คำถามสำหรับออกข้อสอบปรนัยไต่ระดับลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม (Bloom's Taxonomy)


ผมได้เรียนรู้มากเกี่ยวกับศาสตร์ด้านการศึกษาจากงานด้านการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ที่เราจัดทำหลักสูตรพัฒนาอาจารย์ด้านนี้โดยตรง และเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้มานำเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ (ดังที่ผมได้เขียนบันทึกไว้ที่นี่)  ระหว่างงานการอบรมต่างๆ นั้น ผมได้สรุปและสังเคราะห์หลักการและตัวอย่างคำถามเกี่ยวกับการออกข้อสอบปรนัยแบบตัวเลือกให้ไต่ระดับลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม (Bloom's Taxonomy) อยากจะรวบรวมมาแลกเปลี่ยนกับท่าน เผื่อเป็นประโยชน์ต่อไปครับ 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม

ขอทวบทวนทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมด้วยภาพ ๓ ภาพ แทนลำดับขั้นการเรียนรู้ใน ๓ ด้าน ด้วยภาพที่วาดขึ้นตามความเข้าใจ ดังนี้ครับ 

การวัดผลการเรียนรู้ไต่ระดับลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม

หากมุ่งไปที่การทดสอบแบบปรนัยแบบมีตัวเลือก เราจะสามารถวัดหรือประเมินผลการเรียนรู้ได้ก็เฉพาะด้านพุทธิพิสัยเท่านั้น ด้านทักษะพิสัยและจิตพิสัยต้องใช้เครื่องมือที่ต่างไป (โอกาสหน้ามาว่ากันใหม่) บันทึกนี้จึงจะเล็งไปที่ คำถามไต่ระดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยไต่ลำดับขั้นของบลูม ๕ ระดับ (ระดับที่ ๖ สร้างสรรค์ ก็น่าจะไม่สามารถทำได้ด้วยข้อสอบแบบเลือกตอบได้เช่นกัน) ต่อไปนี้เป็นข้อสอบที่ได้รวบรวมไว้จากเวทีพัฒนาอาจารย์ที่ผ่านมา 

คอลัมน์ด้านซ้ายจะเป็นคำสำคัญ (Keywords) ที่สะท้อนพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ผ่านการเลือกคำตอบที่กำหนดให้ ตัวอย่างคำถามของการนำคำสัญเหล่านั้นไปใช้แสดงดังคอลัมน์ซ้ายของตาราง อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้คำสำคัญนี้หรือก๊อปปี้คำถามไปใช้เลย ผู้ออกแบบทดสอบก็ต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ เพราะตัวเลือกหรือบริบทของการตั้งคำถามอาจทำให้ข้อสอบนั้นจัดอยู่ในระดับของบลูมที่ต่างไปได้ ...  ไม่ตายตัว

จบแบบฮ้วนๆ ณ บัดนี้ครับ 

หมายเลขบันทึก: 653078เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2018 01:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2018 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เขาเอา Bloom ไปแตกและต่อยอดเยอะมากนะครับเนี่ย ;)…

  1. ผมก็ชอบ Bloom ครับ จึงขอแจมด้วย
  2. ชอบสไลด์ 3 แผ่นแรก ฐานคิด ฐานกาย ฐานใจ อ่านแล้วเข้าใจง่าย ขออนุญาตเอาใช้นะครับ
  3. แผ่น 4 แบบทดสอบความจำ ในทางปฏิบัติเราน่าจะ ‘เลี่ยง’ การทดสอบระดับความจำ ยกระดับไปเริ่มที่ระดับความเข้าใจดีกว่า (ถ้าเข้าใจก็ต้องจำได้อยู่แล้ว) จะได้ไม่เปลืองข้อสอบ (ที่ไม่ใช้คำว่า ‘เลิก’ ก็เผื่อไว้ใช้ยามจำเป็นจริงๆแต่ต้องน้อยๆหน่อย)
  4. แผ่นที่ 5 ระดับความเข้าใจ - ความสำคัญน่าจะอยู่ที่ตัวเลือก เขียนตัวเลือกข้อที่ถูกก่อน จะต้องไม่เหมือนนิยามแต่ก็มีความหมายเหมือนนิยาม ความยากอยู่ที่ตรงนี้แหละครับ (วิธีแก้เคล็ดคือ ให้เพื่อนครูด้วยกันช่วยดู) แล้วค่อยเขียนข้อหลอกพลิกไปทีและแง่จนได้จำนวนข้อที่ต้องการ
  5. แผ่นที่ 6 ประยุกต์ใช้ 8 วิเคราะห์ และ 9 ประเมิน ความสำคัญอยู่ที่สถานการณ์ (ที่นักเรียนสมควรรู้) และตัวเลือก (ความรู้) ที่ใช้กับสถานการณ์นั้นๆ วิธีแก้ความยาก ก็คือช่วยกันทำข้อสอบเป็นกลุ่ม 3-4 คน จะได้ประโยชน์ ง่าย และสนุก (อย่างน้อยก็ไม่เครียด)ที่ผมเขียนมานี่ก็ด้วยความเชื่อว่า ความรู้ที่แท้จริง ต้องเป็นความรู้ที่นำไปใช้ได้ และนำไปใช้จริงๆ

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์อำนาจ เป็นอย่างสูงครับ ได้เทคนิคเพิ่ม เจ๋งไปเลยครับ

ลืมบอกท่านอาจารย์อำนาจว่า ยินดีมากๆ ครับ ที่ท่านจะนำ ๓ ภาพแรกไปใช้ เชิญท่านที่เห็นว่ามีประโยชน์ นำไปใช้ได้ โดยไม่ต้องอ้างอินใดๆ ให้ยุ่งยากครับ

ขออนุญาตปริ้นบทความไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนนะคะ

คำสำคัญและตัวอย่างคำถามของสังเคราะห์มีไหมครับอาจารย์

ขอบคุณ อ.ต๋อยนะคะ เพิ่งมีโอกาสได้อ่านบทความนี้ ดีมากค่ะ

ชื่นชมนะคะที่เห็นว่ามีความตั้งใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รณรงค์ update ความรู้ หลายคนยังใช้แบบเก่า แต่แบบเก่าหรือแบบใหม่ถ้าพยายามสอนเโ้กก็ได้ประโยชน์นะคะเพื่อความเข้มแข็งของวิชาชีพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท