเวณที่ปวดเมื่อยได้ คนถามว่าใช้ได้นานแค่ไหนได้ทำการทดลองของแม่ที่ทำให้เกินปีแล้วนั้นยังสามารถให้ความร้อน ในช่วงที่กำหนดได้แต่จะน้อยกว่าของใหม่ประมาณ 5 องศาเซลเซียสในค่าเริ่มต้นและความร้อนจะหมดเร็วกว่าของใหม่ประมาณ 10 นาที ก็ถือว่าโอเคนะแต่จริง 6 เดือนก็ทิ้งไปเหอะ ทำ ใหม่ก็ได้ กรณีในบ้านคนที่ไม่มีไมโครเวฟสามารถนำกระทะตั้งไฟให้ร้อน และนำนวัตกรรมข้าวสารเสกไปปิ้งบน กระทะ นับ 1-5 ผลิกกลับไปมา สัก 10-15 ครั้งเป็นอันใช้ได้แต่ความร้อนอาจ หมดได้เร็วกว่าเข้าตู้อบไมโครเวฟ เนื่องจากหลักการของไมโครเวฟคือ ทำให้โมเลกุลในวัตถุสั่นสะเทือนจนเกิดความร้อนดังนั้นข้าวทุกเมล็ดจึงมีความร้อนเท่าเท่าๆกันในขณะที่การปิ้งบนกะทะถ้าส่วนที่เจอเจอกับความร้อนก็จะร้อนมากกว่าเมล็ดข้าวที่ไม่เจอกับความร้อน แต่ก็ถือว่าอุณหภูมิ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดสามารถลดปวดได้นั่นเอง

       การสร้างนวัตกรรมในครั้งนี้มุ่งเน้นที่จะช่วย ลดความปวดเมื่อยล้าในเจ้าหน้าที่ หากคนสำราญแล้วงานย่อมสำเร็จในระยะต่อไป จะได้ทำการทดลองในผู้ป่วยต่อไป

      สามารถทำบรรจุภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบตามภาพ แล้วแต่จิตนาการ แตาหากไม่มีฝีมือในหารตัดเย็บก็ใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนูผืนเล็ก ห่อข้าวสารเอาเชือกมดหัวท้าย ก็ใช้ได้ หรือ ใช้ถุงเท้าหรือถุงแขนใส่ข้าวสารด้านในบิดหัวท้ายก็ใช้ได้เหมือนกันนะ 

       นำมาเผยแพร่หวังว่าจะมีประโยชน์ กับทุกท่านค่ะ

     ชลรรธร

     11/5/62

หมายเลขบันทึก: 661615เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2019 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2019 08:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สบายดีนะเจ้าคะ… ยายธีค่ะ

สบายดีเจ้าค่ะ คุณยาย ขอบคุณมากค่ะ

ยินดีกับงานชิ้นใหม่ อยากลองใช้ ขอซื้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท