ความมหัศจรรย์ในความธรรมดาของจิต



เรามีจิตที่มีสภาพเป็นปกติอยู่ทุกวัน...
แต่เรามักมองข้าม ไม่รู้ ตอนที่จิตปกติ
.
ส่วนมากเราจะไปรู้ตอนที่จิตเกิดความเครียด เกิดความไม่พอใจ โมโห เศร้า หรือฟุ้งซ่านหนัก
.

จิตปกติเป็นเรื่องธรรมดามากๆ มากเสียจนโดนมองข้าม.
แต่กลับมีคุณค่ามหาศาล.
ถ้าเราเห็นจิตที่ปกติๆ บ่อยๆ เวลาจิตเกิดความเครียดนิดเดียวจิตจะรู้ทันที.
ไม่ว่าจะเกิดความพอใจ ไม่พอใจ โลภ ฯลฯ จิตจะเสียความปกติ จิตจะรู้ทันที
เรียกว่า เกิดปฏิภาณของจิต
.

ถ้าเห็นแบบนี้ เราจะแยกแยะออกว่า 
อะไรที่เป็นสิ่งที่ถูกที่ควร ที่ไม่เบียดเบียนจิต(กุศล)
และอะไรที่ไม่ถูกไม่ควร เกิดความเบียดเบียนจิต(อกุศล)
เรียกว่า มีสามัญสำนึก
แทบไม่ต้องมีใครมาบอกเลยว่า อะไรดี อะไรชั่ว
.

คนที่ไม่สนใจจิต ไปจมอยู่กับความคิดอย่างเดียว
คิดหมกมุ่นมากเข้า จิตจะงง 
การคิดมากดูเหมือนมีเหตุผล แต่ไม่ใช่  การจมความคิดมาก จิตจะลืมความปกติ
ถ้ามากเข้า จะแยกแยะชั่วดีไม่ออก จนหลงกระทำชั่ว เบียดเบียนจิตตัวเอง และลามไปเบียดเบียนคนอื่นโดยไม่รู้ว่าเป็นเรื่องผิด เพราะมักจะมีเหตุผลประกอบ
สาเหตุเพราะไม่รู้จัก ไม่สนใจจิตปกติ ที่มีอยู่แล้วในทุกวัน
นี่คือ ประโยชน์มหาศาลของจิตปกติ
.

แค่ผ่อนคลาย หายใจยาว ยืดเหยียด บิดขี้เกียจ
แล้วสังเกตุจิตที่ไม่คิด ก็พบจิตที่ปกติแล้ว
.

หากเราเห็นจิตที่ปกติบ่อยเข้าๆ
เห็นเป็นประจำ เห็นจิตยามที่ปกติ และยามที่ไม่ปกติ

เราจะรู้จักทุกข์ มันคือสิ่งที่มาเบียดเบียนจิต คือ กิเลส
รู้จักเหตุของมัน (สมุทัย) ว่าทำไมกิเลสมันจึงเกิด
รู้จักนิโรธ คือสภาพที่กิเลสมันดับไป
และรู้จักว่า อ๋อ เมื่อกลับมามีจิตปกติ กิเลสก็ดับ
นั่นคือรู้จักมรรค หนทางดับทุกข์
นี่ไงครับ อริยสัจ 4 ที่เราเรียนตอนประถม
.

เราจะรู้ได้เอง โดยไม่ต้องอ่านจากตำรา

ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า ปัจจัตตัง รู้เอง เห็นเอง
เป็นความรู้ที่ลึกซึ้ง ไม่ได้จำมาพูด
เป็นความมหัศจรรย์ของจิต จากความธรรมดาๆ นี่เอง
ความมหัศจรรย์จะเกิด เมื่อรู้อย่างลึกซึ้ง
.

เมื่อจิตรู้อริยสัจ 4 จะควบคุมชีวิตได้ครับ
ไม่พาตัวเองไปในทางที่ผิด มีแต่พาตัวเองไปในทางที่เจริญ
ทั้งทางโลก อายุ วรรณะ(ผิวพรรณ) สุขขะ(ความสุข) พละ (สุภาพ) และในทางธรรม(จิตบริสุทธิ์) ควบคู่กันไป

หมายเลขบันทึก: 658270เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2018 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2018 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท