พระพุทธศาสนา ๒ แบบ


               นักวิชาการแบ่งพระพุทธศาสนาออกเป็นสองประเภท คือ พระพุทธศาสนาเชิงคำสอน (Doctrinal Buddhism) และพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน (Popular Buddhism) พระพุทธศาสนาเชิงคำสอนคือพระพุทธศาสนาที่เป็นปรัชญาคำสอน ทฤษฏีชั้นสูงที่ถูกบันทึกเอาไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฏกหรือถูกอธิบายโดยนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ที่มีการเรียนการสอนกันในสถาบันการศึกษาชั้นสูง ส่วนพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน คือพระพุทธศาสนาที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งปรากฎเป็นประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เป็นพระพุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคมทั่วไป ประเด็นสำคัญคือเราจะประสานพระพุทธศาสนาทั้งสองแบบนี้ให้สัมพันธ์กันได้อย่างไร เพราะส่วนมากจะขัดแย้งกัน หน้าที่ของนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาคือการหาจุดลงตัวระหว่างพระพุทธศาสนาทั้งสองแบบนี้ไม่ให้ขัดแย้งกัน แต่ประสานสัมพันธ์กัน เกื้อกูลกันนั้นเอง ตัวอย่างของพระเถระที่สามารถประยุกต์พุทธศาสนาทั้งสองแบบคือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ หรือในพระราชทินนามที่พระเทพวิทยาคม พระผู้ได้รับการขนานนามว่าเทพเจ้าแห่งด่านขุนทดหรือเทพเจ้าของชาวอีสานหลวงพ่อคูณเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมก็จริง แต่เมื่อปัญญาชนเข้าไปหาท่าน จะสัมผัสได้ถึงภูมิปัญญาที่แหลมคมของท่าน นั่นแสดงว่าหลวงพ่อคูณท่านจะดูว่าหากผู้เข้าไปขอพึ่งท่านเป็นชาวบ้านทั่วไป ท่านก็จะสงเคราะห์ด้วยวัตถุมงคลเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ถ้าคนที่มีความรู้เข้าไปหาท่านก็จะได้รับคติธรรมที่สอนไม่ให้ยึดติดกับความงมงาย แต่ให้ใช้สติและปัญญา ซึ่งเทคนิควิธีสอนของท่านนั้นไม่ธรรมดาครับ เพราะฉะนั้นหลวงพ่อคุณจึงเป็นทั้งพระของชาวบ้าน พระของพ่อค้าประชาชน พระของข้าราชการ พระของนักการเมือง นักบริหาร นักปกครอง



 

หมายเลขบันทึก: 660417เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2019 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2019 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท