ความรู้ในความ(ไม่)รู้ หลุมดำ2


เป็นระบบความรู้ที่มีพลังแต่ไม่มีทิศทางหรือเป้าหมายของชีวิต แตกย่อยไปไม่มีที่สิ้นสุดโดยจัดการความรู้กับโลกนอกตัว

ขอแสดงความยินดีกับหนูKMที่ได้รางวัลBlogยอดเยี่ยมจากสคส.

และขอแสดงความยินดีกับผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
(ท่านวิชม ทองสงค์)ที่ได้รับเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปีนี้

หลุดดำ2

ผมไม่รู้ว่า จัดการความรู้ของต่างประเทศเป็นอย่างไร ถ้าถือว่าเป็นศาสตร์ทางการทหาร แล้วแพร่เข้ามาในภาคธุรกิจ โดยความหมาย

เพื่อนำความรู้มาใช้ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างลัดสั้นที่สุด

หากดู5องค์ประกอบการเป็นองค์กรเรียนรู้ของแชงเก้คือ
ร่วมฝัน
ทีมเรียนรู้
เป็นนายเหนือตนเอง
แบบแผนจิตสำนึก
และคิดเชิงระบบ
ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นหลักการกว้างๆที่ไม่มีตัวคุมวิสัยทัศน์หรือเป้าหมาย
จะฝันหรือมีเป้าหมายอย่างไรก็ได้ บอกเพียงว่า ถ้าให้เกิดพลัง คนในองค์กรต้องมีส่วนร่วม

วิถีทางศาสนา(พุทธ)เสนอว่าความรู้มี3ส่วนคือปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ

นอกจากนี้ยังมีตัวคุมความรู้ว่าต้องเป็นไปเพื่ออรรถประโยชน์3คือ
ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น(สาธารณะ)
และประโยชน์ร่วมกัน
มันมากว่าwin-win (เพราะมีคุณธรรมอยู่ในความรู้ด้วย)

หัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงคือ มีความรู้กับคุณธรรมกำกับ
ถ้าเป็นอย่างนี้ ความรู้กับคุณธรรมก็เป็นตัวเดียวกัน

ผมดีใจที่ได้ฟังอ.ประพนธ์นำเสนอแนวทางการจัดการความรู้ของสคส.ที่เชื่อมโยงกับความดีและความจริง ซึ่งก็คือ คุณธรรม

ผมเข้าใจว่า ศาสตร์ตะวันตก เมื่อหลุดพ้นจากการครอบงำที่ว่า
สรรพสิ่งเกิดจากการสรรสร้างของพระผู้เป็นเจ้า (พระเจ้าตายแล้ว) ก็ไม่มีทิศทาง (เพราะฉันคิด ฉันจึงมีตัวตน) เป็นระบบความรู้ที่มีพลังแต่ไม่มีทิศทางหรือเป้าหมายของชีวิต แตกย่อยไปไม่มีที่สิ้นสุดโดยจัดการความรู้กับโลกนอกตัว

ในขณะที่ทางศาสนาเน้นการจัดการความรู้ภายในตัวเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจตนเอง เข้าใจโลก

ผมแนะนำให้ใช้อานาปนสติ เป็นแบบฝึกหัดการจัดการความรู้
รู้จักลมหายใจออก-เข้า ยาว-สั้น
รู้จักหน้าที่ของลมหายใจ ปรุงแต่งร่างกาย
กำหนดลมหายใจให้ละเอียดเพื่อทำให้ร่างกายรำงับ

ผมมีความรู้(ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ)เพียงเท่านี้ ซึ่งเป็นความรู้3ขั้นใน16ขั้นเพื่อไปสู่การรู้จักตนเอง โดยที่ความรู้นี้เป็นไปตามอรรถประโยชน์3
ถ้ามีความรู้มากกว่านี้จะเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมครับ

คำสำคัญ (Tags): #หลุมดำ
หมายเลขบันทึก: 66069เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ได้มาเรียนรู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

เรียน อ.ภีม

            ร่วมฝัน
ทีมเรียนรู้
เป็นนายเหนือตนเอง
แบบแผนจิตสำนึก
และคิดเชิงระบบ

เรียน อ.ภีม

            อยู่ๆเครื่องมันก็สั่งบันทึกไปเสียงั้นแหละครับอาจารย์ ยังไม่ทันได้เขียนให้เสร็จเลย ที่อาจารย์เขียนประมาณว่าทุกตัวของปีเตอร์แซงเก้ต้องมีคุณธรรมศาสนากำกับด้วยใช่ไหมละครับ

  • เป็นความรู้มากครับ โดยเฉพาะอรรถประโยชน์ 3
  • ขอบคุณครับที่มา ลปรร. สิ่งดีๆ
ผมเข้าใจว่า หลักการ5ข้อของแซงเก้ไม่มีคุณธรรมกำกับ ถ้าทำตามหลักการ5ข้อนี้จะเป็นองค์กรเรียนรู้ที่มีพลัง สามารถดำรงอยู่ได้ในสถานะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรู้เท่าทัน (แต่อาจจะไร้คุณธรรมก็ได้)
แต่ทางศาสนาเริ่มต้นที่สัมมาทิษฐิ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ควบคุมด้วยอรรถประโยชน์3(ในเชิงสังคม) ในแง่ปัจเจกคือทิษฐิเรื่องอริยสัจสี่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท