ปหานอนุสัยกิเลส ตอนที่ ๒


            ... เมื่ออนุสัยเครื่องหุ้มของรู้หรือวิญญาณ จางลงมากแล้ว ใจของกายอรูปพรหมละเอียดก็ใสบริสุทธิ์ และมัรัศมีสว่างย่ิงกว่าเดิม ดวงเห็น จำ คิด รู้ ก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ จากเครื่องเศร้าหมองยิ่งขึ้น และขยายส่วนโตขึ้นเป็นประมาณ ๘ เท่าของไข่แดงของไข่ไก่ หรือประมาณเท่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์

           ใจของกายอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งลงไปที่กลางเห็น จำ คิด รู้ ตรง กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดต่อไป พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ดวงเห็ฯ ดวงจำ ดวงคิด ดวงรุ้ ก็จะตกศูนย์พร้อมด้วยดวงธรรมที่ที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ว่างหายไปอีก นี้คือ วิญญาณของกายในภพ ๓ ดับ  แล้วจะเหนดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ซึ่งยันนี้กลับเป็นญาณรัตนะของกายธรรม พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย บังเกิดขึ้นแทนที่อวิชชานุสัยเครื่องหุ้มรู้ ก็หายไ ปเครื่องหุ้มญาณรัตนะของธรรมกายกลับเป็นวิชชา (ะรรมเครื่องให้รู้แ้งเห็นจริงในสัจจธรรมและสภาวะของธรรมชาติทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร/สังขตธรรม) และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร/อสังขตะรรม) ตามความเป็นจริง ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรุ้ คือ "ญาณรัตนะ" ก็ขยายโตขึ้นเต็มส่วน เท่าหน้าตักและความสุงของธรรมกาย คือ ขนาดประมาณเกือบ ๕ วา และมีรัศมีสว่างสวยงามย่ิงนัก

           กาย กับใจ ของธรรมกาย ก็กลับเป็น ปฐมมรรค เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก ดวงศีล ก็เป็นอธิศีล คือ ศ๊ล ยิ่งอย่างแท้จริง กาย วาจา และใจ ตลอดทั้งเจตนาความคิดอ่านทั้งหาย เป็นอันสะอาดบริสุทธิ์หมด

           จิต ก็กลับเป็น มรรคจิต เป็นเนื้้องหนังที่ทแ้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็น อธิจิต คือจิตยิ่งแท้ๆ พราะบริสุทธิ์ปราศจากิเลสนิวรณ์

            วิญญาณ ก็เป็น มรรคปัญญา เป็นญาณรัตนะ เพราะอวิชชานุสัยเครื่องหุ้มของรู้จางลงมาก จึงใสละเอียดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองมาก และขยายโตเต็มส่วนของะรรมกาย มรรคปัญญานี้เป้ฯเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมปิฎก จึงจัดเป็น อธิปัญญาแท้ๆ 

            กายธรรมนี้เอง คือ พระพุทธรัตนะ ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกาย คือธรรมรัตนะ และกายธรรมละอียดๆ ที่ท่ามกลางพระพุทธรัตนะ นี้คื อพระสังฆรัตนะผุ้ปฎิบัติและผุ้รักษาพระสัทะรรมของพระพุทธเจ้าไว้

             ก็ให้ใจของกายธรรมหยุดในหยุด ลงไปที่กลางของกลางๆๆ ต่อๆ ไปอีก ก็จะถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย และเห็น จำ คิด รู้ คือ ญาณรัตนะ ที่ละเอียดๆต่อไปอีก คือ ธรรมกายโคตรภูละเอียด ธรรมกายพระโสดาปันหยาบ พระโสดาบันละเอียด ธรมกายพระสกิทาคามีหยาบ พระสกิทาคามีละเอียดธรรมกายพระอนาคามีหยาบ พระอนาคามีละเอียด ธรรมกายพระอรหัตหยาบ พระอรหัตละเอียด ซึ่งใสละเอียด บริสุทธิ์จากเครื่องหุ้มฝ่ายอกุศลทั้งปวง ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ คือญาณรัตนะ และดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็ขวายส่วนดตขึ้นไปอีก เป็นขนาด ๕ วา ๑๐ วา ๑๕ วา และถึง ๒๐ วา ตามลำดับ

           ยิ่งดำเนินไปสุดละเอียดเพียงใด จิตใจก็ยิ่งใสสะอากบริสุทธิ์ จากเครื่องเศร้าหมองย่ิงขึ้นเพียงนั้น 

           ทั้งหมดทีั่กลาวมานี้ก็คื อการเจิรญภาวนาพิจารษเห้นสภาวธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของจิตในจิต ตามธรรมชาติที่เป็นจริง พร้อมด้วยถอดอนุสัยกิเลสจากจิตของกายหยาบ ไปสู่จิตที่ละอียดยิ่งกว่า จนถึงจิตของกายโลกุตตระคือะรรมกาย ซึ่งเป็นกายในกายที่สุดละเอียด พ้นจากกายในภพ ๓ นี้ ตั้งแต่กายที่ ๙ เป็นต้นไปจนสุดละเียอด ช่วยให้ปัญญาหยั่งรู้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ได้ทั้งรุ้และทั้งเห็น และช่วยให้วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ วิชชา ๘ และ อภิญญา ๖ เกิดและเจริญขึ้น ให้สามารถปหารอวิชชาอันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดบาปอกุศลทั้งปวงให้หมดสิ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ...

             "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 648380เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2018 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2018 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท