ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน


            คำว่า "ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน" นั้น หมายถึง การมีสติพิจารณาเห้นธรรมในธรรมซึ่งถ้าจะวิเคระห์ถึงความหมายอย่างกว้างขวางแล้วก็คือ การให้มีสติระลึกเห็นได้ในธรรมทั้งปวงว่า ธรรมใดเป็นธรรมฝ่ายบุญกุศลหรือธรรมขาว ที่เป็นธรรมฝ่ายพระ ซึ่งเรียกว่า กุศลบธรรม พระบาลีว่า กุสลา ธัมมา, ธรรมเหล่าใดที่เป็นฝ่ายบาปอกุศล หรือธรรมดำ ที่เป็นธรรมฝ่ายมาร ซึ่งเรียกว่า อกุศลธรา พระบาลีว่า อกุสลา ธัมมา และธรรมใดที่เป็นฝ่ายดำเรียกว่า อัพยากตธรรม พระบาลีว่า อัพยากตา ธัมมา

           พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปฎกทั้ง ๓ คือที่มีมาทั้งในพระสูตรในพระวินัย และทั้งในพระปรมัตถ์ (พระอภิธรรม) ต่างก็เดี่ยวด้วยธรรมทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ กุสลา ธัมฺมา, อกุสลา ธัมมา และ อัพยากตา ธัมมา ทั้งสิ้น

               วัตถุประสงค์สำคัญในการที่ให้มีสติระลึกเห็นได้ในธรรมท้งหลายเหล่านี้ จะเห็นได้จากแนวทางปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และที่จะมีมาอีกต่อไปในอนาคต ซึ่งต่างก็มีแนวทางสอนตรงกันหมด

               ดังพระพุทธภาษิตว่า

               " สพฺพปาปสฺส อกรณํ      กุสลสฺสูปสมฺปทา     สจิตฺตปริโยทปนํ     เอตํ พุทฺธานสาสนํ"

               " การไม่กระทบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตใจของตนให้ผ่องใสน นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" 

               เพราะฉะนั้น ความมุ่งหมายสำคัญในการเจริญธัมมานุปัสนาสติปัฎฐาน ก็เพื่อให้ผุ้ปฏิบัติะรรมหมั่นมีัสติระลึกเห็นธรรมเหล่านี้ไ้ แล้วก็ให้มีสัมปชัญญะ พจารณาคุณและโทษของธรรมแต่ละเหล่า เหล่านี้ว่า ธรรมใดเป็นคุณ คือให้ผลที่เป็นความเจริญรุ่งเรื่องและสันติสุข ธรรมใดที่เป็นโทษ คือให้ผลที่เป้นความเสื่อม หรือความทุกข์เดือดร้อน และธรรมเหล่าใดที่เป็น กลางๆ แล้วก็พึงละธรรมที่เป็นโทษนั้นเสีย และในขณะเดียวกันก็หมั่นประกอบธรรมที่เป็นคุณยิ่งๆ ขึ้นไ ปเพือความพ้นทุกข์และความสันติสุขอย่างถาวร คือ พระนิพพานอันเป็นแดนเกษมที่สุดแห่งทุกข์ั้งปวง ตามแนวทางพุทธศาสนา นั่นเอง

               ดังพระพุทธภาษิตว่า

               " กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย     สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต      โอกา อโนกมาคมฺม     วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ."

               " บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญ อาศัยพระนิพพานไม่มีอาลัยจากอาลัย(คืออกจาอาลัย อาศัยพระนิพพาน)..."

              เหตุที่บัณฑิตพึงละธรรมดำและพึงเจริญธรรมยาวนั้น ก็มมีปรากฎในธัมมิกเถรภาษิตว่า 

              "อธมฺโม นิรตํ เนติ      ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ"

              "อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคคติ"

              สภาพที่เป็นบาปอกุศลเหรือธรรมดำนั้น ย่อมนำสัตว์ไปสู่นรกหรือทุคติภูมิ อันเป็ฯภูมิของสัตว์ที่ชั่ว ที่ไม่ดี ที่ไม่มีความสุขสบาย หรือที่ๆ มีความทุกข์เดือดร้อน, ส่วนสภาพที่เป็นบุญกุศลหรือธรรมขวานั้น ย่อมนำไปสู่สุคติ อันเป็นภูมิของสัตว์ที่ดี ที่มีความสุขสบาย หรือที่ๆ ไม่มีความทุกข์เดือดร้อน

            กล่าวโดยสรุป วัตถุประสงค์ของการเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน ก็เพื่อให้ผุ้ปฏิบัตะธรรมมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาและระลึกเห็นได้อยู่เสมอ ว่า ธรรมใดเป็นธรรมดำ หรือ บาปอกุศล ที่นำไปสู่ความเสื่อม หรือความทุกข์เดือดร้อน ก็พึงละเสีย.

            ส่วนธรรมใดที่เป็นธรรมขาวหรือบุญกุศล ที่นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข ก็พึงเจรญให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป และธรรมใดที่เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ให้สุข ไม่ให้ทุกข์ ก็ให้พิจารณาระลึกเห็นธรรมนั้น ตามที่เป็นจริงด้วยสัมมาทิฎฐิ คือความเห็นชอบ ในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อย่างถาวร ตามแนวทางพระพุทธศาสนา....

           "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 648459เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2018 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2018 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท