สัมปรายิกัตถประโยชน์


สัมปรายิกัตถประโยชน์

พระเอกรินทร์ วชิรธมฺโม

         สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภายหน้า ๔ อย่าง หมายถึง ประโยชน์ที่บุคคลจะพึงได้ หรือพึงได้รับในภพหน้า มีสัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปทา

             ๑. สัทธาสัมปทาถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว     เป็นต้น อนึ่ง มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระปัญญาของพระตถาคต (ตถาคตโพธิสัทธา) เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ นั้นมี ๔ ประการ คือ ๑) กัมมสัทธา เชื่อในความมีอยู่ของกรรม ๒) วิปากสัทธา เชื่อผลแห่งกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว    ๓) กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรม เป็นของตนเอง จะต้องรับผลแห่งกรรมนั้น ๔) ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาการตรัสรู้ของพระตถาคต คือ เชื่อ พุทธเจ้า

             ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือ รักษากาย วาจา เรียบร้อยดีไม่มีโทษ

             ๓. จาคสัมปทาถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น ถึงพร้อมด้วยการบริจาคมีอธิบายว่า บุคคลผู้มีใจปราศจากตระหนี่หวงแหน มีทานอันตนบริจาคแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่มเพราะการให้ทาน ยินดีแล้วในการจ่ายทาน

             ๔. ปัญญาสัมปทาถึงพร้อมด้วยปัญญา รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์        รู้ความเสื่อมความเจริญ

             สัมปทา ๔ เป็นประโยชน์หรือเป็นปฏิปทา เครื่องให้บรรลุประโยชน์ คือ เพราะเมื่อบุคคลบำเพ็ญพยายามดำเนินตาม ย่อมได้บรรลุ ส่วนประโยชน์ หรือผล คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และสวรรค์ เป็นผลที่ได้จากการบำเพ็ญพยายามดำเนินตามประโยชน์ในภายหน้าได้ ได้แก่สมบัติ ๓ คือ ๑. มนุษย์สมบัติ ๒. สวรรค์สมบัติ ๓. นิพพานสมบัติ

             ถึงแม้ว่ายังไม่เสียชีวิต ยังไม่ได้รับประโยชน์ในภพหน้า แม้ผู้ปฏิบัติในชาตินี้ ก็ยังเป็นประโยชน์ในชาตินี้ คือทำให้เกิดสันติภาพในสังคม เพราะเมื่อคนรักษาศีล เชื่อในกฎแห่งกรรม รู้จักให้ทาน รักษาศีล ย่อมทำให้ตนเองและเพื่อนบ้านในสังคมอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข

แหล่งข้อมูล:

วัดวังตะกู. สัมปรายิกัตถประโยชน์[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/
             1455730994705050/posts/สัมปรายิกัตถประโยชน์-คือ-ประโยชน์ในภายหน้า-๔-อย่าง๑-
             สัทธาสัมปทา-ถึงพร้อมด้วยศรัท/2023078461303631/ [18 ก.พ. 2562].

หมายเลขบันทึก: 659989เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2019 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2019 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท