นายกฯ ชู 'คุณธรรม-จริยธรรม' วาระแห่งชาติ


นายกฯ ชู 'คุณธรรม-จริยธรรม' วาระแห่งชาติ

นายกฯ ชู 'คุณธรรม-จริยธรรม' วาระแห่งชาติ

แก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน กันผลประโยชน์ทับซ้อนนักการเมือง สุรยุทธ์เตรียมประกาศให้ คุณธรรม-จริยธรรมเป็นวาระแห่งชาติ วันนี้ พร้อมวางแนวทางป้องกันการทุจริต  วงราชการ เปิดโอกาสประชาชน-เอกชนมีส่วนร่วมตรวจสอบข้อมูลภาครัฐ พร้อมเดินหน้าแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กันผลประโยชน์ทับซ้อน นักการเมือง

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องวาระแห่งชาติด้านคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะเป็นการวางแนวทางในการป้องกันการประพฤติทุจริตมิชอบในวงราชการ โดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะประกาศให้เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเป็นวาระแห่งชาติ และให้มีการดำเนินการทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร    ทั้งนี้ การดำเนินการในระดับบุคคลนั้น จะให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมินผลข้าราชการในสังกัด เนื่องจากเป็นผู้ที่ทราบว่าข้าราชการแต่ละคนมีความรู้ความสามารถอย่างไรและมีพฤติกรรมอย่างไร โดยผู้บังคับบัญชามีหน้าที่สอดส่องดูแลและให้กำลังใจข้าราชการมีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม และหากข้าราชการคนใดหลงผิดก็เปิดโอกาส       ให้กลับตัวเป็นคนดี    ส่วนการดำเนินการในระดับองค์กร หรือส่วนราชการระดับกรมและกระทรวงนั้น จะมีการกำหนดตัวดัชนีชี้วัดด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อประเมินผลการทำงานขององค์กร เนื่องจาก 2-3 ปีที่ผ่านมา    มีการประเมินในเชิงตัวเลขเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์กร นอกจากนี้จะปรับปรุงระบบการให้โบนัสส่วนราชการตามผลงานให้ความยุติธรรม

ส่วนงบประมาณจำนวน 62,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ในโครงการเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ด้านใดบ้างนั้น คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของทางราชการจะมีเรื่องงบประมาณในส่วนธรรมาภิบาลค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นงบการบริหารราชการแผ่นดิน ในความหมายของแผนงานด้านธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม คือ    การบริหารองค์กรที่ทุกส่วนราชการต้องจัดรูปแบบองค์กร และกระบวนการบริหารงาน โดยคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล หรือหลัก 4 ป. ของนายกรัฐมนตรี   การดำเนินการในระดับองค์กรขอให้ยึดหลัก 4 ป. คือความโปร่งใส     การตัดสินใจต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม ทั้งกับเจ้าหน้าที่ ประชาชน และผู้ประกอบการ ส่วนการประหยัดนั้น ต้องใช้จ่ายงบด้วยความประหยัด ส่วนใดที่จำเป็นต้องใช้ก็ใช้ แต่ต้องใช้ให้คุ้มค่า และต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพคุณหญิงทิพาวดี ระบุ  พร้อมกันนั้น ในการป้องกันการทุจริตในวงราชการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของภาคราชการมากขึ้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานราชการ

คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้สั่งการให้ดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.การบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมทั้งแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติราชการ ส่วนการห้ามไม่ให้ครอบครัวนักการเมืองรับสัมปทานจากรัฐนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ จะเสนอกฎหมายต่อไป

                                                          กรุงเทพธุรกิจ  8  ธ.ค.  2549

หมายเลขบันทึก: 66048เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท