อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘


          "..ภิกษุทังหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า

          ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสัญโญชน์ อนึ่ง สัญโญชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สัญโญชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยสัญโญชน์ที่ละได้แลว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย 

         ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง..

         ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น..

         ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส..

         ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักส่ิงที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย..

         ภิกษุย่อมรู้จักใจ รุ้จักะรรมมารมณ์ และรู้จักธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้นอันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสัญโญชน์ อนึ่ง สัญโญชน์ที่ยั่งไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สัญโญชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสยได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สัญโญชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้

        ภิกษุย่อมพิจารษาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่่า "ธรรมมีอยู่" ก็เพียงแต่สักว่ารู้ สักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิไม่อาศัยอยู่แ้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก 

        ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือภายตนะภายนอก ๖ อยู่"

        วิธีพิจาตณาเห็นธาตุละเอียดของอายจรนะ ๑๒ และ ธาตุ ๑๘ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับ "ใจ" 

        ผู้ปฏิบัติได้ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน หรือถึงกายในกายที่ละเอียดๆ ก็พึงน้อมใจตาม และจะสามารถเห็นได้พอสมควร

        สำหรับท่านที่ถงธรรมกายแล้ว ก็ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอยียดที่สุด เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน ๔) โดยอนุโลมและปฎิโลม ให้ใจสงัดจากกิเลสนิวรณ์ดีแล้ว ก็ให้ใจของพระธรรมกายเพ่งลงไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนษย์ ก็จะเห็นขันธ์ ๕ ส่วนละเอียดคือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขชันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้รวมเรียกว่า ขันธโลก ซึ่งขยายส่วนหยาบออามาเป็นดวงกาย ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ และเจริญเติบโตออกมาเป็น กาย ดวงจิต และดวงวิญญาณ ซึงรวมเรียกว่า สัตวโลก

         ที่นี้ ให้เพ่งลงไปที่กลางวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ ๕ ส่วนที่ละเอียดที่สุด ก้จะเห็นธาตุธรรมส่วนละเอียดของอายจนะทั้ง ๑๒ ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างในอีก คือ

         จักขวานยตนะ อายตนะคือตา, โสตายตนะ อายตนะคือหู, ฆานายตนะ อายตนะคือจมูก, ชิวหายตนะ อายตนะคือลิ้น, กายายตนะ อายตนะคือกาย และ มนายตนะ อายตนะคือใจ นี้เป็นเป็นธรรมธรรมละเอียดของอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สฬายตนะ"

        กลางอายตนะภายใน ๖ ก็ยังมีะาตุธรรมละเอียดที่ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกอีก ๖ คือ รูปายตนะ อายตนะ ที่เป็นรูป สี สัณฐาน, สัททายตนะ อายตนะ ที่เป็นเสียง, คันธายจตนะ อายตนะ ที่เป็นกลิ่น, รสายตนะ อายตนะที่เป็นรส, โผฎฐัพพายตนะ อายตนะทีเ่ป็นเครื่องสัมผัสทางกาย และ ธัมมายตนะ อายตนะที่เป็นอารมณ์ทางใจ

       รวมเป็นอายตนะ ๑๒ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ทวาทสายตะ" ธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ มีลักาณะสัณฐานเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ใสละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ

       ดวงกลางอายตนะ ๑๒ ที่ละเอียดที่สุดนี้เอง ยังมีธาตุธรรมละเอียดของธราตุทั้ง ๑๘ ซ้อนอยู่กัน เป็นดวงกลมใสละเอียดเข้าไปข้างในอีกเหมือนกัน คือ 

       จักขุธาตุ คือธาตุเห็น หรือธาตุรับรูป, โสตธาตุ คือธาตุได้ยิน หรือธาตุรับเสียงฆานธาตุ คือธาตุได้เกล่ิน หรือธาตุรับกลิ่น, ชิวหาธาตุ คือธาตุรับรส, กายธาติคือธาตุรับสิ่งสัมผัสทางกาย และ มโนธาตุ คือธาตุสำหรับรับอารมณ์ทางใจ เหล่านี้รวมเรียกว่า ธาตุรับ ๖

        แล้วต่อไปก็จะเป้นธาตุกระทบอีก ๖ ได้แก่ รูปะาตุ คือธาตุของรูป สี สัฒฐาน สัททธาตุ คือธาตุของเสียง, คันธธาตุ คือธาตุของกลิ่น, รสธาตุ คือธาตุของรส, โผฎฐัพพธาตุ คือธาตุอันเป็นสิ่งสัมผัสทางกาย, ธัมมาธาตุ คือธาตุอารมณ์ทางใจและกลางของกลางต่อไปก็เป็นธาตุรับรู้อีก ๖ ได้แก่ จักขุวัญญิาณธาตุ คือ ธาตุรับรู้หรือเห็น รูป สี และสัณฐาน, โสตวิญญาณธาตุ คือธาตุรับรู้หรือได้ยินเสียง, ฆานวิญญาณธาตุ คือะาตุรับรู้หรือได้กล่ิน, ขิวหาบวิญญาณธาตุ คือธาตุรับรู้หรือได้รับรส, กายวิญญาณธาตุ คือะาตุรับรู้การสัมผัส และมโนวิญญาณธาตุ คือะาตุรับรู้ธรรมมารณ์

       เราจะเห็นว่า ธาตุธรรมส่วนละเอียดของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗ ทั้งหลายเหล่านี้ เป้นดวงกลมใส ดวงเล็กๆ ขนาดประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาอันติดอยุ่ที่ปลายขนจามรี ที่มัชฌิมบุรุษได้สลัดเสียแล้วเจ็ดครั้ง ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างไป ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นเอง ใสละเอียดย่ิงกว่ากันเข้าไปตามลำดับ และนอกจากนี้ ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ยังมีดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง ซึ่งสามารถจะเห็นไดด้วยฌานของพระธรรมกาย

        เพราะเหตุนี้ ธาตุธรรมละเอียดทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะทำหน้าที่ต่างๆ กันแต่ก็เกี่ยวเนื่องสัมพันะ์กันอยางใกล้ชิดและเป็นอัตโนมัติที่เดียว ฉะนั้น เมื่อมีอะไรมากระทบ ก็จะกระเทือนไปถึง "ใจ" อันประกอบด้วย "ดวงเห็น" (เห็นด้วยใจเพราะธาตุเห็นอยู่ตรงศูนย์กลางดวงนี้) ซึงทำหน้าที่รับอารมณ์, "ดวงจำ" ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมหรือจดจำอารมณ์, "ดวงคิด" ซึ่งทำหน้าที่น้อมไปหาอารมณ์ และ "ดวงรู้" ซึ่งทำทหน้าที่รู้ หรือรับรู้อารมร์โดยอัตโนมัติ หรือ เมแ้แต่จิตคิดฟุ้งซ่านไปจรดหรือไปยึดเกาะอารมร์ใด ก็จะเป้นไปทั้ง ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรุ้ และทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องถึงกันหมดทั้งกายและใจ...

       "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย" 

หมายเลขบันทึก: 648655เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2018 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2018 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท