อุปทานขันธ์ ตอนที่ ๒


           ...เทศนาเนื่องกับตอนที่แล้ว แสดงเรื่องปัญจขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

           เราทั้งหมด้วยกันนี้ มี รูป เวทนา  สัญญา สังขาร วิญญาณ กันทั้งนั้น คำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตัวตนเรานี้และ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อะบาสิกา นี้แหละ มีอยู่ ๕ เท่านั้นแหละ รูป ๑ นาม ๔ รูป ๑ คือ มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประชุมเป็นร่างกายนี้ นี่เรียกวารูปขันธ์ เวทนา ก็เวทนา ความรับอารมร์ ความรู้ อารมณืเวทนา แปละว่า ความรู้อารมณ์ หรือรับอารมณ์ สุข ทุกข์ ไม่สุกไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เรียกว่า เวทนา สัญญา ความจำรูป จำเสียนง จำกลิ่น จำรส จำสัมผัส ที่เราาจำหมดทุกคน นี่แหละเรียกว่า สัญญา สังขาร ความคิดี คิดชั่ว คิดไม่ดีคิดไม่ชั่ว วิญญาณ ความรู้แจ้งทางใจทวารทั้ง ๖ รู้แจ้งทางตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๕ ประการนี้เรียกวา เบญจขันธ์ทั้ง ๕

          เบญจขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เกิดกำเนิดของมันหลายประการ กำเนิดของมันเกิด ๔ เบญจขันธ์ทั้ง ๕ นี ที่จะแสดงวันนี้ กำเนิดเกิดขึ้น ๔ เกิดเป็น

          อัณฑชะ เกิดเป็นฟองไข่ เกิดเป็นไข่ ครั้งหนึ่ง ฟังเป็นตัวครั้งหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า ทวิชาติ

          สังเสทชะ เกิดด้วยเหงือไคล เรือด ไร เหา เล็น พวกนี้เกิดด้วยเหงื่อไคล มนุษย์เรา อย่างเช่น ลูกของนางปทุมาวดีคลอดบุตรมาคนหนึ่งแล้ว ส่วนสัมภาวมลทินของครรภ์นั้นที่ออกมากับลูกนั้น ก็เป็นเลือดออกมาเท่าๆรๆๆ ก็เป็นลูกทั้งสิ้น รวม ๔๙๙ คน เป็น ๕๐๐ คนรวมกับที่เกิดออกมาคนแรกนั่นเรียกว่า สังเสทชะ 

           ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ มนุษย์เกิดด้วยน้ำ สัตว์ต่างๆ ที่เกิดด้วยน้ำมีมาก

           อุปปาติกะ ลอยบังเกิดขึ้น ไม่มีพ่อมีแม่ เหมื่อนนางอัมพปาลีเกิดที่ค่าคบมะม่วง โมคณสาทิกพราหมณ์เกิดในดอกบัว ไม่ต้องอาศัยท้อง ลอยบังเกิดขึ้น เกิดขึ้นเป็นตัวเฉยๆ กายเทวดา กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นอุปปาติกะ ทั้งนั้น กายสัตว์นรกเป็นอุปปาติกะทั้งนั้น เปรตเป็นอุปาติกะทั้งนั้น อรุสรกายเป็นอุปปาติกะทั้งนี้

           กำเนิดทัง ๔ นี่แหละ ล้วนแล้วด้วยขันธ์ ๕ เกิดในมนุษย์หมดทั้งกามภพ เกิดในเทวดา  ๖ ชั้น เกิดในรูปพรหม เกิดในอรูปพรหม ต่างอยุ่อีกพวกหนึ่ง คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ชั้นเบื้องบนสูงขุึ้นไป เกิดแล้วก็สัญญาละเอียดเต็มที่ รุ้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ ไปเ้กิดในชั้นนั้นได้รับความสุข ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ๘๔,๐๐๐ กัปมหากับ ๘๔,๐๐๐ มหากัป อยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั่น อ้ายนั่นก็แปลก ไม่นับเข้าในพวกวิญญาณฐิติ แต่ยังอยู่ในสัตตาวาส ๙ นั่นพวกหนึ่งเกิดแปลก

          อีกพวกหนึ่งเกิดแปลก ในชั้นพรหมที่ ๑๑ อสัญญีสัตว์ เบื่อนามติดรูป อ้ายนี่เบื่อนามติดรูป เบื่อว่าอ้ายความรู้แหละ มันได้รับทุกข์ร้อนลำบากนัก พอได้จตุตถภฌานแล้ว ปล่อยรู้เสีย นั่งหัวโด่อยู่นั่น ปล่อยรู้เสีย เป็นมนุษย์ก็นั่งหัวโด่ ไปเขย่าตัวก็ไม่รู้เรื่องกัน นานๆ  แล้วรู้เสียที่หนึ่ง ฌานนั้นแหละไม่เสื่อม แตกกายทำลายขันธ์  เบื่อนามติดรูป ไปเกิดในชั้น พรหมที่ ๑๑ ไปนอนออึดอยู่ ที่เขาเรียกว่า พรหมลูกฟัก ก็เรียก ถ้าว่า น่งตาย ก็ไปนั่งโด่อยุ่นั่น ๕๐๐ มหากัป ไม่ครบ ๕๐๐ มหากัปมาไม่ได้ ติดคุกรูปพรหมแท้ๆ ไม่ได้เป็นไรเลย สุขทุกข์ไม่เอาเรื่องกัน นอนอยู่นั่นแหละ ไม่รู้เนื้อรู้ตัวกันละ พระพุทธเจ้ามาตรัสสักกีร้อยองุค์ก็ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ติดอยู่นั่น ๕๐๐ มหากัปอยู่นั่น นี่เรียกว่่า พวกเบญจขันธ์ทั้งนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 

          ถ้าจะกล่าวถึงเบญจขันธ์ ๕ ละก็ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ กวางขวาวงออกไป กำเนิด ๔ ดังกล่าวแล้ว วิญญาณฐิติ ๗ นี่น นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญี กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์นี่ กายต่างกัน สัญญาต่างกนไม่เหมือนกันสักคนเดียว สัญญาก็ต่างกัน จำก็ไม่เหมือนกัน

          นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญี นานตฺตกายา เอกตฺตสญฺญี เอกตฺตกายา นานตฺตสญฺญี เอกตฮตกายา เอกตฺตสฺญี

           รูปพรหมอีกเหมือนกัน อรูปพรหม ๓ ชั้นข้างบนโน้น สมทบเข้าด้วย รวมเป็น วิญญาณฐิติ ๗ เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ และอสัญญีสัตว์เสีย นอกจากนั้นอยู่ในวิญญาณฐิติทั้งนั้น นั่นเรียกว่า วิญญาณฐิติ ๗ ทั้งนั้น รวมเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาด้วย อสัญญีสัตว์เข้ามาด้วยเป็น นวสัตตาวาส ๙ นี่ที่ไปเกิดมาเกิดของสัตว์โลกทั้นั้น...

            ที่นี่จะแสดงใกล้เข้ามา ขันธ์ ๕ นี่แหละ มีเกิดดับ ๒ อย่าง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป มี ๒ อย่างเท่านี้แหละ จะแก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ มีเกิดแล้วก็มีดับ ถ้าจะรู้เรื่องเกิดเรื่องดับเหล่านี้ วิชชาวัดปากน้ำม่ เข้เรียนวิชชาธรรมกาย พอมีธรรมกายก็เห็นเกิดดับที่เดียว เห็นมนุษย์หมดทั้งสากลโลก

            ถ้าจะดูละก็ เห็นเกิดดับ มี อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ อย่างนี้แหละที่เกิดดับเหล่านี้นะ่ เพราะอะไรให้เกิดดับ เพราะธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ธรรมที่ทำให้เป็นกายสัตว์ต่างๆ ด้วยนั้นแหละ

            ถ้าตั้งอยู่ละก็ปรากฎอยู่ ดวงนั้นดับไปมนุษย์ก็ดับไป เกิดดับนั้นแหละดวงนั้นแหละ ดวงธรรมทีทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นแหละ ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ปรากฎอยู่ ถ้าดวงนั้นดับไป กายมนุษย์ก็ดับไป มันมีเกิดดับเพราะธรรมดวงนั้น เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายที่เกิดดับเท่านั้น พูดถึงธรรมที่มีกิดดับเท่านั้น ส่วนขันธ์ทั้ง ๕ นี่ เกิดดดับเพราะมันอาศัยธรรมต่างหากล่ะ ธรรมดวงนั้นแหละเป็นสำคัญ เกิดดับทั้งนั้น ไม่เหลือเลย เกิดดับๆๆ อยุ่อย่างนี้ อุปฺปชฺชนฺติ  นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้

           เมื่อรู้จักเกิดดับอย่างนี้ เราจะทำอย่างไร ถ้าไม่ฉลาด เกิดดับนั่นมันสำคัญนัก ถ้าเกิดขึ้น มันอยุ่ในคุณสมบัติผู้ดีที่งดงาม ที่รุ่งโรจน์.. ถ้าเกิดในที่เช่นนั่นก็พอสบาย ถ้าดับไปมันจะไปเกิดในที่เลวทรามต่ำช้า เป็นอย่างไร มันจะเกิดในที่เลวทราม ถ้าเกิดในที่เลวทรามใครๆ ก็ไม่ชอบ

          เหตุนี้เราต้องประกอบความดีไว้เป็นเบื้องหน้า ตำรับตำราได้ยืนยันไว้ดังนี้ ..เพราะว่าเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว หาเป็นอย่างนันไม่ แปรไปเสียอีก เพราะมไ่เที่ยง แปรไปอย่างนั้นอีก ไม่เที่ยง เพราะสภาพมีความยักเยื้องแปรผันอยู่เป็นธรรมดา แก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้

           ท่านยืนยันเป็นตำรับตำราว่าเห็นจริงตามสังขารทั้งหลาย สังขารทั้งหลายจะเป็นบุญหรือเป็นปาบ หรือจะไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปก็ตาม 

           เบญจขันธ์ ๕ น่ะ อ้ายที่เกิดของมันน่ะ อ้ายที่เกิดเวลาใด ปรุงให้เกิดขึ้นเวลาใด ก็เป็นสังขารเวลานั้น ที่เรียกว่าสังขารน่ะปรุงให้เกิด ปรุงให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นอัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ ๔ กำเนิด นี่เรียกว่าสังขารทั้งนั้น ปรุงให้เป็นมีเป็นขึ้น

           สังขารทั้งหลายเหล่านี่แหละ ถ้าเห็นตามปัญญา หมดทั้งสากลโลกไม่เที่ยงเสียเลย เห็นว่าไม่เที่ยง เมื่อใดเห็นว่าไม่เที่ยง ก็เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ว่าเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี เอาที่จบที่แล้วไม่ได้

           เมื่อเห็นเช่นนี้นแล้ว จิตมันก็ปล่อยหมด ความยึดมีั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕  มันก็ปล่อย ไม่ห่วงไม่ใใย ไม่อาลัย เพราะเห็นจริงตามจริงเสียเช่นนั้น อ้ายเห็นจริงตามจริงเช่นนั้น อ้ายทางนั้นจำเอาไว้ จำเป็นรอยใจตเอาไว้ อย่าให้ลบเชียว นึกไว้ร่ำไป ค่ำมืดดึกดื่นเที่ยงคืออย่างไร นึกไว้ร่ำไป นึกถึงความเกิดดับเหล่านั้น ก็เบื่อหน่ายจากทุกข์ อ้ายที่เบื่อหน่ายจากทุกข์นั่นแหละ จิตบริสุทธิ์ ใจอยู่ในความบริสุทธิ์ท่เบื่อหน่ายจากทุกข์นั่น ที่เบื่อหน่ายอยู่ในทุกข์นั่นแหละ ทุกข์คือความเกิด ความแก่ ความตายเหล่านนี้ เบื่อหน่าย ใจก็ว่างจากความยึดถือในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์

          เมื่อรู้จักหลักจริงดังนี้แล้ว สภาพอันไม่เที่ยงนันแหละที่ยักเยื้องแปรผันไปนี่นแหละเป็นทุกข์ ชื่อว่าเป็นทุกข์แท้ๆ เพราะเหตุใด เพราะว่าเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป บีบคั้นอยู่อย่างเดียว  บีบคั้นให้สัตว์เดือดร้อนอยู่ด้วย ชาติ ทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ ทุกข์ทั้งนั้นบีบคั้นให้เดือดร้อนอยู่รำไปที่เดียว

         เมื่อบิบคั้นให้เดือดร้อนอยู่อย่างนี้  เรพาะวาสภาพเหล่านั้นๆ เป็นของทนได้ยาก เป็นของเดือดร้อน เป็นของเร่าร้อน เป็นของทุรนทุราย เป็นของไม่สบาย ท่านถึงยืนยันว่า

          เมื่อใดเห็นตามความจริงว่า ความเกิดนั่นแหละเป็นทุกข์ไม่ใช่เป็นสุข เมื่อรู้ว่าความเกิดนั้นเป็นทุกข์แล้วเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ เบื่อหน่ายใทุกข์แล้ว ไม่อยากได้ในเบญจขันธ์เหล่านั้น ปล่อยเบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นแหละ ได้ชื่อว่าเป็นหนทางหมดจดวิเศษ ปล่อยเสียไม่ยึถือ สบายด้วย หน้าที่เราปล่อยเสียได้นะ.. ไม่เอาธุระเสีย เอาธุระแต่ความบริสุทธิ์ของใจเท่านั้น เท่านั้นใจก็เย็นเป็นสุข ร่างกายก็อ้วน ร่างกายก็สบาย เพราะว่าทอดธุระเสียได้ นี้เป็นทางหมดจดขั้นี่ ๒ ....

          "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 648608เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2018 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2018 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท