รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ๒-๒๕๖๑ (๓) "บ่อขยะหนองปลิง"


วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ระหว่างทางกลับ (จากไปเชียร์ทีมสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและการจัดการ จัดโครงการผสาน "บวร" บริหารจัดการขยะของชุมชน หมู่ ๑๐ อบต.ตำบลหนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ณ วัดบ้านโพธิ์ ของนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน)  ผมแวะบ่อขยะหนองปลิง เผื่อว่าจะไปทันกิจกรรมของคณะบัญชีและการจัดการ ที่นำนิสิต ๒๐๐ คน มาทัศนศึกษาเกี่ยวกับปัญหาขยะที่บ่อขยะหนองปลิง ... นั่งคุยกับน้องหญิงคนหนึ่งจากชุมชนใกล้กองขยะอยู่นาน ... ได้ความรู้มากมาย เอามาเล่าให้ฟังครับ 

แม้ว่าจะไม่ได้ร่วมขบวนทัศนศึกษา ณ สถานนีกำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม แต่ท่านอาจารย์เบญจาและอาจารย์ฝน (fon sonthiprasat) ก็ได้แท็กรูปมาทางเฟส  (ขอถือวิสาสะนำมาเผยแพร่ที่นี่อีกช่องหนึ่งนะครับ)




  • บ่อขยะหนองปลิง เป็นเขตพื้นที่จัดการขยะของเทศบาลเมืองมหาสารคาม มีเนื้อที่ทั้งหมด ๔๙ ไร่ ตอนนี้มีปริมาณขยะสะสมสูงเป็นภูเขาย่อม ๆ อย่างที่เห็นในภาพ 
  • ทุก ๆ วัน จะมีปริมาณขยะมาจากเทศบาลประมาณ ๖๐ ตัน จากพื้นที่ใกล้เคียงอีกประมาณ ๓๐ -๔๐ ตัน รวม ๆ ก็จะประมาณ ๑๐๐ ตันต่อวัน 
จากการสอบถามสนทนา ได้ความว่า 
  • บ่อขยะแห่งนี้ใช้วิธีการกำจัดขยะด้วยวิธีการฝังกลบ ขณะนี้มีแผนจะให้ทางเอกชนเข้ามาสร้างโรงเผาขยะ จึงไม่เห็นการฝังกลบขยะ ปริมาณขยะจึงเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 
  • จะมีโรงงานเผาขยะเป็นแน่ในอีก ๔-๕ ปีข้างหน้า ... แต่ปัญหาคือ ขยะ ๔ ปีนับจากนี้จะจัดการอย่างไร
  • เพราะลมไปทางทิศใด ก็จะนำกลิ่นขยะพัดไปด้วย  และเมื่อฤดูฝนมา น้ำเสียจากกองขยะก็จะเป็นปัญหาหนัก ... 

  • อาชีพเก็บขยะขาย
    • รอรถขยะมาเท จะมีรถขนขยะมาเทอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน 
    • เข้าไปแยกขยะรีไซเคิลมัดไว้เป็นถุง ๆ กอง ๆ ไว้   บางคนแยกระเอียดเลยเป็นถุง ๆ  บางคนแยกหยาบรวมถุงไว้ก่อน ค่อยเหมารถขนไปในที่คัดแยกละเอียดอีกครั้ง 
    • ได้ปริมาณรถเมื่อไหรก็จ้างขนไปขายโรงรับซื้อ  ... รายได้พออยู่ได้ 
    • ปัญหาคือ ต้องฝ่าความเหม็นและเสี่ยงสกปรกจากเชื่อโรค 

  • มัดไว้เป็นถุง ๆ รอนำไปจำหน่าย 

  • แยกเสร็จ เจ้าหน้าที่จะนำรถแทรคเตอร์ แมคโฮล โกยขึ้นไป รอการฝังกลบต่อไป  
  • ทำเป็นอาชีพเสริม ทำทั้งครอบครัว สืบต่อกันรุ่นสู่รุ่น (ความเคยชินทำให้ไม่รู้สึกลำบากและเหม็น) 
  • บางคนที่นี่มีชีวิตอยู่บนกองขยะมาแล้วกว่า ๓๐ ปี 
  • บางคนที่มีชีวิตอยู่กับกองขยะ สามารถส่งเสียลูกหลานเรียนสูงจนจบระดับปริญญาตรี 
ผมถามว่า ถ้าทุกแยกขยะกันหมด  จะทำลายอาชีพนี้ไปไหม ... ได้คำตอบว่า ไม่มีทางหมด ขยะที่เห็นนำมาทิ้งให้แยกทั้งวันนี้ ได้ผ่านการแยกที่กองมาก่อน และมาแยกก่อนขึ้นรถเก็บขนอีก ขยะมาจากหลากหลายที่ ยากที่จะทำให้คนคัดแยกขยะทั้งหมด 

ผมโยนหินว่า ถ้าทางหน่วยงานของรัฐท่ี่รับผิดชอบ สร้างโรงคัดแยกขยะที่ได้มาตรฐานขึ้น แล้วจ้างให้เข้าทำงานด้วยเงินเดือนราคาถูก จะทำหรือไม่ ... ไม่มีคำตอบจากเธอ... ผมคิดว่า เพราะเธอไม่เชื่อว่าจะผู้บริหารคนใดทำได้แบบนั้น.....
หมายเลขบันทึก: 660102เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2019 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2019 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท