PGS คืออะไร ทำไมต้องใช้มาตรฐานนี้ในการรับรองเกษตรอินทรีย์


นับย้อนหลังไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ตอนที่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ เราใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เงินทองเป็นของนอกกาย ที่ไม่ใช้ปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต จนมาเกิดการปฏิวัติเขียว เน้นการผลิตจำนวนมากๆ เพื่อป้อนผู้บริโภคที่มากขึ้น จนไปทำลายสิ่งแวดล้อม ทำร้ายสุขภาพทั้งคนผลิต และ คนบริโภค

อีกทั้งคุณค่าทางโภชนาการได้สูญหายไป ได้ โรค NCDs มาแทนที่

แล้วเราจะแก้ไขอย่างไรกับปัญหานี้ที่ส่งผลทั้งต่อ สุขภาพ สิงแวดล้อม และเงินในกระเป่าของเกษตรกร

ทางรอดหนึ่งคือการหันกลับไปสู่เกษตรกรรมแบบดั่งเดิม ในหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่จะเรียกขาน เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรกรรมยั่งยืน ทฤษฎีใหม่ หรืออื่น ๆ อีกมากมาย สรุปคือการทำเกษตรให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด จึงจะเป็นทางรอดของโลกนี้

เมื่อหันหลับมามองเรื่องเกษตรอินทรีย์ เพื่อการค้าขาย ก็ต้องพูดเรื่องมาตรฐานกลางที่จะใช้ในการสร้างความเชื่อมันระหว่างผู้ผลิต กับผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันระบบมาตรฐานมี 3 แบบ ด้วยกัน คือ ภาครัฐรับรอง บุคคลที่ 3 รับรอง และรับรองร่วมกัน

ปัญหาของระบบภาครัฐรับรอง คือ ความพร้อมของทรัพยากร ทั้ง คนและงบประมาณ ในการเข้าไปรับรองแปลงให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ และ ปัญหาข้อกำหนดการถือครองที่ดินเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรอง

ปัญหาของการรับรองบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นการรับรองเพื่อการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือ ค่าใช้จ่ายในการรับรองสูงเกินกว่าที่เกษตรกรจะลงทุนได้

ทางออกของการรับรองให้กับเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นเกษตรรายย่อย คือ การรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือที่เรียกว่า PGS=Participatory Guarantee Systems (PGS) ซึ่งเป็นระบบการรับรองที่พัฒนาโดย IFOAM

นิยามสั้นๆ ว่า PGS คือ “ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ “ [Participatory Guarantee Systems (PGS) are locally focused quality assurance systems. They certify producers based on active participation of stakeholders and are built on a foundation of trust, social networks and knowledge exchange.]

องค์ประกอบสำคัญของระบบชุมชนรับรอง PGS

  1. วิสัยทัศน์ร่วม (shared vision) ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคในหลักการพื้นฐานของระบบชุมชนรับรอง ซึ่งการมีส่วนร่วมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการก็ได้
  2. การมีส่วนร่วม (participatory) ของผู้ที่สนใจในการบริโภคและการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากระบบนี้ หลักการและมาตรฐานการผลิตเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ผู้ผลิต ที่ปรึกษา ผู้บริโภค) ซึ่งทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือ เพราะการมีส่วนร่วมนี้
  3. ความโปร่งใส (transparency) ที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงกลไกและกระบวนการในการตรวจรับรองทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจำเป็นต้องรู้รายละเอียดทุกอย่างเท่ากัน แลในขณะเดียวกันก็ต้องมีการปกป้องข้อมูลที่อาจะเป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า
  4. ความเชื่อมั่นต่อกัน (trust) ระบบชุมชนรับรองตั้งอยู่บนฐานความเชื่อว่า เราสามารถเชื่อถือเกษตรกรได้ และการใช้กลไกควบคุมทางสังคม/วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้
  5. กระบวนการเรียนรู้ (learning process) ระบบชุมชนรับรองไม่ใช่มีเป้าหมายเพียงเพื่อให้การรับรองผลผลิต และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาชุมชนและเกษตรอินทรีย์ความเชื่อมโยงในแนวราบ (horizontality) ที่เป็นการแบ่งปันอำนาจและความรับผิดชอบของผู้คนที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนเพียง 2 - 3 คนเท่านั้น

ลักษณะรูปแบบสำคัญของระบบชุมชนรับรอง

  1. มาตรฐานและข้อกำหนดถูกพัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง [Norms conceived by the stakeholders]
  2. มีฐานจากองค์กรรากหญ้า [Grassroots Organization]
  3. เหมาะกับการเกษตรของเกษตรกรรายย่อย [Is appropriate to smallholder agriculture]
  4. มีหลักการและระบบคุณค่า [Principles and values] ที่มีเป้าหมายในการยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวเกษตรกรและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
  5. มีเอกสารที่อธิบายระบบการบริหารจัดการและขั้นตอนการทำงาน [Documented management systems and procedures] ซึ่งควรกำหนดให้เกษตรกรต้องจัดทำเอกสารข้อมูลเท่าที่จำเป็นจริงๆ แต่ระบบชุมชนรับรองควรต้องมีระบบการบันทึกที่แสดงให้เห็นได้ว่า เกษตรกรได้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จริง
  6. มีกลไกในการยืนยันการปฏิบัติตามมาตรฐานของเกษตรกร [Mechanisms to verify farmer’s compliance]
  7. มีกลไกในการสนับสนุนเกษตรกร [Mechanisms for supporting farmers] เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้จริง
  8. มีข้อตกลงหรือสัตยาบันของเกษตรกรในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐาน [a bottom-line document]
  9. มีตรารับรอง [Seals or labels] ที่เป็นหลักฐานแสดงสถานะความเป็นเกษตรอินทรีย์10.มีบทลงโทษที่ชัดเจนและแจ้งล่วงหน้า [Clear and previously defined consequences] สำหรับเกษตรกรที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน และมีการบันทึกการลงโทษในระบบฐานข้อมูล หรือเปิดเผยให้สาธารณะได้รับทราบ

จากการศึกษาข้อมูลจากหลายๆ ที่ คิดว่านี้คือระบบที่จะเป็นทางรอดให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ ในบ้างเรา แต่ต้องสร้างความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และการมีส่วนร่วม ในกระบวนการขับเคลื่อนทั้งระบบห่วงโซ่คุณค่า

ท่านที่สนใจแนวทางในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม อ่านเนื้อหาในเล่มนี้ได้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #อินทรีย์#pgs#เกษตร
หมายเลขบันทึก: 658989เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2018 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2018 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท