ระบบการดูแลต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


โครงการ ระบบการดูแลต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่ชุมชน

นางอุบล จ๋วงพานิช ได้รับอนุมัติให้ดำเนิน ระบบการดูแลต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่ชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 80,000.บาท  จากโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  2) ติดตามความรู้ในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  ในโรงพยาบาล  3) ติดตามคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการเยี่ยมบ้าน  การดำเนินโครงการเป็นการให้ความรู้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4 โรค ได้แก่ ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต  ผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยา ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยสมองเสื่อม รวมผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มโรค จำนวน 450 คน  มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง โดยจัดทำอีบุ๊คและจัดทำคู่มือเรื่อง คู่มือการดูแลตนเองในผู้ป่วยหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่ได้รับการเจาะตรวจเนื้อไต  คู่มือการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดโลหิตชนิด CML ที่ได้รับยาเคมีบำบัด  คู่มือการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในผู้ป่วยเอดส์ และคู่มือการดูแลสมองเสื่อมสำหรับผู้ดูแล   ดำเนินกิจกรรมโดยเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเพื่อให้สามารถดูแลตนเองที่หน่วยผู้ป่วยนอก  ประเมินผลลัพธ์ผู้ป่วย ในระยะติดตามการรักษา ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินผลลัพธ์และให้การสนับสนุนช่วยเหลือขณะอยู่ที่บ้านรวมทั้งมีการจัดกิจกรรมถอดบทเรียน

ผลลัพธ์ 

หลังการดำเนินกิจกรรมเตรียมความพร้อมผู้ป่วยการดูแลตนเองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านในหอผู้ป่วย  ประเมินผลลัพธ์ผู้ป่วย ในระยะติดตามการรักษา ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ระยะที่ 1 ในเดือน 4 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2561  โดยจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  150  ราย โรคไตหลังปลูกถ่ายไต จำนวน 50 ราย โรคมะเร็งโลหิตวิทยา จำนวน 30 รายโรคเอดส์   จำนวน 40 ราย และโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จำนวน 30 ราย ประเมินผลลัพธ์การจัดการดูแลสุขภาพรายโรค  ด้านความรู้ในการดูแลตนเอง ด้านภาวะแทรกซ้อนจากโรคและคะแนนคุณภาพชีวิต  พบว่า 1) ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตมีผลลัพธ์คะแนนระดับคุณภาพชีวิตระดับปานกลางร้อยละ 0.7  คุณภาพชีวิตระดับดีร้อยละ 1.5  คุณภาพชีวิตระดับดีมากร้อยละ   97.8  2) ผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยามีค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิต 3.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.5 มีระดับคุณภาพชีวิตดี และมีความรู้ในการดูแลตนเองและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 90.3 3) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้น (ก่อนเข้ากลุ่ม=10.62, SD=1.95 หลังเข้ากลุ่ม =16.6, SD=1.72) คลายความวิตกกังวล (=12.35, SD=2.58 หลังเข้ากลุ่ม    =6.1, SD=3.89) และความซึมเศร้าลดลง (=10.27 SD 2.15 หลังเข้ากลุ่ม =4.31. SD 2.0)

ระยะที่ 2 ในเดือน 1 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคม 2561 โดยจัด 

1) กิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  300 ราย เป็นผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต 100 ราย มะเร็งระบบโลหิตวิทยา 60 ราย เอดส์  80 ราย และสองเสื่อม 60 รายประเมินผลลัพธ์การจัดการดูแลสุขภาพรายโรค  ด้านความรู้ในการดูแลตนเอง ด้านภาวะแทรกซ้อนจากโรค  และคะแนนคุณภาพชีวิต  พบว่า 

1.1) ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต  มีผลลัพธ์ระดับคุณภาพชีวิต ระดับปานกลาง ร้อยละ  0.5  ระดับดี ร้อยละ 1.6  คุณภาพชีวิตระดับดีมากร้อยละ 97.9     

1.2) ผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง  115.1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.9  คะแนนสูงสุด (Max)  เท่ากับ 118   คะแนนต่ำสุด(Min)  เท่ากับ 110และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี  ร้อยละ 93.3 แสดงว่า  มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี   ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิต 82.9  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 4.8 คะแนนสูงสุด (Max)  เท่ากับ 88   คะแนนต่ำสุด(Min)  เท่ากับ 70 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 76.7 แสดงว่า  มีคุณภาพชีวิตในระดับสูง  มีคุณภาพชีวิตที่ดี   

1.3) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้น (ก่อนเข้ากลุ่ม =10.43, SD=1.65 หลังเข้ากลุ่ม  =14.55, SD= 2.31) ได้รับกำลังใจ คลายความวิตกกังวล ( =12.16, SD=2.43, หลังเข้ากลุ่ม  =7.82, SD=2.78) และความซึมเศร้าลดลง ( =10.07 SD 2.24 หลังเข้ากลุ่ม =8.26, SD 2.04) 

1.4 ผู้ป่วยสมองเสื่อม 1)ผลลัพธ์ของการให้ความรู้การดูแลแก่ผู้ดูแล มีการให้ความรู้ จำนวน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 72 ของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม โดยพบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจในด้านการให้ความรู้ ในระดับที่มากที่สุด คือ ร้อยละ 91  

2)  ผลลัพธ์ของการทำกลุ่มสนับสนุนผู้ดูแล จัดขึ้นทุกวันพุธ เวลา 08.30-09.00 น. มีกิจกรรมการทำกลุ่มจำนวน 10 ครั้ง มีผู้ป่วยเข้าร่วมจำนวน 88 คน การประเมินความพึงพอใจจากการทำกลุ่ม พบว่า ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระดับมาก มากที่สุด (ร้อยละ 60) รองลงไป เป็นระดับปานกลาง (ร้อยละ 30) กระบวนการกลุ่มช่วยให้ผู้ดูแลได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยเรื่องของการจัดการพฤติกรรมที่เป็นปัญหา การกระตุ้นสมอง การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพ และการจัดการตนเองของผู้ดูแลเพื่อให้สามารถจัดการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการกลุ่มช่วยให้ผู้ดูแลเกิดการเรียนรู้ทักษะ เทคนิค และแนวทางในการดูแลอย่างต่อเนื่อง 

3) ผลลัพธ์ของการให้คำปรึกษาเพื่อจัดการอาการด้านอารมณ์ พฤติกรรม และจิตใจ (Behavioral and Psychological Symptom of Dementia: BPSD) ผลจากการให้คำปรึกษาแบบProblem focus solving โดยใช้หลักการประเมิน ABCs approach (Antecedents: สิ่งที่เกิดขึ้นก่อน Behavior :พฤติกรรมที่แสดงออก และ Consequences: ผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมต่อผู้ป่วย และผู้ดูแล ส่วนการให้คำปรึกษาใช้หลักการ Four Ds approach ผลลัพธ์ของการให้คำปรึกษาพบว่า สามารถช่วยให้ผู้ดูแลให้การดูแล จัดการพฤติกรรมท้าทาย (BPSD) ได้ถึงร้อยละ 70 ของการให้คำปรึกษาในผู้รับบริการที่เป็นผู้ดูแล โดยความสามารถในการจัดการอาการที่ท้าทาย มีดังนี้ จัดการได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 18.2 จัดการได้ระดับดี ร้อยละ 63.2 จัดการได้ระดับปานกลาง ร้อยละ 18.2  2) เยี่ยมบ้านผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต จำนวน 3 case จำนวน 13 ครั้ง เยี่ยมบ้านผู้ป่วยสมองเสื่อม จำนวน 2 case จำนวน 2 ครั้ง

20181215055747.pdf

หมายเลขบันทึก: 658733เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2018 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2018 06:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

รายงานผลที่เวป มข ต้องแจ้งว่านำเสนอที่ใด

ขออนุญาตินำเสนอเวปนี้นะคะ

ยินดีกับทีมงานที่ได้รับรางวัลค่ะ

คุณอุบลรัตน์ ต้อยมาเมืองขึ้นรับรางวัล

ขอบคุณทีมงาน ทั้งคุณอุบลรัตน์ ต้อยมาเมืองที่เตรียมความพร้อมผู้ป่วยกลุ่มปลูกถ่ายไต มีการทำกิจกรรมกลุ่ม self help group ให้คำปรึกษาและเยี่ยมบ้านจนผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดีสามารถอยู่กับโรคได้อย่างดีค่ะ เป็นผู้ร่วมทีมสามปี สมควรอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนี้ค่ะ

ขอบคุณคุณรัชนีพร คนชุม ที่ดูแลกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด ทั้ง empowerment ให้คำปรึกษา เตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนกลับบ้านทุกคน จนมีคุณภาพชีวิตดีในช่วงชีวิตที่มี เป็นผู้ร่วมทีมมาสามปี ขอบคุณน้องเล็กมากค่ะ

ขอบคุณคุณพรนิภา หาญละคร ดูแลกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ มีการดูแลด้านจิตใจ เตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยจนสามารถเผชิญกับโรคได้ มีชีวิตที่ดี

ขอบคุณ ดร ขวัญสุด่ บุญทศ ที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มสมองเสื่อม ให้สามารถมีสุขภาวะที่ดี อยู่กับลูกหลานที่บ้านได้อย่างมีความสุข มีการติดตามเยี่ยมบ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท