KM อุปมา: คัดท้าย กับ ฟาดหัว ฟาดหาง


   ผมได้แง่คิดประเด็นหนึ่ง  มานั่งคิดเพลินๆ เกี่ยวกับอาการอย่างหนึ่งของมนุษย์ปุถุชนอย่างเราๆ      มันเป็นอาการ  ตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้ อย่างหนึ่ง    เพราะว่าคนเรานั้นย่อมมีพฤติกรรมที่แสดงออกไปไม่เหมือนกัน   ระดับความร้อน-เย็น ของอารมณ์ก็คงไม่เท่ากัน  น่าจะขึ้นอยู่กับการฝึกของแต่ละคน   ฝึกที่ว่านี้  หลายกรณีฝึกโดยไม่รู้ตัว ก็มีเหมือนกันนะครับ   

 สมัยหนึ่งที่เคยทำงานพัฒนาชนบทในอำเภอจักราช   นครราชสีมา     พี่ชายแสนดีในที่ทำงานเคยให้แง่คิดกับผมว่า....... 

            เราต้องพยายามหลีกเลี่ยง  "การโต้ตอบแบบตีปิงปอง"

พี่เขาอธิบายคำกล่าวว่า   ถ้าเราตีปิงปองอัดฝาผนังแรงเท่าไร   มันก็จะคืนย้อนกลับมาที่เราเร็วและแรงเท่านั้น 

หลายครั้งผมก็เชื่อตามคำกล่าวนี่เหมือนกัน   เพราะตอนที่เห็นปรากฏการณ์จริง  ส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามคำกล่าวที่ว่ามานี่หละ    แต่บางกรณีก็ไม่เป็นอย่างนั้น   เพราะคนนั้น ฝึกมาดี   แทนที่จะเป็นฝาแข็ง   กลายเป็นนุ่มแทน   อัดลูกปิงปองมาแรงเท่าไร  ก็ไม่เป็นผล

จากความคิดลูกปิงปองทำให้ความคิดผมกระโดดไปเชื่อมกับความคิดอีกเรื่องหนึ่ง     เกิดเห็นความต่างอย่างหนึ่งระหว่าง    อาการคัดท้าย  กับอาการฟาดหัว-ฟาดหาง

ความต่างน่าจะเป็น    "เจ้าตัวอารมณ์"   ของคนเรานี่หล่ะ    แล้วเจ้าตัวที่ว่านี้มาจากไหน?

ผมย้อนนึกเข้าไปในตัวเองจากอดีตที่ผ่านมา......

ผมว่าน่าจะเป็นเพราะ (แบบว่าไม่ค่อยมั่นใจ)    เวลาใจ  หรือจิต ของเราเกาะยึดติดกับอะไรแน่นมากๆ     แล้วเมื่อเจอปรากฏการณ์ที่ไม่ตรงตามที่เรายึดติดอยู่นั้น    ก็มักจะออกอาการเอาได้ง่ายๆ

เลยทำให้คิดต่ออีกว่า.....

คนที่ทำหน้าที่เป็นนายท้าย   หากเป็นคนที่ยึดติดกับอะไรมากๆ   ก็จะเผลอออกอาการ   จระเข้   แทนที่จะทำหน้าที่   "คัดท้าย"   ไปเสียนี่!

 

 

คำสำคัญ (Tags): #analogue#km#อุปมา
หมายเลขบันทึก: 65388เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในพุทธวิถีกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ทำนองนี้ไว้เหมือนกันครับ "ความรู้สึกเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นจากจิตใจของเราหากเราไปยึดติดกับมัน เราก็จะเกิดทุกข์ แต่ถ้าหากเราไร้ซึ่งการยึดติดโดยสิ้นเชิงแล้ว เราก็จะกลายเป็นคนเย็นชา ซึ่งทางที่ดีก็คือทางสายกลางนั้นคืดการฝึดจิตให้ยอมรับในสิ่งที่เป็นในสังคม ไม่ยึดติดในความดีของตนว่าตนเองดีกว่าใคร ไม่อหังกา ต้องรู้จักระงับกิเลสมีสติ เท่านี้ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตเราก็เป็นจะเป็นแค่ ความรู้สึกที่ผ่านมาและผ่านไป ไม่เกิดทุกข์

คนที่จะไม่ยึดติดในอารมณ์ ถือในสตินั้น ต้องฝึกจิตเหมือนกับที่คุณ Thawat บอกครับ หากทำได้แล้ว ระงับอารมณ์ได้แล้ว คุมสติอยู่แล้ว รับรองว่าสังคมจะเย็นลงกว่าปัจจุบันหลายองศาทีเดียวครับ

เป็นข้อคิดจากการทำงานที่ดีทีเดียวครับ ..หากไม่ยึดมั่น ถือมั่น การงานก็เป็นสุขครับ ขอบคุณมากครับ วิชิต
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท