การพยาบาลอนามัยชุมชน


การพยาบาลอนามัยชุมชน

พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตภาคตะวันออก

ปิ่นนเรศ กาศอุดม (วท.ม.)*, คณิสร แก้วแดง (พย.ม.)*, ธัสมน นามวงษ์ (พย.ม.)*

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การส่งเสริมสุขภาพจึงต้องมีการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้มากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มี

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์และปัจจัยที่มีอิทธพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของ

ผู้สูงอายุ ในเขตภาคตะวันออก ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามตามแนวคิดของการประเมินแบบแผนการดำเนินชีวิตที่

ส่งเสริมสุขภาพ ของวอล์คเกอร์ (Walker, 1999) ค่าคอนบราค แอลฟ่า ของแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้ อยู่ในช่วง 0.70-0.94 ใช้สถิติพรรณนาและการเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 423 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 69.12 ปี สองในสามของกลุ่มตัวอย่างไม่มีโรคประจำตัว ในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว โรค 3 อันดับแรก คือ ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก และเบาหวาน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านจิตวิญญาณ ด้านการมี ปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านการจัดการกับความเครียด อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางกาย และด้านโภชนาการ อยู่ในระดับปานกลาง โดย ปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ และความเชื่ออำนาจในตนเกี่ยวกับสุขภาพ โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 63.9 (p < .001) นอกจากนั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพยังสนับสนุน ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณดังกล่าวด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของของวอล์คเกอร์ ที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้

การวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่าการสนับสนุนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ รวมทั้งให้ผู้สูงอายุเห็นถึงประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ และให้ผู้สูงอายุเชื่อมั่นว่าตนเองยังสามารถที่จะทำการส่งเสริมสุขภาพตนเองได้ เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญยิ่ง ทั้งนี้จะต้องให้ข้อมูลความรู้โดยตรงกับผู้สูงอายุ และผู้ที่ดูแลเพื่อการสนับสนุนผู้สูงอายุด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 66060เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์

  • ผมกำลังสนใจผู้สูงอายุอยู่พอดีเลยครับ
  • สนใจในกลุ่มผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
  • ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง
  • อาจจะข้อข้อมูลเพิ่มเติมจากอาจารย์ในเรื่องแบบสัมภาษณ์หรือรายละเอียดวิจัยนี้นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท