Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

ทุนวิจัยพื้นฐานและทุนวิจัยและพัฒนา


ทุนวิจัยพื้นฐานและทุนวิจัยและพัฒนา

ข้อเสนอแนะเบื้องต้น : ทุนวิจัยพื้นฐานและทุนวิจัยและพัฒนา

                                               

สถาบันวิจัยและพัฒนา

 

             ยุทธศาสตร์การจัดสรรทุนวิจัยประจำปี 2550 นับว่าเป็นปีที่ 2 ที่ได้ดำเนินการแยกลักษณะของทุนวิจัยออกเป็น 2 ลักษณะ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการศึกษาค้นคว้าระดับลึกหรือระดับพื้นฐาน และนำองค์ความรู้พื้นฐานมาพัฒนาต่อ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาบางอย่างให้แก่สังคม

            ดังนั้นเพื่อให้ระดับของการจัดสรรทุนวิจัยมีการเกื้อหนุนกันทั้งสองระดับ ทั้งวิจัยพื้นฐานและวิจัยและพัฒนา  จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า อย่างไหนจึงเรียกว่าเป็นวิจัยพื้นฐาน และอย่างไหนเรียกว่าวิจัยและพัฒนา

          หากพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ไม่ว่าเป็นงานวิจัยลักษณะใดมักจะมีการวิจัยพื้นฐานประกอบอยู่เสมอ  เพียงแต่น้ำหนักจะมากน้อยต่างกัน เพราะหากทำการวิจัยและพัฒนาก็จำเป็นต้องใช้ความรู้ในระดับพื้นฐานบางส่วนมาพัฒนาต่อยอดความรู้ วิจัยพื้นฐานจึงมีคุณค่าในตัวของมันเอง แม้จะไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่าง

        ข้อเสนอแนะเพื่อการพิจารณาเบื้องต้นมีดังต่อไปนี้

1. วิจัยพื้นฐาน คือ การวิจัยปรากฏการณ์ หรือภาวะซึ่งเป็นการตอบคำถามว่า ภาวะหรือปรากฏการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร เช่น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เพื่อตอบคำถามว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติมีการกระทำระหว่างกันอย่างไรบ้าง ปรากฏการณ์เหล่านี้ยังใช้ประโยชน์ไม่ได้ก็จริงอยู่ แต่มันก็เป็นพื้นฐานแก่การใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคตได้  สำหรับการใช้ปรากฏการณ์เป็นการแบ่งประเภทนั้น การยกตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์อาจจะเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าวิชาในสาขาอื่นๆ นอกจากนั้นทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็มีแนวทางที่จะทำวิจัยได้เป็นจำนวนมาก เช่น ในทางมนุษยศาสตร์อาจศึกษาในเรื่องชาติพันธุ์ ความเชื่อ ศาสนา ภาษา ศิลปะ ส่วนในทางสังคมศาสตร์ก็เป็นการศึกษาในทางโครงสร้างของสังคม เช่น สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม ระบบการปกครอง ฯลฯ ส่วนบางสาขาวิชาที่เป็นศาสตร์ประยุกต์โดยตรงก็อาจอนุโลมให้จัดอยู่ในวิจัยพื้นฐานได้ เช่น ด้านธุรกิจ การศึกษา และ               การท่องเที่ยว แต่ก็พยายามรักษาแดนความรู้ที่เป็นปรากฏการณ์หรือสภาวะเอาไว้ให้มั่งคง โดยการตระหนักอยู่เสมอว่า วิจัยพื้นฐานเปรียบเสมือนการสร้างฐานราก ต้องละเอียดลึกซึ้ง  รอบคอบ  พร้อมที่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับการวิจัยและการพัฒนาได้

2. วิจัยและพัฒนา คือ การนำความรู้ในที่เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์หรือภาวะมาพัฒนาต่อทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่างของมนุษย์  เช่น นำผลการวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์มาพัฒนาเป็นพลังงานไฟฟ้า ส่วนในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็นำความรู้ทางด้านชาติพันธุ์และระบบการปกครอง มาแก้ไขความขัดแย้งอันเกิดจากการแบ่งแยกในการจัดสรรทรัพยากร  นำความเชื่อทางประเพณี มาประยุกต์ใช้กับการรักษาป่า นำบทบัญญัติ         ทางศาสนามาแก้ไขความขัดแย้งทางสังคม หรือแม้กระทั่งนำวัสดุจากธรรมชาติมาพัฒนาเป็นสินค้าในระบบอุตสาหกรรม

        ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อเสนอแนะเบื้องต้น ที่จะทำให้การพัฒนาโครงการวิจัยระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัยมีความเกื้อกูลกันในระยะยาว เพื่อพึงพาความรู้ทั้งสองระดับให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งการแบ่งแยกให้เด็ดขาดว่าอันไหนเป็นวิจัยพื้นฐานอันไหนเป็นวิจัยและพัฒนาอาจทำให้เป็นข้อจำกัดในการทำงานได้อยู่บ้าง เพราะวิชาทั้งหลายถูกพัฒนามาจนผสมผสานทับซ้อนกันตามจิตนาการของมนุษย์ ทั้งนี้หากนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องมีข้อเสนอ       อื่น ๆ  สถาบันวิจัยและพัฒนาก็ขอน้อมรับด้วยความยินดี

หมายเลขบันทึก: 65756เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • หวัดดีครับ
  • เข้ามาทักทายชาว สฎ.ด้วยกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท