สัญโญชน์


          สัญโญชน์ คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้ และเมื่อปฏิบัติตามอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทานแล้ว ก็เป็นทุกข์อาการของใจที่สัมพันธ์กับอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ จะเห็นมีตัวอย่างดังเช่น เมื่อรูปกระทบสายตาแล้ว จิตปรุงแต่ง(สังขาร) ว่าน่ารักน่าใคร่ "ใจ" (ดวงเห็น-จำ-คิด-ู้) ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดวงเดิม จะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานนี่ ๖ ถ่ายทอดกรรมเดิม แล้วปรุงเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพร้อมด้วย "ใจ" (ดวงเห็น-ตำ-คิด-รู้) ดวงใหม่ อันมีอกุศลเจตสิกธรรม คือ กามราคานะสัย (เครื่องหุ้มของดวงคิด) และอวิชชานุสัย (เครื่องหุ้มของดวงรู้) ซึ่งตั้งซ้อนอยู่ตรงกลางดวงสมุทัย คือ กามตัณหา และภาวตัณหา ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ กาม ราคานุสัยก็ฟุ้งขึ้น มาย้อมสีน้ำเลี้ยงของจิต (เห็นเป็นสีชมพูขุ่นๆ) ให้เกิดความกำหนัดยินดี ทั้งกิเลส คือ อวิชชานุสัย และตัณหาคือความทะยานอยาก ก็ดลจิตใจให้ยึดมั่นถือมั่นในสังขารธรรม ได้แก่ รูปารมณ์ที่น่ายินดีพอใจนั้น และให้ปฏิบติตามอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ด้วยตัณหา คือความทะยานอยากได้ไว้ในครอบครอง อยากเสพพัสดุกามนั้น) จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้าได้สมใจหวัง ก็ "เสวยสุขเวทนามีอามิส" เมื่อต้องพลัดพรากจากกันไปก็ดี หรือถ้าไม่ได้ดั่งใจหวังก็ "เสวยทุกขเวทนามีอามิส" 

           ความเสวยสุข หรือ ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ดังกล่าวนี้ เป็นสภาพไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์(ทุกข์) เพราะแปรปรวนไป (วิปริณามธมฺมํ) และมิใช่ตัวตน บุคคล เราเขา ของเรา ของเขา ที่แท้จริง (อนตฺตา) ของใครผุ้ใดเลย ผุ้ยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาาแและทิฎฐิจึงเป้นทุกข์ไปตลอด พระอริยเจ้าผุ้ได้เรียรูได้เห็นธรรมคือความเกิขึ้นและเสื่อมไปของสังขารธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา ก็เบื่อหน่ายในทุกข์ และคลายถอนจากตัณหา อุปาทาน ถึงซึ่งความสุขด้วยความสงบ เพราะพ้นทุกข์

          ความเจริญภาวนาพิจารณาเห็นจักขวายตนะ จักขุธาตุ จักขุวิญญาณธาตุและรูปธาตุ ว่าทำหน้าที่เีก่ยวข้องสัมพันะ์กันอย่างไร และเป็นที่เกิดที่ดับของสัญโญชน์อยา่งไร การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ การพิจารณาเห็นอายตนะและธาตุอื่นๆ ก็ทำหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันะ์กันอย่างนั้น และเป็นที่เกิด ที่ดับของสัญโญชน์ ก็อย่างนั้น จะต่างกันบ้างก็แต่ลักษณะสัณฐานของอายตนะและธาตุต่างๆ เท่านั้น ซึ่งหลวงพ่อัดปากน้ำทานได้แสดงไว้ดีแล้ว จึงจะไม่กล่าวซ้ำอีก ขอผุ้ปฏิบัติภาวนาธรรมจงพิจาราดูเองเถิด

          นี้คือ การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เป็นทั้งภายใน และ ภายนอก ชื่อว่า "ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน" 

          ส่วนการเห็นลักษณะของใจตนเองที่เป็นสุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ โดยเห็นดวงใจใสหรือขุ่น หรือปานกลางนั้น เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายในแต่ถ้าเห็นเวทนาของผุ้อื่น ก็เรียกว่ เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอกซึ่งเป็นลักณะของการเจิรญ "เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน" 

         อนึ่ง อาการที่จิตฟุ้งซ่านออกไปรับอารมร์ภายนอกมาเพียงใด ก็จะเห็นจิต คือ "ดวงคิด" ลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงของใจมากขึ้นเพียงนั้น ซึ่งนี้ก็คือการมีสติพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สงบเป็นสมาธิ หรือ ฟุ้งซ่าน อีกด้วย

        ส่วนการเห็นสภาวะของจิตของตนเองว่าระคนด้วยกิเลส โดยเห็นสีน้ำเลี้ยงของจิตที่เปลี่ยนไปตามสภาวะของกิเลสที่เข้ามผสมก็ดี หรือเห็นว่าจิตไม่ฟุ้งซ่าน หรือสงบ โดยเห็นอาการลอยของจิตในเบาะน้ำเลี้ยงของใจใ ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก็ดี เรียกว่ เห็นจิตในจิต เป็นภายใน และถ้าเป็นสภาวะของจิตผุ้อื่นในทำนองเดียวกัน ก็เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษระของการเจิรญ "จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน"

       เมื่อผุ้ปฏิบัติภาวนาธรรมพิจารากเห็นสัญโญชน์เกิดขึ้น ณ ที่ใด และโดยประการใด พึงละสัญโญชน์ ณ ที่นั้น โดยประการดังต่อไปนี้

        ๑) พึงมีศีลสังวร คือ ความสำรวมระวังในศีลให้บริสุทธิ์ อยุ่เสมอ

        ๒) พึงมีอินทรีย์สังวร คือ ค วามสำรวมอายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อกระทบกบอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กล่ิ รส โผฎฐัพพะ (สิ่งสัมผัสทางกาย) และธรรมารมณ์ที่จิตปรุงแต่ง (สังขาร) เป็นอิฎฐารมณ์หรืออนิฎฐารมณื ก็ระวังมิให้หลงเคลิบเคลิ้ม กำหนัดยินดีในอารมณืที่น่ารัก และมิให้หลงเดียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก

        ๓) พึงเจิรญสมถวิปัสสนา เมื่อายตนะภายนอกมากระทบกับอายตนะภายในก็รวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่สุดละเอียด อยู่เสมอ

         สำหรับผุ้ถึงธรรมกาย ก็รวมใจของทุกกายอยู่ ณ สุนย์ฺกลางธรรมกายอรหัตในอรหัตที่สุดละเอียด อยู่เสมอ

         เมื่อจิตไม่สังขาร คือไม่ปรุงแต่งสัญโญชน์ก็ไม่เกิด ที่เกิดแล้วก็ดับไปจิตใจก็จะสงบระงับจากิเลสนิวรณื และ้วพิจารณาสภาวะของสังขารธรรมดังกล่าว คือ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม (อันมีอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๓ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ เป็นต้น) ให้เห็นแจ้งรู้แจ้งตามะรรมชาติที่เป็นจริง กล่าวคือ เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขาร/สังขตธรม ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง หรือ เห็นสามัญญลักษณะของสังขาร/สังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวง ว่าเป็นอนิจฺจํ ทุก์ขํ อนตฺตา ก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ และเป็นทางให้คลายตัณหา อุปาทาน และความกำหนัด จิตก็ย่อมหลุดพ้น บริสุทธิ์ผ่องใส สงบ และถึง มรรคผลนิพพานตารระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้..

        "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

           

คำสำคัญ (Tags): #สัญโญชน์
หมายเลขบันทึก: 648767เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2018 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2018 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท