อุปทานขันธ์


            "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิษุพิจารณาเห็นธรรมในะรรมคือ อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึนแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่าวงนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้คึวามดับแห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้

             ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารษาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรมตคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้ง พิจารณาเห็นธรรมคือความเื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

            อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า "ธรรมมีอยู่" ก็เพียงแต่สักว่า รู้ สักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

            ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณากเห็นธรรมในธรรมคืออุปทานขันธ์ ๕ อยู่" 

            พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้กล่าวฃลักษณะธาตุละเอียดของเบญจขันธ์ที่พิจารณาเห้นได้ด้วยญาณพระธรรมกายไว้ ดังนี้...

           กายทั้ง ๕ นั้นมีขันธ์๕ เป็นกำเนิดทุกกาย ลักษณะขันธ์ ๕ 

          รูปขันธ์ มีัลักษณะสัณฐานกลม ในสบริสุทธิ์ สะอาด ประมาณเท่าเมล็ดไทรเมล็ดไพธิ์ หรือหยาดน้ำมันงาที่ใส ติดอยุ่ที่ปลายขนจามรี ที่มัชฌิมบุรุษสลัดเสียแล้ว ๗ ที ตั้งอยุ่ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม

          เวทนาขันธ์ มีลักษณธสัณฐานกลม ใสสะอาดกว่ารูปขันธ์ แต่เล็กกว่า ซ้อนอยู่ชั้นใน ที่ ๒ ของรูปขันธ์

          สัญญาขันธ์ มีลักษณะสัณฐานกลม ใสสะอาดกวาเวทนาขันธ์แต่เล็กกว่า ซ้อนอยู่ชั้นที่ ๓ ของรูปขันธ์

          สังขารขันธ์ มีลักษณะสัณฐานกลม ใสสะอาดกว่า เล็กกว่าสัญญาขันธ์ ซ้อนอยู่ขั้นที่ ๔ ของรูปขันธ์

          วิญญาณขันธ์ มัลักษณะสัณฐานกลมใสสะอาดกว่า เล็กกว่าสังขารขันธ์ ซ้อนอยุ่ชั้นที่ ๕ ของรูปขันธ์

          ขันธ์ ๕ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ คือซ้อนกันเป็นดวงเล็กๆ เข้าไป ไม่ใชข่ซ้อนเป็นเถาเหมือนซ้อนถ้วยชาม ซ้อนกันเป็นชั้นๆ เหมือนฟองไข่ไก่ เช่น นี้ เหมือนกนทั้ง ๕ กาย แล้วขยายส่วนขึ้นไปตามกายใหญ่กายเล็ก" )เฉพาะกายที่ ๕ คือ กายธรรมนั้น มีขันธ์ ๕ เป็นกำเนิด ที่เบิกบานขึ้นเป็นธรรมขันธ์ เป็นกายโลกุตระที่พ้นความเป็นเบญจขันธ์) 

         พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง "เบญจขันธ์" เมื่อวันที่ ๒๑ ะันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ว่าดังนี้

         ... ณ บันนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมกถา เป็นอนุสนธิในการเทนาเนื่องจากวันอาทิย์โน้น เทศนาวันน้จะแสดงในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ของเราท่านทั้งหลาย หยิ.ชาย ทุกถ้วยหน้า เบญจขันธ์ทั้ง ๕  นี้มีสภาพเกิดขึ้นตั้งขึ้นอยู่ แตกแล้วดับไป ตำรับตำราได้กล่าวไว้ว่า อุปาทะ แปลว่า ความบังเกิดขึ้น ฐิติ แปลว่่า ตั้งอยู่ ภังคะ แปลว่า แตกสลายไ ปอุปาทะ ฐิติ ภังคะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แตกสลายไป นี้เป็นใจความแท้ๆ ถ้าจะกลั่นลงไปให้แน่แท้แล้วละก็ เกิดกับดับ ๒ อย่างเท่านั้น เกิดดับๆๆๆ อยู่อย่างนี้แหละทุกถ้วนหน้า ไม่ว่ามนุษย์คนใด หยิญชายคนใด ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราว่า อุปฺปชชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาถ ตาวกาลิกตาทิโต แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาว่า "ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นดับไป เพราะควมเป็นอย่างนันแล้วก็หาไม่ที่ว่าเป้นของไม่เทียง เพราะมีเกิดขึ้น เพราะมีความเป็นไปชั่วคราว เป็นต้น

          สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อเห้นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ ความทุกข์ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่สัตว์โลก ปนปฺปุนํ ปิฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา เย อถ สนฺตตฺตตาทิโต สภาพอันไม่เที่ยง ชื่อว่าเป็นทุกข์แท้เพราะมีอันบังเกิดขึ้นและเสื่อมไปบีบคั้นอยู่เนื่องๆ เพราะว่าสภาพนั้นมีความเร่าร้อนเป็นต้น ถึงได้เป็นทุกข์เหลือทนว่า

         สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเขา เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดเห้็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ฺ เมื่อนั้นย่อมเบื้อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางบริสุทธิ์ หรือเป็นหนทางหมดจดวิเศษ เป็นมรรคาบริสุทธิ์ วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ อัตตภาพเหล่านั้น สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร อัตภาพเหล่านั้นรุ้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว เพราะไม่เป็นตามอำนาจของตัว เป็ฯปฏิปักษืแก่ตัวด้วย เป็นสภาพว่างเปล่า เป็นสภาพไม่มีเจ้าของ อัตตภาพนั้น่ะคือร่างกายของเราหมดทุกคนนี้ ไม่ใช่อื่นที่ว่่าาอัตภาพนั้นรู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว ใครลองนับเป็นตัวเข้า เดี๋ยวหายไปหมด ไม่มีใครรับว่าเป็นตัวหรอกรับว่าเป็นตัว เดี๋ยวก็หายไปหมด ไม่ใช่ตัวจริงๆ อย่างนี้เรียกว่าอัตตภาพไม่ใช่ตัว รุ้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว อัตตภาพนั้นรู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว วเส อวตฺตนา เยว เพราะมไ่เป็นไปในอำนาจของตัว

          อตฺตวิปกฺขภาวโต เป็นข้าศึกแก่ตัวด้วย สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เพราะเป็นสภาพว่างเปล่าและไม่มีเจ้าของด้วย ใครจะเป็นเจ้าของเล่ารับรองดู รับรองไม่ได้ เป็นอย่างนี้

         สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเขา เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวเมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่าายในทุกข์ นี้เป็นหนทางบริสุทธิ์ เหรือเป็นหนทางหมดจดวิเศษ เป็นมรรคาอันบริสุทธิ์ นี่ประเด็นของธรรมนี้ นี้แปลเนื้อความว่า ภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระธรรมวินัยไตรปฎก แปลกันอย่างนี้ ถ้าเราไม่แปลกันอย่างนี้เราแปลไม่ออกเลย นี่มันเป็นภาษาเล่าเรียน...

         "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

         

คำสำคัญ (Tags): #อุปาทานขันธ์
หมายเลขบันทึก: 648600เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2018 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2018 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท