การปรับตัวเข้าหา Discontinuous innovation ของ Kodak จากผู้ตามกลายเป็นผู้นำในโลกใหม่ของ Block chain


ปรเมศวร์ กุมารบุญ

 

          โลกธุรกิจนวัตกรรม มีวงจรชีวิตเป็นพลวัตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นปกติขึ้นอยู่กับบริบท (Context) ที่เปลี่ยนไป และในปัจจุบันยุคโลกาภิวัตน์เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ แต่นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว เพราะการจะมีนวัตกรรมได้ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ต่างหาก
          สิ่งเดียวที่แน่นอนสำหรับวันพรุ่งนี้ คือ “ความไม่แน่นอน” เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงจากเมื่อวานที่เกิดขึ้นในวันนี้ เห็นได้ชัดจากการที่เราต้องเผชิญกับภาวะความยากลำบากในการจัดการนวัตกรรมเดิมของเรากับบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นความท้าทายในการบริหารจัดการความรู้ที่มีอยู่เดิมไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไรกับองค์กร ความท้าทายจาก Discontinuous innovation ทำให้องค์กรต้องเรียนรู้ว่า ฝันหวานอยู่ดีๆ อาจจะตื่นมาพบความเลวร้ายหรือเป็นเศรษฐีอยู่ดีๆ ตื่นมาเป็นยาจก
         ถึงแม้เทคโนโลยีได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กร ก็คือ ต้องมีความกระตือรือล้นในการค้นหา และพัฒนานวัตกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดที่ยืนหรือจุดเด่นของตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนขององค์กร ที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี
 


                       รูปที่ 1 S-Curve of Technology

                      หากเรามองแค่สภาพการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดเช่นทุกวันนี้ ความสามารถในการแข่งขันของแต่ละองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับ know How ขององค์กรตนนั่นเอง  แต่ถ้าหากความรู้ที่แต่ละบริษัทครอบครองนั้น ยากต่อการเลียนแบบ จะทำให้ผู้อื่นพยายามเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับตนเอง แต่บางครั้งในสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายสับสนในการแข่งขันเช่นทุกวันนี้อยู่นั้น จู่ๆ กลับเกิดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพไกลกว่าเทคโนโลยีที่กำลังแข่งขันในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจจะปรับตัวเช่นไร 
           ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น โกดัก ทำให้เราเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับ Discontinuous innovation ได้ดี และควรค่าแก่การศึกษาแก่องค์กรนวัตกรรมทั่วไป

 

                    รูปที่ 2 Camera Discontinuous Innovation

                   โกดักก่อตั้งขึ้นมานับร้อยปีแล้ว ด้วยการดำเนินธุรกิจผลิตฟิล์ม และเทคนิคการถ่ายภาพ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีของตัวกล้อง และฟิล์มได้เปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous) ไปตามช่วงเวลาแล้วก็ตาม แต่ทุกเทคโนโลยีจะมีจุดอิ่มตัวไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้มากกว่าเดิมอีกแล้ว
        จู่ๆ กลับเกิดมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สูงกว่าเทคโนโลยีเดิมแบบขาดตอนไปเลย (Discontinuous) ซึ่งไม่ได้เป็นการพัฒนาต่อยอด และต่อเนื่องจากเทคโนโลยีเดิม แต่เป็นการเริ่มต้นจากเทคโนโลยีใหม่เลย โดยเปลี่ยนจากฟิล์มเป็นการถ่ายภาพดิจิทัลอย่างที่ทราบกันดี 
                     ร้านถ่ายภาพ ล้างฟิล์ม ปิดตัวลง และหายไปจากตลาด ฟิล์ม และน้ำยาล้างฟิล์ม ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอีกต่อไป ต้องยกเลิกสายการผลิตกล้องฟิล์มไป 
                    โกดัก ต้องปรับตัวอย่างมากและรวดเร็วให้ทันต่อการกระโดดข้ามผ่านการเปลี่ยนแปลงนี้ให้ได้ เพื่อหาเทคโนโลยีใหม่ในด้านอิเล็คทรอนิคส์ และการสื่อสารเพื่อผลิตกล้อง
                   การเปลี่ยนแปลงของภาพถ่ายดิจิทัลกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปแบบพลิกผัน จากที่เคยไปร้านถ่ายรูปเพื่อล้างฟิล์มอัดรูปกระดาษใส่เป็นอัลบั้ม ส่วนภาพใดที่ประทับใจนั้นจะนำมาขยายใส่กรอบ พฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็นการถ่ายภาพแล้วตรวจสอบทันทีว่าจะเก็บไว้หรือลบทิ้งหรือตกแต่งทันที จากนั้นอัพรูปขึ้นสู่สื่อสังคมออนไลน์ของตนอวดมิตรสหายอย่างรวดเร็ว
           ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 โกดักทยอยขายสิทธิ์แบรนด์ให้กับผู้ผลิตหลายกลุ่ม ทำให้แบรนด์โกดักปรากฏบน แบตเตอรี่ เครื่องพิมพ์ โดรน คอมพิวเตอร์ และกล้องดิจิทัลหลายรุ่น 
                แต่กรณี Camera Discontinuous Innovation ที่โกดักเคยเผชิญในฐานะผู้ตามที่ปรับตัวอย่างล้มลุกคลุกคลานจนเอาตัวรอดมาได้ในปัจจุบันนั้น โกดักผู้ไม่เคยย่อท้อกำลังเริ่มการใหญ่พลิกกลับมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมภาพถ่ายอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ด้วยเทคโนโลยี Block chain
               

                   ต้นปี ค.ศ.2018 หุ้น บริษัท อีสต์แมน โกดัก (Eastman Kodak) พุ่งขึ้นสูงกว่า 120% หลังจากเปิดธุรกิจใหม่ออกเหรียญดิจิทัลสกุลของตนเองในชื่อ โกดักคอยน์ (Kodak Coin) สำหรับให้บรรดาช่างภาพไว้ใช้จัดการลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของตนในแพล็ตฟอร์ม บล็อกเชน Kodak One
                  ความสามารถของบล็อกเชน Kodak One คือ เมื่อเรามีภาพถ่ายเป็นของตนเองแล้วโยนผลงานภาพถ่ายของเราลงไปใน บล็อกเชน Kodak One ภาพนั้นจะถูกบันทึกว่าเราเป็นเจ้าของทันที พร้อมกับระบบุัญชีเงินดิจิทัลของเรา (Ledger) เมื่อใครหยิบไปใช้มันจะชี้มาที่ความเป็นเจ้าของๆ เรา และสามารถชำระเงินได้ทันทีเมื่อต้องการนำภาพเราไปใช้ประโยชน์ ก็อปปี้ไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ แต่ถ้าหาก จ่ายค่าลิขสิทธิ์แล้ว เงินดิจิทัลจะโอนสินทรัพย์ดิจิทับหรืออนุญาตให้นำผลงานภาพของเราให้กับอีกฝ่ายใช้ประโยชน์ได้ทันที ทำให้สามารถแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ให้กับช่างภาพได้ และรวมถึงการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ก็จ่ายค่าตอบแทนโดยง่าย และถ้าหากพิจารณาในระยะยาว Kodak Coin ยังจะมีมูลค่าสูงยิ่งๆ ขึ้นอีก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Kodak coin
               นอกจากนั้น เมื่อมี บล็อกเชน ก็ต้องมี Miner ที่นำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเพื่อประมวลผลค่า Hash และโกดัก ได้สร้างเครื่องขุดเหมือง Bitcoin ได้ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้วางจำหน่ายกลับให้เช่า ซึ่งเครื่องขุดเหมืองดังกล่าวชื่อว่า Kodak KashMiner 
 


                  รูปที่  3 Kodak KashMiner

             ราคาเช่าอยู่ที่ 3,400 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ 2 ปี (ตกประมาณแสนกว่าบาท) โกดัก ให้ข้อมูลว่าเครื่องขุดเหมือง Kodak Coin สามารถทำเงินได้มูลค่าประมาณ $375 เหรียญทุกเดือนหรือทำเงินได้ $9,000 เหรียญภายใน 2 ปี หากคิดเป็นเงินไทย จะตกรายได้ประมาณเกือบ 300,000 บาท และกำไรราว 200,000 บาท
              ปรากฏการณ์พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินของ โกดัก องค์ด้านนวัตกรรมที่ปรับตัวได้ช้ามากต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาทำลายเทคโนโลยีเก่าอย่างสิ้นเชิง (Disruption) และกลับมาเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำหน้า อันจะเผยให้เห็นอนาคตอันสดใสกลับมาครองเจ้าตลาดภาพถ่ายได้อีกครั้งอย่างแน่นอน
              ศาสตราจารย์ ไมเคิล อี.พอร์ตเตอร์ ได้กล่าวไว้ว่า องค์กรนั้นควรจะต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง 2 กลยุทธ์ทางการตลาด เป็นผู้นำ กับ การเป็นผู้ตาม ทางนวัตกรรม (Innovation Leadership versus Follower ship) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละอย่างมีข้อดีข้อด้อยแต่ละสถานการณ์ดังนี้
               การเป็นผู้นำทางนวัตกรรม หมายถึง องค์กรมุ่งมั่น ที่จะเป็นผู้นำตลาด โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำของตน ซึ่งจะต้องอาศัยทั้งความคิดสร้างสรรค์ และการแบกรับภาระความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และขณะเดียวกัน ต้องสามารถเชื่อมโยงแหล่งความรู้ใหม่ๆ เข้ากับความต้องการและการตอบสนองต่อลูกค้าให้ได้อย่างลงตัวที่สุด
             การเป็นผู้ตามทางนวัตกรรม หมายถึง องค์กรที่มุ่งเข้าตลาดในภายหลัง โดยอาศัยแบบอย่าง (หรือการเรียนรู้) จากประสบการณ์ทางเทคโนโลยีผู้นำ ซึ่งจะต้องเน้นความสามารถด้านการวิเคราะห์คู่แข่งและในขณะเดียวกันต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการทำวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) เช่น การทดสอบ  การประเมินค่า และการถอดชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงหลักการทำงาน วิธีการสร้าง และสาเหตุของความน่าสนใจในสายตาของลูกค้า เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการการผลิตของตนเองได้

             ดังนั้นสรุปได้ว่า แม้นวัตกรรมที่มาจากความคิดสร้างสรรค์จะสร้างจุดแข็งที่เป็นข้อได้เปรียบในตลาดได้อย่างดี แต่ถ้าหากนวัตกรรมนั้นใช้งบประมาณในการวิจัยพัฒนามาก และใช้เวลาในการทดสอบตลาด บางทีผู้ตามอาจจะได้เปรียบก็เป็นได้ สุดท้ายขึ้นอยู่กับศิลปะว่าจะเป็นผู้นำหรือผู้ตามต่างหาก

หมายเลขบันทึก: 651978เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2018 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2018 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท