งานพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน_๐๓ : การวัดผลประเมินผลการศึกษา เรียนรู้จาก รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม


ช่วงที่ ๒ ของหลักสูตรพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร วัดผลประเมินผลและออกข้อสอบ เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้รับความร่วมมือ (อย่างยิ่ง) จากรองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ในหัวเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑  "รูปแบบการเรียนการสอน ในศตวรรษที่ 21"

ผมขอถอดบทเรียนไว้ในบันทึกนี้ เพื่อให้อาจารย์ที่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรมได้นำไปศึกษาด้วยตนเองต่อไป

  • กระบวนทัศน์ในการจัดการเรียนการสอนกำลังเปลี่ยนไป จากเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student Center) ไปเป็น เน้นทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills) เป็นสำคัญ 
  • แต่เดิม แม้จะบอกว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่จริงๆ แล้วมักมองว่า ผู้สอนสำคัญยิ่งกว่า เพราะผู้สอนเป็นนักออกแบบการเรียนการสอน และเป็นนักประเมิน  และในคำอธิบายรายวิชาหรือเป้าหมายในการเรียนรู้ ส่วนใหญ่มักเน้นไปที่ความรู้ (Knowledge, K) เป็นหลัก ทำให้การสอนเป็นลักษณะของการถ่ายทอด (ยัดเยี้ยด) ความรู้ให้เยอะๆ  (เมื่อความรู้เพิ่มมากขึ้น จึงเกิดปัญหาสอนไม่ทัน)
  • แต่การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ นั้น ต้องมองว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร ทำอะไรได้ ไม่ใช่อาจารย์สอนอะไร  
  • ถ้าข้อสอบของเราเป็นการวัดความรู้ความจำ แสดงว่า เราสอนแบบป้อนความรู้เป็นอย่างไร 
  • ในด้านการเรียนการสอน มีคำสำคัญ ๒ คำคือ การเรียน กับ การสอน  ในยุคนี้ อาจารย์อย่านึกว่า ผู้เรียนได้เรียนเมื่ออาจารย์สอนอย่างเดียว  เพราะวิธีการการเรียนรู้ของผู้เรียนเปลี่ยนไปมาก 
  •  วิธีการสอนจะเปลี่ยนไป  การสอนแบบป้อนอาจต้องน้อยลง 
  • ในระบบของ สกอ. ปัจจุบัน สัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ  มคอ.๒ ว่าเรื่องการศึกษาของหลักสูตร มคอ.๓ เตรียมว่าจะจัดการเรียนรู้อย่างไร (ให้อาจารย์ทำ) มคอ.๕. บอกว่าผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง ผลเป็นอย่างไร มคอ.๗. ตอบว่าผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างไร  
  • ช่องทางการเรียนรู้และการเกิดองค์ความรู้เปลี่ยนไป ผู้เรียนเรียนจากหลากหลายช่องทาง  ไม่ใช่จากผู้สอนเพียงอย่างเดียวแล้ว 
  • อินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things)  ทำให้กระบวนการเรียนรู้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง 
  • SEMEO ได้ประกาศคุณสมบัติของครู ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑  บอกว่า  ครูของทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะต้องมีสมรรถนะคือ 
    • รู้เนื้อหาที่ตนเองสอน 
    • มีทักษะในการวิเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน  พัฒนาการสอนของตนเองให้ดีขึ้นทุกวัน
    • ครูจะต้องเป็นหุ้นส่วนกับชุมชน 
    • ครูจะต้องเป็นผู้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
  • หากอาจารย์รู้และเข้าใจหลัก CIA จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้ตลอดชีวิต 
  • C คือ Curriculum  คือหลักสูตร  I คือ Instruction คือ  การสอน และ A คือ Assessment คือ การวัดและประเมินผล 
  • หลักสูตร คือ สิ่งที่คาดหวัง +โครงสร้างรายวิชา + เนื้อหา + กิจกรรมการเรียนรู้ + เวลา 
  • การสอน ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ก็มีหลากหลาย  Project-based Learning, Problem-based Learning ฯลฯ 
  • เทคนิคการสอนก่อนเรียนอย่างหนึ่ง คือ การนำเอาสื่อสังคมออลไนล์มาใช้บูรณาการกับการเรียนการสอน 
  • การวัดผลประเมินผล  สามารถทำได้หลากหลายวิธี  วิธีที่ง่ายและใช้ได้ผลดีคือ การตั้งคำถาม  แต่ต้องระวังไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกไม่เท่าเทียม  ควรใช้วิธีการสุ่ม 

  • การสอน ในศตวรรษที่ ๒๑  อาจารยผู้สอนจำเป็นต้องมี PCK คือ 
    • Pedagogy ทักษะด้านการออกแบบการเรียนการสอน 
    • Content เนื้อหาที่จำเป็น 
    • Knowledge องค์ความรู้ 
  • แน่นอนว่า อาจารย์ทุกท่าน ต้องรู้ว่า อะไรคือ ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เพราะ เป็นเป้าหมายของการเรียนรู้ที่อาจารย์ต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียน 
  • ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มี course online
  • ผู้เรียนเปลี่ยนไป  ผู้เรียนยุคใหม่ออไลน์ตลอด
  • ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่  4R-4H-8C  ดังสไลด์  
  • ความรู้เพิ่ม ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนเปลี่ยนไป
  • เราไม่ควรตั้งคำถามว่า "เราจะสอนอย่างไร"  แต่เราควรตั้งคำถามว่า "เด็กเรียนรู้อย่างไร"  
  • ธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละสาขาไม่เหมือนกัน  เราต้องเรียนรู้ธรรมชาติของผู้เรียนก่อน 
  • เมื่อรู้ผู้เรียนแล้วค่อยมาออกแบบด้วย PCK โดยใช้หลัก OBE  ที่กล่าวไปแล้ว
  • ธรรมชาติของผู้เรียนยุคใหม่ จะ 
    • ชอบอะไรที่เร็วๆ ชัด สั่งงานมาเลย ให้ทำอะไรก็ได้ มีงานให้ มีงานส่ง อาจารย์ไม่ต้องพูดมาก บอกมาเลย  อาจารย์จะเก็บคะแนนอย่างไรก็ได้ ขอให้เร็วๆ  
    • ทำงานตรงไหนก็ได้ ขอให้มีอินเตอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์   ดังนั้น เราจะไม่สามารถไปยึดโทรศัพท์ได้  ทุกที่ ทุกเวลา
    • มีความเป็นตัวของตัวเองสูง  เราจะยุ่งจัดการกับชีวิตของทุกเรื่องไม่ได้ 
    • ในขณะเดียวกัน เขาก็มีความเป็นสาธารณะสูง ทุกคนมีหน้าเฟสบุ๊คเป็นของตนเอง  และนำเสนอสิ่งที่ตนเองทำต่อสาธารณะตลอด  ชอบแช็ท 
    • พวกเขาจะทักมาไม่เลือกเวลา  อาจารย์ต้องเข้าใจ  แค่เพียงตอบไปบ้าง 
    • ชอบแชร์ในสิ่งที่ตนเองสนใจ 
    • ชอบซื้อของทางอินเตอร์เน็ต  หลายคนเป็นผู้ขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต 
    • ผู้เรียนส่วนใหญ่ มักไม่ได้กินข้าวเช้า ดังนั้น เวลาสัก ๑๑ นาฬิกา มักเริ่มหิวแล้ว 
    • พวกเขาต้องการได้ช่องทางและโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคต 
    • ชอบนำเสนอ มีโลกส่วนตัว มีช่องส่วนตัว จะแอบแสดงความสามารถของตนเองทางยูทูปหรือเฟส 
    • เน้นความสะดวกสบาย อยากจะขับมอเตอร์ไซด์ไปทุกที่ที่เขาไปได้ 
  • ทฤษฎีการศึกษาที่นำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ คือ ทฤษฎีลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม 
  •  การออกแบบการเรียนรู้นั้น ให้ยึดหลัก OLE  (Objective -> Learning Activities->Evaluation)  เชื่อมโยงสอดคล้องกัน ดังสไลด์ด้านบน 
  • อาจารย์ควรจะเข้าใจและสามารถแยกความรู้ผู้เรียน ๓ อย่างออกจากกันได้ คือ  เนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้  เนื้อหาที่ควรรู้ และเนื้อหาที่รู้ไว้ก็ดี มีประโยชน์ 
  • โดยสรุป มคอ. ๒ คือหลักสูตร  มคอ.๓ คือการเรียนการสอน มคอ.๕ การประเมิน และ มคอ.๗ คือ การเรียนรู้ 
  • ผู้เรียนแต่ละคณะ สาขาวิชา จะมี Learning Style  แตกต่างกันด้วย  
  •  ลักษณะของบัณฑิตที่ต้องการ ระดับประเทศต้องการ คนเก่ง ดี มีสุข  ระดับมหาวิทยาลัย ต้องการ ผู้มีปัญญาที่เป็นอยู่เพื่อมหาชน ระดับคณะ (เช่น คณะศึกษาศาสตร์) คือ การเจริญงอกงาม  ดังนั้น หลักสูตร จะต้องเป็นหลักสูตรแบบ SMART Curriculum 
  • โดยสรุปแล้ว การจัดการเรียนการสอนนั้น อาจารย์สามารถเลือกวิธีการสอนอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสม  ไม่ผิดกติกาใดๆ  ขึ้นกับธรรมชาติของผู้เรียน 
  • แต่ในศตวรรษนี้ จะเน้นเด่น สำคัญๆ ดังนี้ 
    • Problem-based Learning  การเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน 
    • Project-based Learning การเรียนการสอนโดยใช้โครงการงาน เน้นที่กระบวนการทำโครงการ  ต้องไม่มองเพียงชิ้นงานหรือผลงานเท่านั้น
    • Inquiry-based Learning การเรียนการสอนแบบสืบเสาะ ซึ่งเริ่มจากความสนใจ  สืบค้นหาความรู้  ขยายความรู้ และสรุปความรู้ 
    • Creative-based Learning  การเรียนการสอนที่เน้นความสร้างสรรค์ 
    • Creative Problem Solving การเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
    • Service-based Learning การเรียนรู้ด้วยการบริการชุมชนหรือสังคม 

หมายเลขบันทึก: 649028เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2018 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2018 07:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ข้อสรุปเป็นประโยชน์มากครับผม ;)…

ภาพไม่ขึ้น ไม่ทราบสาเหตุ ขออภัยด้วยครับ

แก้ไขเรียบร้อยแล้วครับ ระบบมี bug เล็กน้อยครับ ต้องขอโทษอาจารย์ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท