ประวัติเนลสัน แมนเดลา


ประวัติเนลสัน แมนเดลลา

พระสิทธิพงษ์ สุด้วง

ช่วงแรกของชีวิต

  เนลสัน แมนเดลา เป็นผู้สืบทายาทสายหนึ่งของราชวงศ์เทมบู ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองแคว้นทรานสไกในจังหวัดอีสเทิร์นเคปของประเทศแอฟริกาใต้ เนลสัน แมนเดลาเกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่หมู่บ้านอึมเวโซ เมืองอุมตาตา เมืองหลวงของทรานสไก

          บิดาของแมนเดลาคือ กัดลา เฮนรี อึมพาคันยิสวา มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านอึมเวโซ

          มารดาของแมนเดลาคือ โนซีคีนี แฟนนี  เป็นภรรยาคนที่สาม บิดาของแมนเดลามีภริยา 4 คน มีบุตร 13 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 9 คน  

ประวัติการศึกษา

          เมื่ออายุได้ 9 ปี พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยวัณโรค แมนเดลาได้เข้าโรงเรียนศาสนาของนิกายเวซเลียน เมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าศึกษาต่อที่ Clarkebury Boarding Institute และสำเร็จอนุปริญญาในเวลาเพียง 2 ปี

          ปี พ.ศ. 2480 แมนเดลาย้ายไปเมืองเฮลด์ทาวน์และเข้าเรียนในวิทยาลัยเวซเลียนที่ฟอร์ตโบฟอร์ต

          แมนเดลาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฟอร์ตแฮร์ เขาได้เข้าร่วมในสภาผู้แทนนักศึกษาเดินขบวนต่อต้านนโยบายของมหาวิทยาลัยจนถูกไล่ออกและไม่ให้กลับมาอีก นอกจากจะยอมรับนโยบายของทางมหาวิทยาลัย แมนเดลาจึงหันไปศึกษาปริญญาตรีด้านกฎหมายหลักสูตรทางไกลกับมหาวิทยาลัยลอนดอน

          เนลสัน แมนเดลาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแห่งแอฟริกาใต้โดยการเรียนทางไกล จากนั้นเขาศึกษาต่อทางกฎหมายที่มหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สรันด์

การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

          การเลือกตั้งแบบหลากชนชาติครั้งแรกในแอฟริกาใต้โดยที่พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสียงเท่ากัน เกิดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2537 พรรคเอเอ็นซีชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 62% และแมนเดลาในฐานะผู้นำพรรคเอเอ็นซีได้เข้าพิธีรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของประเทศ เขาเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการเหยียดสีผิวหรือชนกลุ่มน้อยต่างๆ และได้รับความยกย่องจากนานาชาติสำหรับการอุทิศตนเพื่อการประสานไมตรีทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

ชีวิตครอบครัว

          แมนเดลาแต่งงานทั้งสิ้น 3 ครั้ง มีบุตร 6 คน หลาน 20 คนและเหลนอีกจำนวนหนึ่ง

การแต่งงานครั้งที่หนึ่ง

          แมนเดลาแต่งงานครั้งแรกกับเอฟลิน อึนโตโก มาเซ ทั้งสองหย่ากันในปี พ.ศ. 2500 และมีบุตรด้วยกัน ๔ คน

การแต่งงานครั้งที่สอง

          ภรรยาคนที่สองของแมนเดลาคือ วินนี มาดิคิเซลา-แมนเดลา มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน ทั้งสองได้หย่ากัน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539

การแต่งงานครั้งที่สาม

          เมื่อ พ.ศ. 2541 กับนางกราชา มาเชล อดีตภรรยาของ ซาโมรา มาเชล อดีตประธานาธิบดีแห่งโมซัมบิก

รางวัลแห่งเกียรติยศ

เหรียญรางวัลและอิสริยาภรณ์

          แมนเดลาได้รับรางวัลเกียรติยศจากแอฟริกาใต้และจากประเทศต่างๆ มากมาย อาทิ เช่น

          -ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of Merit และ Order of St. John จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

          -เหรียญอิสริยาภรณ์แห่งเสรีภาพจากประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

          -ปี พ.ศ. 2548 เดือนกรกฎาคม นครโยฮันเนสเบิร์กได้ทำพิธีมอบกุญแจเมือง อันเป็นการให้เกียรติสูงสุดแก่แมนเดลา

          -ปี พ.ศ. 2544 ได้รับมอบตำแหน่งพลเมืองกิตติมศักดิ์ของแคนาดา

          -ได้รับเหรียญตราแห่งแคนาดา (Order of Canada) อันเป็นเครื่องหมายเกียรติยศสูงสุดทางฝ่ายพลเรือนของแคนาดา

          -ปี พ.ศ. 2533 ได้รับรางวัล Bharat Ratna จากรัฐบาลอินเดีย

          -ปี พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัลสันติภาพ Atatürk Peace Award จากตุรกี

          -ปี พ.ศ. 2536 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (ร่วมกันกับ เฟรเดอริก วิลเลิม เดอ แกลร์ก)

บทเพลง

          ศิลปินมากมายได้สร้างสรรค์เพลงขึ้นเพื่อมอบให้แก่แมนเดลา ยกตัวอย่าง เช่น

          -ปี พ.ศ. 2526 เพลง Nelson Mandela ของ เดอะสเปเชียลส์

          -ปี พ.ศ. 2528  สตีวี่ วันเดอร์ ได้แต่งเพลงอุทิศแก่แมนเดลาชื่อว่าI Just Called to Say I Love You

          -ปี พ.ศ. 2528  อัลบั้ม Nelson Mandela ของยูส์ซู น'ดัวร์

ภาพยนตร์

          -ภาพยนตร์เรื่อง Mandela and De Klerk เล่าถึงเรื่องราวการปล่อยตัวแมนเดลาออกจากคุก

          -ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Goodbye Bafana เล่าเรื่องราวชีวิตของแมนเดลา

          -ภาพยนตร์โทรทัศน์ของบีบีซี เรื่อง Mrs Mandela

อนุสาวรีย์

          -อุทยานเนลสัน แมนเดลา ที่มิลเลนเนียมสแควร์ เมืองลีดส์ ประเทศอังกฤษ     

          -อนุสาวรีย์หุ่นปั้นรูปเนลสัน แมนเดลา สูง 6 เมตรกลางจัตุรัสเนลสัน แมนเดลา

          -อนุสาวรีย์เนลสัน แมนเดลา ที่จัตุรัสพาเลียเมนต์ กรุงลอนดอน       

          -ถนน Mandela Parkway เมืองโอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย

          -สวนเนลสัน แมนเดลา เมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ

สรุป

          เนลสัน แมนเดลา เป็นชาวผิวดำคนแรกที่ดำรงตำแหน่งผู้นำของแอฟริกาใต้ ตลอดชีวิตที่ผ่านมาเขาได้รับการบันทึกและจดจำทั้งในฐานะของวีรบุรุษ ผู้มีความกล้าหาญ มีวิสัยทัศน์และศรัทธาอย่างแรงกล้า เช่นเดียวกับความอ่อนน้อมถ่อมตน มีเสน่ห์ ซื่อสัตย์และเอาใจใส่ต่อผู้อื่นเสมอมา

          เขาใช้เวลาตั้งแต่วัยหนุ่มเข้าร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการเหยียดสีผิวในนามสมัชชาแห่งชาติแอฟริกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียม ขณะเดียวกันก็ร่ำเรียนจนสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายช่วยเหลือและให้คำแนะนำสำหรับชาวผิวดำ

          ปีพุทธศักราช 2536 (ค.ศ ๑๙๙๓) ประธานาธิบดี เนลสัน แมนเดลา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับอดีตประธานาธิบดี เดอ เคลิ์ก ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นขั้นตอนการสร้างสันติภาพในแอฟริกาใต้ ก่อนที่ประธานาธิบดีแมนเดลาจะประกาศอุทิศรางวัลนี้ให้กับประชาชนชาวแอฟริกาใต้ที่ร่วมสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมได้สำเร็จ

          แม้จะก้าวลงจากตำแหน่งผู้นำหลังดำรงตำแหน่งครบ 1 สมัยในปีพุทธศักราช 2542 แต่อดีตผู้นำผู้ประสานรอยร้าวแห่งแอฟริกาใต้ ก็ยังทำงานเพื่อสังคมและชาวแอฟริกาใต้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของอดีตผู้นำประเทศแห่งแอฟริกาใต้ หลายปีที่ประเทศนี้เต็มไปด้วยความขัดแย้งอย่างรุนแรงของเชื้อชาติและสีผิว แต่เนลสัน แมนเดลาคือผู้นำที่มีส่วนนำพาแอฟริกาใต้ออกมาจากม่านหมอกแห่งความรุนแรงเพื่อแสวงหาสันติภาพและสร้างความเข้าใจได้สำเร็จอย่างแท้จริง

แหล่งอ้างอิง   https://www.voathai.com/  (วีโอเอไทย)

คำสำคัญ (Tags): #เนลสัน แมนเดลา
หมายเลขบันทึก: 659976เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2019 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2019 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท