นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

วงเสวนา ทำอย่างไรถึงประสบผลสำเร็จในการยกระดับ O-NET โรงเรียนเอกชน


โรงเรียนมีการวางแผนและเตรียมตัวเป็นอย่างดี ให้ความสำคัญกับครูเป็นลำดับแรก และสร้างความตระหนักให้กับเด็ก

ศธจ.กาฬสินธุ์ จัดเสวนา ในประเด็น ทำอย่างไรถึงประสบผลสำเร็จในการยกระดับ O-NET โรงเรียนเอกชน โดย โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จที่มีผล O-NET สูงกว่าร้อยละ 50 ใน จังหวัดกาฬสินธุ์ คือ โรงเรียนเอกปัญญา , พรชัยวิชชาลัย , เซนต์ยอแซฟกาฬสินธุ์ ,เซนต์ยอเซฟกุฉินารายณ์  มีประเด็นที่น่าสนใจของทั้งสามโรงเรียน คือ 

โรงเรียนเอกปัญญา (ดร.รัฐศาสตร์) 

ผู้บริหารต้องเปิดใจ มีทั้งแผนระยะสั้น   และแผนระยะยาว  พื้นฐานเด็กต้องดี ดังนั้น แต่ละช่วงชั้นต้องได้รับการปูพื้นฐานอย่างเข้มข้น  ครูต้องศึกษา Test Blueprint ให้ถ่องแท้  มีการสอบ pre O-NET และนำผลการสอบมาวิเคราะห์จัดลำดับ ตชว.ที่มีปัญหา เอาใจใส่ ไม่ละเลย  สอน สอบ พัฒนา  สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนและครู 

โรงเรียนพรชัยวิชชาลัย  (ผอ.พรชัย) 
ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ เริ่มจริงจังในชั้นก่อนที่จะสอบ คือ ชั้น ป.5   ในชั้น ป.6 เดือนกันยายน สอนให้ครบทุก มฐ.และ ตชว. และเริ่มติวนักเรียน ในภาคเรียนที่ 2 เด็ก ป.1-4 ท่องสูตรคูณได้คล่อง ป.5-6 ท่องสูตรคูณเฉพาะได้ เช่น แม่ 13 17 19 (ท่านผอ.เป็นทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์)  อธิบายสร้างความเข้าเข้าใจ ครูต้องได้รับกำลังใจ เช่น มอบเงินโบนัส ครูเป็นกลไกสำคัญ ต้องให้มีความชัดเจนว่าต้องการอะไร บอกครูให้ชัด และเด็ก จะถูกส่งเสริมให้ไปแข่งขันในระดับต่างๆ เพื่อให้คุ้นเคย และนำผลมาวิเคราะห์ ติดตาม ต่อเนื่อง แก้ปัญหา หาจุดอ่อนร่วมกับครู 

โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกาฬสินธุ์ และ เซนต์ยอแซฟกุฉินารายณ์ (คุณครูกลิ่นนารี) 

ต้องวางแผนระยะยาว .. โรงเรียนเคยผ่านประสบการณ์ การติวก่อนสอบ มาก่อน ถึงแม้จะได้ผล แต่ก็ไม่ยั่งยืน  วิธีการที่โรงเรียนเซนต์ยอแซฟค้นพบคือ วางแผนระยะยาว 3 - 5 ปี เน้นการพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของ มฐ. ตชว. การจัดทำหลักสูตร  แผนการสอน และนวัตกรรม ที่สำคัญ คือ ต้องสร้างความตระหนักให้กับเด็ก และ ครู ให้ครูรักเด็ก และ รักโรงเรียน ไม่ละเลย และ อยู่ในระเบียบวินัย  หัวใจสำคัญคือ การสร้างระบบ PLC ในโรงเรียน (โรงเรียนเรียกว่าการประชุม) คือ การมาทบทวนการทำงานในเรื่องต่างๆ ในชั้นเรียน  และ ระบบการนิเทศภายในที่เข้มแข็ง  ปัจจุบันโรงเรียนไม่เน้นการติวก่อนสอบเพราะเชื่อว่า ไม่ได้ผล แต่จะให้กระบวนการขับเคลื่อนที่เป็นระบบ และเหมือนกันของทุกเครือฯ 

    สะท้อนคิด ผู้เขียน 
    การวางแผน ในระยะสั้น (ใกล้สอบ) และระยะยาว มีความสำคัญ 
    การทำความเข้าใจกับหลักสูตร มฐ. ตชว. กิจกรรม 
    การทบทวนการทำงานสม่ำเสมอ 
    ให้ความสำคัญกับเด็ก และ ครู 
    ความเป็นระบบในการทำงาน ความจริงจัง และสม่ำเสมอ 
    สิ่งที่อาจจะต่างกันบ้าง คือ ความเข้มข้นในส่งเสริม การติว  การแข่งขันในระดับต่างๆ 

    บริบทของโรงเรียนเอกชนก็มีความแตกต่างกัน ผู้เขียนเพิ่งเคยสัมผัสกับโรงเรียนเอกชน (ประสบการณ์ 28 ปี จะอยู่ที่โรงเรียนรัฐบาล) ก็เริ่มเห็นความต่าง ความเหมือน ความยุ่งยาก ต่างๆ // เอกชน ก็มีความยากลำบากในการจูงใจให้ครูอยู่ในระบบโรงเรียนให้นานที่สุด และ ครูจะเปลี่ยนบ่อย ทำให้ความชำนาญและประสบการณ์ด้านการสอนมีน้อย และอีกหลายๆ เรื่อง 

    เวลาที่ใช้ในการเสวนาประมาณ 1 ชม.ทั้ง สามโรงเรียน น่าจะมีวิธีปฏิบัติที่ดี ที่มากกว่านี้ แต่มีข้อจำกัดด้านเวลา  ถ้าจับประเด็นผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยด้วยค่ะ 

    คำสำคัญ (Tags): #o-net
    หมายเลขบันทึก: 659127เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2019 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2019 05:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท