ชมรมพนักงานมหาวิทยาลัย จุดเริ่ม...ก้าวไกล เป็น สภาพนักงาน มข.



กรรมการชมรมพนักงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น ชุดสุดท้ายในประวัติศาสตร์ มข. จะหมดวาระลงตามคำสั่ง ในวันที่ 1 ธันวาคม 2561 นี้... เพราะหลังมี พรบ.มข. 2558 กำหนดให้มีสภาพนักงานทำหน้าที่...ชมรมพนักงาน ฯ จึงได้ยุติบทบาทโดยลำดับ คงไว้เพียง "คำสั่ง" ที่ไม่มีการยกเลิก และดำรงตำแหน่งกันไปพลางเพื่อให้หมดวาระตามเวลา...หลายท่านในคณะกรรมการ ได้ทำหน้าที่มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่กรรมการชุดแรก น่าจะปี 2550 หากนับรวมก็ 10 ปีที่เราได้ร่วมกันสร้างสรรค์งานร่วมกัน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพนักงาน มข. ยุคแรกที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคในดง "ข้าราชการ" ที่เมื่อขอพิทักษ์สิทธิแห่งสวัสดิการใด ๆ ก็มักจะได้คำตอบว่า "ก็พนักงานได้เงินเดือนสูงกว่าข้าราชการแล้ว จะมาเรียกร้องอะไรมากมาย" อะไรทำนองนั้น แต่คณะกรรมการชมรมพนักงานทั้ง 4 ชุด ก็พยายามหาทางที่จะ "ขอ" หรือ "พิทักษ์" ให้ได้มาซึ่งสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับสวัสดิการพื้นฐานแห่งรัฐ และสามัญชนพึงได้ในฐานะ "ลูกจ้างหรือพนักงาน" พึงมี
บางช่วงแค่จะไปประชุมและขอเข้าพบอธิการบดี เพื่อข้อข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะและหาแนวทางร่วมกัน ก็เคยถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย วางกำลังและวางมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบสูงสุด ประหนึ่งเราจะไปประท้วงขับไล่อธิการบดี แต่ท้ายที่สุดก็เข้าใจกัน เพราะเราไปแบบผู้ดี ไปขอพึ่งบารมีใช้ห้องประชุมและขอพบอธิการบดีแบบผู้มีอารยะ และได้แต่เก็บความรู้สึกประหลาดใจว่า บางที มหาวิทยาลัยก็ไม่ควรจะทำถึงขนาดนั้น
ในยุคสมัยอธิการบดีสุมนต์ ได้ร่วมกันร้องขอสวัสดิการเรื่องการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การจัดสรรเงินกองทุนสวัสดิการเพื่อพัฒนาพนักงาน การออกประกาศเรื่องเครื่องแบบพนักงาน และรวมไปถึงขยายสวัสดิการบางอย่างไปยังพนักงานองค์กรในกำกับด้วย การขอสวัสดิการค่าจ้างและค่าตอบแทนที่สูงขึ้นตามกฎหมาย (1.5/1.7) การขอให้มหาวิทยาลัยมีมาตรการที่ยืดหยุนสำหรับสายวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่ง ผศ. รศ. คณะทำงานกำลังไปได้ดี ก็หมดวาระการบริหารงานของผู้บริหาร มข.
เข้าสู่ยุคอธิการบดีกิตติชัย เคยช่วยกันเร่งรัด รบเร้าและเผาเตาไฟให้อุ่น เพื่อขอให้มหาวิทยาลัยจัดสวัสดิการเรื่องการรักษาพยาบาลแก่พนักงาน รวมถึงญาติสายตรง การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และการช่วยเสนอเรื่องความยืดหยุ่นของตำแหน่ง ผศ. รศ. และการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นของสายสนับสนุนวิชาการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ การขอให้จ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนอื่นให้ได้ตามกฎหมาย รวมถึง มข.เองก็มีแนวนดยบายการปรับฐานเงินจ้างทวีคูณ... แต่ มข. เข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงเพื่อแปรสภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ (ม.นอกระบบ) ความผันผวนของนโยบาย การเปลี่ยนผู้บริหารฝ่ายที่กำกับดูแลเรื่องทรัพยากรบุคคล .... เมื่อเวลาล่วงเลยถึง พรบ.มข. 2558 มีผลบังคับใช้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ชะงักงันเรื่องราวของสวัสดิการบุคลากร กฎ ระเบียบ วิธีปฏิบัติดูจืดจาง เงียบหายไปกับสายลมและกลีบเมฆ... จนเกิดสภาพนักงานขึ้น ชมรมพนักงานก็ค่อย ๆ ลดบทบบาทลงตามเวลา เหลือไว้เพียงความทรงจำเล็ก ๆ ในฐานะคณะกรรมการชมรมพนักงานทั้ง 4 วาระ รวม 11 ปี จาก ผู้ช่วยเลขานุการ 1 วาระ เลขานุการ 2 วาระ และรองประธาน 1 วาระ
............
ขอคาวระแด่ผู้ร่วมอุดมการณ์ครับ

หมายเลขบันทึก: 658367เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2018 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2018 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้ามาเชียร์ครูยอดครับ … เพิ่งเคยเห็นตัวเต็ม ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท