มาตรฐานข้อกำหนดของอุโมงค์ลอดในประเทศไทย


อุโมงค์ลอดทางรถไฟซึ่งใกล้ทางเข้าที่มีซุ้มประตู รปภ.(ประมาณ 20 เมตร) เช่นนี้หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ!!! เป็นใครๆก็ไว้ใจว่าจะต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติป้องกันอะไรต่างๆอย่างแน่นอน!!! และความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน??? อย่างที่คนรุ่นโบราณเตือนไว้จริงๆครับ!!!​

 ก่อนอื่นผู้เขียนต้องบอกก่อนว่า อนึ่งผู้เขียนมิได้มีเจตนาจะทำให้เสียชื่อเสียง แต่เพื่อให้เป็นกรณีศึกษา เกิดความตระหนักของเจ้าของหมู่บ้านทุกๆหมู่บ้านให้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานข้อกำหนดต่างๆที่ยังหละหลวม ให้เกิดปลอดภัยต่อประชาชนไทยในทุกๆหมู่บ้านมากขึ้นกว่าปัจจุบันครับ.....RIP ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์

เวลามีเหตุการณืที่ใครต้องบาดเจ็บเสียชีวิตผมจะกังวลใจนอนไม่หลับเลย จะช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิด(เบื้องต้น) เขียนวิธีป้องกันผ่านเรื่องเล่าและรีบแชร์วนไปให้เร็วที่สุดทุกๆครั้งครับ เพื่อนๆช่วยกันได้ด้วยการ แชร์เพื่อให้สังคมตระหนักการปกป้องความปลอดภัยจนเป็นวัฒนธรรม(จิตสำนึกต่อสาธารณะ)

......อุโมงค์ลอดทางรถไฟซึ่งใกล้ทางเข้าที่มีซุ้มประตู รปภ.(ประมาณ 20 เมตร) เช่นนี้หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ!!! เป็นใครๆก็ไว้ใจว่าจะต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติป้องกันอะไรต่างๆอย่างแน่นอน!!! และความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน??? อย่างที่คนรุ่นโบราณเตือนไว้จริงๆครับ!!!

....ดังนั้นสิ่งที่เราควรตระหนักก็คือ วันนี้มาตรฐานข้อกำหนดของอุโมงค์ลอดทั้งในหมู่บ้านเอกชน มีเพียงพอเท่าเทียมกับรัฐไหม เอกชนควบคุมรูปแบบได้ไหม ถ้าไม่ได้รัฐก็ต้องเข้าไปควบคุมกำกับดูแล ให้มีมาตรฐานเพียงพอที่จะปกป้องความเสี่ยงตรงนี้ให้ได้เป็นรูปธรรมครับ

.........อุโมงค์สาธารณะทุกแห่ง การออกแบบตามหลักวิศวกรรมนั้น นอกจากความแข็งแรงของโครงสร้าง ระบบไฟแสงสว่างและอุปกรณ์จ่ายไฟสำรองอัตโนมัติ แล้วในแบบแปลน ก็จะต้องติดตั้งระบบเตือนภัย ได้แก่ ...ไฟสัญญานก่อนเข้าอุโมงค์ เขียว แดง ใช้เพื่อห้ามรถกรณี มีสิ่งผิดปกติในอุโมงค์ เสียงไซเรน ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดความผิดปกติ ระบบการระบายน้ำและอากาศ ตลอดจนกล้องวงจรปิดก็ต้องมี จนท.สังเกตุความผิดปกติ เฝ้าระวังในเวลาทำการและนอกเวลาทำการ(ISO&ICAO std.ระบุให้มี จนท. เฝ้าระวังทั้งในและนอกเวลาทำการ ในความเห็นส่วนตัวผู้เขียนน่าจะเป็นเพราะหากเกิดสิ่งผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทันเวลาการเปิดให้บริการ อีกทั้งด้านสนามบินนั้นกรณีฉุกเฉินอากาศยานสามารถบินลงยังสนามบินได้ทุกแห่งโดยประสานงานกับจนท.ที่รับผิดชอบในทุกๆด้านเพื่ออำนวยความปลอดภัยเบื้องต้นได้)
...... พร้อมมีมาตรการป้องกันและแผนเชิญเหตุที่ต้องซักซ้อมเป็นประจำและมี จนท.ปฎิบัติการพอเพียงและปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว ตามขั้นตอนถูกต้อง สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
........ประเด็นหลักของเรื่องที่เป็นข่าว จึงน่าจะเป็นเรื่อง ระบบการเตือนภัยและขั้นตอนการป้องกันรถไม่ให้ผ่านเข้ามาได้ เพราะด้านเทคนิคความผิดพลาดใดๆก็เกิดได้ จึงเป็นประเด็นรอง สื่อต่างๆควรชี้นำเน้นการจัดให้มีระบบการเตือนภัย และการป้องกันทำเครื่องหมายติดไฟเตือนผู้ใช้ เพื่อให้เกิดการปฎิบัติในบริเวณอุโมงค์อื่นๆให้เคร่งครัดเพื่อไม่ให้เหตุการณ์อันตรายลักษณะเช่นนี้เกิดได้อีก

ไฟสัญญานสีแดงห้ามรถลงอุโมงค์ ไฟเขียวเหตุการณ์ปกติ

concern to unsafe act condition from case flood in tunnel from error Swiss cheese between man , automatic water pump motor and manage. RIP ความสูญเสียที่ป้องกันได้....ด้วยการติดตั้งไฟสัญญานสีแดงห้ามรถลงอุโมงค์ ไฟเขียวเหตุการณ์ปกติ


ไฟสัญญานสีแดงห้ามรถลงอุโมงค์ ไฟเขียวเหตุการณ์ปกติลงอุโมงค์ได้

อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน จะจนใจเอง ในเมื่อ Man และ Manage ผิดพลาดภาวะไม่ปลอดภัยก็เกิด Unsafe Action from Man and Manage to born Unsafe Act Condition!!!

Best-practice วิธีปฏิบัติหากจะแสดงแนวพื้นที่ไม่ใช้งาน ..ด้านการบินเราแสดงแนวเขตที่ไม่ปลอดภัยด้วยการใช้ Barricade , Flag และต้องมีไฟในเวลากลางคืน และมีเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าแบบใช้น้ำมันอีกเครื่องกรณีไฟฟ้าหลักดับ (responsibilities by K. Olemu Wittawat and K. Sue Saparnmaiaction for protect unsafe act condition.)


(ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาจะทำให้เสียชื่อเสียง แต่เพื่อให้เป็นกรณีศึกษา เกิดความตระหนักของเจ้าของหมู่บ้านทุกๆหมู่บ้านให้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานข้อกำหนดต่างๆที่ยังหละหลวม ให้เกิดปลอดภัยต่อประชาชนไทยในทุกๆหมู่บ้านมากขึ้นกว่าปัจจุบันครับ)

RIP ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์...11/09/2561

หมายเลขบันทึก: 652227เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2018 05:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2018 05:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท