อิงเกณฑ์ หรืออิงกลุ่ม


สวัสดีครับ พอดีได้อ่านบทความจาก http://www.thaijobsgov.com/jobs/242147 มา
.......ครับก็เลยคิดถึงตอนที่ผมสอนวิชาเชิงช่าง ในคาบแรกผมจะอธิบายถึงการตัดเกรดของผม ซึ่งเป็นวิธีประเมินที่ต่างจากคนอื่นที่มีมา.......และได้วิธีคิดจากเรือ่งที่เล่าต่อๆ น่ะครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าของนายพลท่านหนึ่ง(สมมุติ)
พอดีได้เฮรีครอปเตอร์มาใหม่ลำหนึ่งไว้ใช้ในราชการ และท่านได้มีโอกาสคัดเลือกนักบินจบใหม่ด้วยตนเองจาก 20 คน ท่านเลือกคนที่เกรดสูงสุด.......ได้เกรียตินิยมสะด้วย
ครั้งหนึ่งท่านต้องไปราชการในจังหวัดหนึ่ง.....ท่านเดินทางด้วยเฮรีครอปเตอร์ ครั้งไปถึงจุดหมายมีลมกระโชกแรง....นักบินบินอยู่หลายรอบ ก็ยังไม่ลงจอดสักทีจนเวลาผ่านไปนานจนผิดสังเกตุ ท่านนายพลถึงถามเหตุผล นายพล.......นักบินทำไมไม่ลงจอดสักที
นักบิน........ลมกระโชกแรง....ผมยังไม่กล้านำเครื่องลงจอดครับ นายพล......ลมกระโชกแค่นี้ปรกติก็น่าจะลงได้อย่างสบายไม่ใช้หรือ..ที่ผ่านมาก็มาลงจอดได้
นักบิน.......ครับ...แต่ผมยังลงจอดไม่ได้ขอบินรอวนอีกสักครู่ครับ
นายพล.....(เริ่มโมโห) นักบินผมจำได้น่ะเมื่อครั้งที่ผมเลือกนักบินประจำเฮรีครอปเตอร์ลำนี้ ผมเลือกนักบินที่บินเก่งได้รับคะแนนการบินสูงสุด แล้วทำไม่ลงจอดแค่นี้ไม่ได้ล่ะ
นักบิน....ครับผมเป็นนักบินที่เรียนเก่งที่สุดและได้เกรดสูงที่สุดครับ....แต่ผมก็ไม่สามารถลงจอดในกรณีนี้ได้สักครั้ง เมื่อครั้งฝึกเครื่องจำลองทำการสอบกรณีนี้.....ตกทุกครั้งเลยครับ
นายพล....(กูจะรอดไม่นี้) ว่ะ..แล้วไงงี้ล่ะก็คุณเก่งที่สุดในชั้นคุณยังบินตกแล้วคุณได้เกรด 4 หมดทุกวิชาได้อย่างไงกันนี้......(เดือดดาน)
นักบิน....ครับจริงอยู่ที่ผมมีเกรดสูงสุดในชั้น แต่กรณีนี้ผมก็ไม่สามรถลงจอดในเครื่องจำลองไม่ได้สักครั้งเลยครับ......อาจารย์ท่านตัดเกรดแบบอิ่งกลุ่มครับ ####
นายพล....หมายความว่าไงนี้ห่า....
นักบิน....ครับก็จริงครับผมได้เกรด 4 จริงครับ อาจารย์บอกผมว่าตัดแบบอิงกลุ่มไม่ใช้อิงเกณฑ์คุณทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะทั้งชั้นเรียนการสอบทดสอบการบินสถานะการณ์แบบนี้ทั้งห้องไม่มีใครสอบผ่านเลยครับท่าน
นาย....พล กูตายแน่น.....
จากเหตุการณ์ที่เล่ามา เพื่อลดความผิดพลาดในการสอบ และนักศึกษาต้องปฏิบัติได้จริงทุกกรณี ในการตัดเกรดของผมนั้นจึงเป็นการตัดเกรดแบบผสม กล่าวคือ ผมจะตั้งเกณฑ์ต้องผ่านก่อน เมื่อผ่านเกณฑ์แล้ว (50%ของคะแนน) จึงมาดูในรายละเอียดอีกที (อีก 50% ของคะแนน) ว่าจะได้คะแนนเพิ่มมากเท่าไร.....อย่างไรหรือ ผมขออธิบายเป็นการต่อหลอดฟลูเรดเซ่น สมมุติ คะแนนเต็ม 10 คะแนน น่ะครับ ดังนี้
เกณฑ์ 1 ต่อเสร็จได้ ป้อนไฟฟ้าแล้วเปิดติด ได้ 10 คะแนน ถ้าไม่ติดได้ 0 คะแนน ไปต่อใหม่จนได้ แต่คะแนน จาก 10 คะแนนจะเหลือ 9 คะแนน
เกณฑ์ 2 ขยับสายไฟที่ขั้วต่ออุปกรณ์ทุกจุดแน่นหรือไม่ ถ้าเจอ 1 จุดไม่แน่นขยับแล้วหลุด ไฟดับๆติดๆ หัก 1 คะแนน จาก 10 คะแนนที่ให้ไว้จากเกณฑ์ หักไปเรื่อยๆ (หักได้ 5 จุด หมด 5 จุดก็ไม่ต้องตรวจเกณฑ์ที่ 3 นักเรียนจะได้คะแนนต่ำสุดที่ผ่านเกณฑ์ที่ 5 คะแนน) ถ้าต่อสายไฟกับอุปกรณ์แน่นดีหักแล้วยังเหลือเกิน 5 คะแนน ตรวจเกณฑ์ที่ 3
เกณฑ์ 3 หัวสายที่ปลอกสายไฟต่อเข้าขั้วนั้น ฉนวนชิดขั้ว หรือ เห็นทองแดงยาวเกินขั้วหรือไม่ ดูแล้วก่อให้เกิดอันตราย หัก 1 คะแนน กล่าวคือเวลาปลอดฉนวนที่หุ่มสายไฟ ถ้าปลอดฉนวนออกลึกเกินไปเวลาเข้าขั้วอุปกรณ์จะมีช่วงของสายทองแดงที่ไม่มีฉนวนยาวออกมาจากขั้ว ซึ่งเป็นอันตรายได้ ถือว่าไม่ดี (หักได้ 5 จุด หมด 5 จุด)
สรุปคือ ผ่านทั้ง 3 เกณฑ์ ก็จะได้ 10 คะแนนเต็ม ถ้าต่อได้แค่เปิดติดก็ได้ 5 คะแนน ถ้ามีความปราณีตในการต่ออุปกรณ์เรียบร้อยอีก 5 คะแนน เต็ม 10 คะแนน
จากที่กล่าวมานั้น เริ่มต้นจากทุคนต้องทำได้ก่อน แล้วจึงมาดูในรายละเอียดว่าได้จริงและเรียนร้อย ปราณีต (แสดงออกถึงความเอาใจใส่) เพียงใด
อาจเข้าใจยาก ขออธิบายง่ายๆ....สอบนักเรียน ป.1 ให้เขียน ก.ไก่ ถึง ฮ.นักฮูก เกณฑ์ดังนี้
เกณฑ์ 1 นักเรียนต้องเขียน ก.ไก่ ถึง ฮ.นักฮูก ได้ถูกต้องทุกตัว
เกณฑ์ 2 ดูในรายละเอียดว่า ที่เขียนนั้น สวยหรือไม่ ไม่ใช้ไก่เขี่ย ถ้าเจอไก่เขี่ย 1 ตัวก็หักคะแนน
เป็นเพียงตัวอย่าง ประมาณนี้น่ะครับ..... จริงๆ ผมเวลาผมใช้เกณฑ์นี้จะมีรายละเอียดอีกน่ะครับ เช่น มีการให้พิกัดความผิดพลาด ถ้าอยู่ในพิกัดก็ผ่าน ผ่านแล้วมาดูว่าในพิกัดก็จริงแต่ถ้าที่ทำทำได้ตรงค่าจริงที่ต้องการก็คะแนนเต็ม แต่อยู่ในพิกัดค่าที่ได้ใกล่ค่าจริงเพียงได้ ถ้าใกล้มากก็ได้คะแนนมา ถ้าเข้าใกล้น้อยก็ได้คะแนนน้อย สำคัญที่ นักเรียนทำได้ในพิกัดแล้วจึงดูรายละเอียดเพิ่มเติ่มเพื่อให้คะแนนความปราณีตน่ะครับ
ส่วนวิธีการยังต้องอีกน่ะครับ.......ผมคงต้องกล่าวเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ....

หมายเลขบันทึก: 654837เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2018 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2018 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าอยากให้เกิด “การแข่งขัน” ให้ใช้อิงกลุ่ม แต่ถ้าต้องการให้เกิด “การแบ่งปัน” ใช้อิงเกณฑ์เหมาะกว่าครับ

จากประสพการณ์ตรง ผมสอน นศ. มีการสอบกลางเทอม มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งได้คะแนนสูง และกลุ่มคะแนนต่ำ พอมาปลายภาค นศ.ที่สอบกลางภาคที่ได้คะแนนสูง บางคนก็ไม่ทำข้อสอบ บางคนก็ทำ ซึ่งรวมๆ กลุ่มคะแนนสูงทำข้อสอบไม่ได้ ได้คะแนนน้อยมาก ผมเลยเรียกประชุม เปิดใจคุยกัน พบว่า นศ. ที่ได้คะแนนกลางเทอมต่ำ มีอิธิพลต่อกลุ่คะแนนสูง โดยให้กลุ่มคะแนนสูงทำคะแนนให้น้อยๆ เพื่อให้กลุ่มคะแนนต่ำได้ผ่าน…แต่พอดีผมตัดเกรดแบบมีเกณฑ์ ที่ได้คุยตกลงกับ นศ.ไว้ใน ชม. แรกแล้ว ทั้งห้องเลยได้คะแนนรวมต่ำ ทำให้มี นศ. ท่านหนึ่งที่ไม่ทำข้อสอบสูงกลางเทอม(กลางเทอมได้คะแนนเต็ม) ได้เกรดต่ำไปด้วย จึงทำให้ นศ. ท่านนี้นี้ไม่ได้เกริยตินิยม 4 เกือบทุกวิชา เหลือแต่วิชาผม …..เรื่องจึงถูกเปิดเผย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท