อริยสัจ ๔ ตอนที่ ๒


          ...ถ้ารับทุกข์จะต้องละสมุทัยทันเสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์เกิดขั้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์หุ้มซ้อนอยู่ขั้นนอก สมุทัยอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจึงจะเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษาถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นดังเหมือนเปลอกหุ้มอยู่ก็ต้องอาศัยด้วย เพราะใเหตุนั้น การดับทุกข์ ต้องดับสมุทัยซั่งเป็นตัวเหตุเสียก่อนทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม

            ตัวทุกข์ที่ละเอียยดนั้นเป็นดวงกลม ๔ ชั้น หุ้มซ้อนอยู่ชั้นอกของสมุทัยในกลางขันธ์ ๕ ในพืดเดิมหรือในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ทุกข์ดวงนั้นยาย ๔ ชั้น คือ เป็นกายชั้น ๑, เนื้อหัวใจชั้น๑, ดวงจิต ชั้น ๑, ดวงวิญญาณ ชั้น ๑, คือทั้ง ๔ ชั้น ไม่ใช่อื่นไกล เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ นี้เอง

           ทุกข์ดวงละเอียดในกำเนิดนั้น ขยายเป็นส่วนขยายเบื้องปลายออกมาอีก ก็มาเกิดเป็นร่างกายใหญ่โต เจริญขขึ้น นับตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดามาแล้ว เป็นกายมนุษย์ ๔ ชั้น ก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นี้เอง ขยายเป็น กายชั้น ๑,เนื้อหัวใจ ชั้น ๑, ดวงจิต ชั้น๑, ดวงวิญญาณ ชั้น ๑, ตัวสมุทัยเบื้องต้นส่วนที่ละเอียดนั้น เป็นดวงกลมใส ๔ ชั้น หุ้มซ้อนอยู่ชั้นในของทุกข์ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม

            ดวงสมุทัยละเอียด ๔ ชั้นนั้น ขยายเป็นส่วนหยาบอย่างกลางออกมาอีก ก็มาเป็นกำเนิดปฏิสนธิ กำเนิพธาตุธรรมเดิมของกายทิพย์ ๔ ชั้น ๔ ชั้นนั้นไม่ใช่อื่นไกล คือ เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ นี้เองคือเห็นก็เป็นส่วนของกาย ชั้น ๑, จำ ก็เป็นสวนของเนื้อหัวใจ ชั้น ๑, คิด ก็เป็นส่วนของดวงจิตชั้น๑, รู้ก็เป็นส่วนของดวงวิญญาณ ชั้น ๑

            ดวงสมุทัยที่ละเอียด ๔ ชั้นนั้น ขยายเป็นส่วนหยาบเบื้อปลาายออกมาอีก ก็มาเกิดเป็นร่างกายใหญ่โตเจริญขึ้นนับแต่ปฏิสนธิ แล้วมาเป็นกายทิพย์ ๔ ชั้น ก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นี่เอง เห็นก็มาเป็นกาย ชั้น ๑ จำ ก็มาเป็นเนื้อหัวใจ ชั้น ๑ คิด ก็มาเป็นดวงจิต ชั้น ๑ รู้ ก็มาเป็นดวงวิญญาณชั้น ๑

           ส่วน รูป รส กล่ิน เสียง โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ๖ อย่างนี้ เป็นทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป ทิ้งไว้แต่ความยินดียินร้ายให้ปรากฎอยู่เท่านั้น

           ความอยากได้ อยากพ้น ที่เรียกว่า ดิ้นรนทะยายอยากนั้น เรียกว่า "ตัณหา" ความอยากได้วัตถุกามและกิเลสกามอันยังไม่ได้ และความหมกมุ่นอยู่ในวัตถุกามและกิเลสกามอันได้มาแล้ว จัดเป็น กามตัณหา ความอยากมี อยากเป็น และความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ จัดเป็น ภวตัณหา ความไม่อยากให้สิ่งที่ได้มาแล้วและสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ไม่อยากให้ละลายดับสูญหายไปเสีย จัดเป็น วิภวตัณหา

           ตัณหาทั้ง ๓ นี้ มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ เพราะเหตุนั้น สิ่งที่เป็นทิพย์ก็คือ รูป เสียง กล่ิน รส โผฎฐัพพะ ธรรมมารมณ์ เหล่านี้จึงเหต็มไปด้วยตัณหาและชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา

           ทุกข์ เมื่อเห็น จำ คิด รู้ ของทิพย์เป็นตัวตัณหาและเป็นตัวเหตุแล้ว เห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์ซึ่งเป็นตัวทุขกข์ ก็เป็นตัวผล เมื่อจะดับทุกข์ก้ต้องดับสมุทัยกายทิพย์ซึ่งซ้อนอยู่ชั้นในของดวงทุกข์ แล้วดวงทุกข์ซึ่งซ้อนอยู่ชั้นนอกดุจดังว่าเปลือกจึงจะดับตาม

          สมุทัย คือ กายทิพย์ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์คือกายมนุษย์ กายมนุษย์ เป็นผล

          นิโรธ คือ กายปฐมวิญญาณ เป็นเหตุให้เกิดกายทิพย์ กายทิพย์เป็นผล เมื่อกายปฐมวิญญาณซึ่งเป็นตัวเหตุดับ กายทิพย์ซึ่งเป็นตัวผล ก้ดับตามด้วยกายทิพย์ซึ่งเป็นตัวเหตุของทุกข์ดับกายมนุษย์ ซึ่งเป็นผล ก้ดับ

          มรรค เป็น กายธรรม เป็นเหตุเพ่งเผากายทั้ง ๔ ข้างต้น ให้ดับย้อนเข้าไปเป็นลำดับย คือ ดับกายที่ ๔ (กายมนุษย์) แล้ว กายที่ ๓ (กายทิพย์) ก็ดับตาม, กายที่ ๓ ดับแล้ว กายที่ ๒ (กายปฐมวิญญาณหยาบ ได้แก่ กายรูปพรหม) ก็ดับตามกัน, กายที่ ๒ ดับแล้ว กายที่ ๑ (กายปฐมวิญญาณละเอียด ได้แก่ กายอรูปพรหม) ก็ดับตาม เป็นเหตุให้เพ่งเผากายทั้ง ๓ ให้ดับในที่ ๓ สถาน คือ ฐานที่ ๑ เบื้องต้น

         กายธรรมเกิดขึ้นด้วยดวงกลมใสสะอาดของมรรค ซึ่งซ้อนอยู่กลางของนิโรธ ดวงกลมนั้นมีซ้อนกันอยู่ ๔ ชั้น คือ เป็นกายชั้น ๑ เนื้อหัวใจขั้น ๑ ดวงจิต ชั้น ๑ ดวงวิญญาณ ชั้น ๑ สำหรับเพ่งเผา (ทำลายล้าง) กายปฐมวิญญาณหยาบให้ดับสิ้นเชื้อเป็นนิโรธ ฐานที่ ๒ ท่ามกลาง กายธรรมแรกปฏิสนธิเป็นกำเนิดธาตุธรรมเดิมมา ก็เป็นเหตุทำลายล้างกายปฐมวิญญาณหยาบให้ดับสิ้นเชื้อเป็นนิโรธ เป็นลำดับเรื่อยม แล้วก็เจริญโตขชึ้นด้วยก้อนมรรคท้ง ๔ คือ กายก็เป็นมรรค เนื้อหัวใจก็เป็นมรรค ดวงจิตก็เป็นมรรค ดวงวิญญาณก็เป็นมรรค

         การที่รู้เห็นจริงว่า ทุกขสัจเป็นทุกข์จริง สมุทัยสัจเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง นิโรธสัจ ดับทุกข์ได้จริง มรรคสัจ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้จริง การรู้จิรงเห็นจริง (ในอริยสัจ ๔) เช่นนี้ มีชื่อเรียกว่า สัจจญาณ

         ทุกขสัจ เป็นของความกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์ สมุทัยจริง เป็นของควรละเสีย นิโรธสัจ เป็นของควรกระทำให้แจ้ง มรรคสัจ เป็นของควรทำให้ทวีมากขึ้น การกำหนดรู้ในอริยสัจ ๔ เช่นนี้ มีชื่อเรียกว่า กิจจญาณ

         ทุกขสัจ ก็ได้กำหนดรู้แล้วว่าเป็นทุกข์ สมุทัย ก็ได้ละเสียแล้ว นิโรธสัจ ก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรคสัจ ก็ได้เจริญทับทวีให้มากขึ้นแล้ว การทำแล้ว รู้แล้ว ในอริยสัจ ๔ เช่นนี้ มีชื่อเรียกว่า กตญาณ

          อริยสัจ ๔ นั้น มีปริวัฎรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ อริยสัจข้อหนึ่ง ๆก็มีปริวัฎรอบ ๓ คือ มี สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ เหมือนกันทั้ง ๔ อริยสัจ อริยสัจ ๔ สามหน จึงเป็น ๑๒ เรียกว่า ปริวัฎเวียนไปในสัจจะละ ๒ๆ จึงเป็นอาการ ๑๒ ดังนี้

         ทุกขสัจ กายมนุษย์เป็นผล     สมุทัยสัจ กายทิพย์เป็นเหตุ

         สมุทัยสัจ กายทิพย์เป็นผล     นิโรธสัจ กายปฐมวิญญาณเกิดเหตุ...

        "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 648908เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2018 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2018 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท