อินทรีย์ ๒๒


            พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้กล่าวถึง ธาตุละเอียดของอินทรีย์ ๒๒ ดังนี้

            อินทรีย์ ๒๒ ซ้อนอยู่ชั้นของธาตุ ๑๘ เข้าไปอีก ซ้อนกันตามลำดับของอินทรีย์ ตั้งแต่ชั้นที่ ๓๐ ถึงชั้นที่ ๕๑

           ๑) จักขุนทรีย์ เห็นเป็นใหญ่. ๒) โสตินทรีย์ ฟังเป็นใหญ่. ๓)ฆานินทรีย์ ดมกลิ่มเป็นใหญ่, ๔) ชิวหินทรีย์ ลิ้มรสเป็นใหญ่, ๕)กายินทรีย์ สัมผัสเป็นใหญ่ ทั้ง ๕ นี้ สีขาวกลมใสสะอาดบริสุทธิ์อยู่ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม, ๖) มนินทรีย์ ใจเป็นใหญ่ สีขาวกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ อยู่ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ๗) อิตถินทรีย์ สภาพหญิงเป็นใหญ่, ๘)ปุรริสินทรีย์ สภาพชายเป็นใหญ่ ทั้ง ๒ นี้ สีขาวกลมใสสะอาดบริสุทธ์นั้น ไหวกระดิกขยับถี่และแรงกว่าหญิง นาที่หนึ่งนับจำนวนไหวกระดิกขยับตั้ง ๑๐๐ ครั้งแรงๆ ส่วนหญิงกระดิกขยับนาที่หนึ่งราว ๕๐ ครั้ง ครึ่งหนึ่งของชาย และชยับค่อยๆ ไม่แรงเหมือนเพศชาย, ๙) ชิวิตินทรีย์ ความเป็นอยุ่เป็นใหญ่ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสบริสุทธฺ์สะอาดซ้อนอยู่ชั้นในของปุรินสินทรีย์เข้าไปตามลำดับชั้นของอินทรีย์ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม สำหรับรักษาสภาพอื่นๆ ในร่างกายทุกส่วนให้เป็นอยู่ ถ้าชีวติตดับ สภาพอื่นๆ ทุกส่วนในร่รางกายก็ดับตามกันหมด, ๑๐ สุขินทรีย์ ความสุขเป็นใหญ่ มีลักษระสัณฐานกลม ใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ชั้นในของชิวิตินทรีย์เข้าไปตามลำดับชั้นของอินทรีย์ในกลางชันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม, ๑๑) ทุกขินทรีย์ ความทุกข์เป็นใหญ่ มีลักษณะสัณฐานกลม ดำขุ่นมัวไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ชั้นในขอสุขินทรีย์เข้าไปตามลำดับชั้นของอินทรีย์ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม, ๑๒) โสมนัสสินทรีย์ ความมดีในเป็นใหญ่ มีลักษณะสัณฐากลม ใส สะอาด บริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ชั้นในของทุกขินทรีย์เข้าไปตามลำดับชั้นของอินทรย์ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม, ๑๓) โทมนัสสินทรีย์ ความเสียใจเป็นใหญ่ มีลักษณะสัณฐานกลม ดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ข้างในของโสมนัสสินทรีย์เข้าไปตามลำดับชั้นของอินทรีย์ ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม,๑๔) อุเปกขินทรีย์ ความวางเฉยเป็นหใญ่ มีลักษณะสัณฐานกลม สีเทา ใสบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ข้างในของโทมนัสสินทรีย์เข้าไปตามลำดับชั้นของอินทรีย์ ในกลางชันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม, ๑๕ สัทธินทรีย์ ควาามเชื่อเป็นใหญ่, ๑๖) วิริยินทรีย์ ความเพียรเป็นใหญ่, ๑๗ สตินทรีย์ ความระลึกเป็นใหญ่, ๑๗ สมาธินทรีย์ ความตั้งใจมั่นเป็นใหญ่ ทั้ง ๔ นี้ มีลักษณะสัณฐานอย่างเดียวกัน คือ กลม สีขาวใสสะอาด บริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ชั้นในของอุเปกขินทรีย์เข้าไปตามลำดับชั้นของอินทรีย์เข้าไป, ๑๙) ปัญญินทรีย์ ปัญญาเป็นใหญ่ มีลักษณะสัณฐานกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ มีรัศมีสุกสว่างดุจดั่งดาว ซ้อนอยู่ชั้นในสติทรีย์เข้าไปตามลำดับชั้นของอินทรีย์ ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม, ๒๐) อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์ อินทรีย์คือความเป็นใหญ่ในรู้สิ่งที่ยังไม่รู้ คือ อินทรีย์พระโสดาปัตติมรรค, ๒๑ อัญญินทรีย์ อินทรีย์คือความเป็นใหญ่ในความได้รู้ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค, ๒๒) อัญญาตาวินทรีย์ อินทรีย์คือความเป็นใหญ่ในผู้รู้แล้ว คือ อินทรีย์พระอรหัตตผล ทั้ง ๘ นี้ (คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล ใสกว่ากัน สุกสว่างกว่ากัน เขาไปตามลำดับ อยู่ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม"

         วิธีพิจารณาสภาวธรรม คือ สภาวะของกายในกาย (ซึ่งมีเวทนา จิต และธรรมซ้อนอยู่) ที่เป็นกายโลกิยะ ได้แก่ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายปฐมวิญญาณหยาบ และกายปฐมวิญญาณละเอียด ( ๔ กายเหล่านี้ก็คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด, กายอรุปพรหม กายอรุปพรหมละเอียด) และที่เป็นกายธรรม คือ ธรรมกาย ที่บรรลุมรรคผลนิพพานในระัดบต่างๆ ดังนี้

       (การพิจารณาพระไตรลักษณ์) "กาย ๔ เบื้องต้น คือ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายปฐมวิยญาณหยาบกายปฐมวิญญาณละเอียด เป็นกาย อนิจฺจํ  ทุกฺขํ อนตฺตา นอกจาก ๔ กายนี้ออกไป คือ ตั้งแต่กายธรรมถึงกายธรรมละเอียดๆๆๆ เข้าไปทุกๆ กายนั้น เป็น กาย นิจฺจํ สุขํ และอตฺตา แท้

       กายธรรมถึงกายอรหัต เป็นผุ้บอกว่า ๔ กายข้างต้น เป็นกาย อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา แล้วพิจารณาพระไตรลักษณ์ และธรรมที่ตรงกันข้ามกับพระไตรลักษณ์ คือ นิจฺจํ สุขํ และตฺตา สอดใส่ไปตามปรเภทของกายทุกกาย คือ ถ้ากายตกอยู่ในประเภท อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา คือ ๔ กายข้างต้นนั้น ก็พิจารษาเห็นไตรลักษณ์ ส่วนกายตกอยู่ในประเภทตรงกันข้าม คือ นิจฺจํ สุขํ อตฺตา คือ ตั้งแต่กายธรรมไป ก็พิจารณาตาม นิจฺจํ สุขํ อตฺตา"...

         "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

คำสำคัญ (Tags): #อินทรีย์ ๒๒
หมายเลขบันทึก: 648871เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2018 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2018 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท