อนุสัย


            อนุสัย คือ กิเลสละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ ๗ ประเภทด้วยกัน คือ

           - กามราคานะสัย ได้แก่ กิเลสละเอียดประเภทความยินดี พอใจ ติดใจ อยู่ในกามคุณทั้ง ๕ คือความติดใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส และในส่ิงสัมผสทางกาย กิเลสประเภทนี้ เมื่อมีอารมณ์จากภายนอกมากระทบ หรือจิตสร้างธัมมารมณ์ขึ้นมาเอง แล้วปรุงแต่งอารมณ์ นี้ให้เกิดเวทนาต่างๆ ก็จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิต ในรูปของราคะ โลภะ หรืออภิชฌาวิสมโลภะ ซึ่งเป็นกิเลสในระดับกลางแลหยาบตามลำดับ

             - ทิฎฐานุสัย ได้แก่ ความเห็นผิด ซึ่งจะแสดงตัวขึ้นมาใรูปของโมหะ หรือมิจฉาทิฎฐิ พร้อมกับอกุศลจิต ในฐานะเป็นเหตุนำหรือเหตุหนุนแล้วแต่กรณี

             - ปฎิฆานุสัย ได้แก่ ความขัดเคื่องใจ ไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกที่ไม่ถูกใจ ก็จะแสดงตัวออกมาในรูปของโทสะคือความโกรธอย่างรุนแรงหรือในรูปของโกธะคือความโกรธอย่างบางเบา หรืออุปนาหะ คือความผูกใจเจ็บ ผูกพยาบาทหรือจองเวร

             - ภวราคานุสัย ได้แก่ ความยินดีในความเป็นอยู่ในภพ

             -มานานุสัย ได้แก่ ความอวดดื้อถือดี ไม่ยอมลงใคร ไม่ว่าจะผิดหรือถูกซึ่งจะออกมาในรูปของมานะทิฎฐิ อันเป็นปมด้อยหรือปมเด่นในทางต่างๆ 

            - วิจิกจฉานุสัย ได้แก่ ความลังเลสงสัยในสภาวธรมต่างๆ 

            - อวิชชานุสัย ได้แก่ ความไม่รู้สัจจธรรมทั้ง ๔ ได้แก่ ความไม่รู้ในลักษณะของทุกข์ทั้งลับและเปิดเผย ทั้งที่เห็นได้ง่ายและที่เห็นได้ยาก ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์ ความไม่รุ้ในสภาวะที่ทุกข็ดับเพราะเหตุดับ และความไม่รู้ในหนทางปฏิบัติเืพ่อความพ้นทุกข์อันถาวร ความไม่รู้อดีต ความไม่รู้อนาคต และความไม่รู้เหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน อันเป็นผลให้เกิดทุกข์ ที่เรียกว่า ปฎิจจสมุปบาทธรรม อวิชชานุสัยนี้จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิตในฐานะที่เป็นทั้งเหตุนำและเหตุหนุนกิเลสอื่น ในลักษณะของโมหะหรือมิจฉาทิฎฐิ อนุสัยคือกิเลสละเอียดทั้ง ๗ ซึ่งความจริงก็มีอนุสัยหลักอยู่ ๓ ประเภท คือ ปฏิฆานุสัย กามานุสัย และอวิชชานุสัย

             ส่วนอนุสัยอื่นนอกจากนี้ ก็เป็นแต่เพียงแยกรายละเอียดออกไปจากอนุสัยหลักนี้เท่านั้น ในการพิจารณาสภาวธรรมต่อไปนี้จึงจะยกมากล่าวแต่เียง ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย

            วิธีพิจารณาเห็นอนุสัยกิเลส 

            สำหรับท่านที่ยังปฏิบัติไ่ได้ถึงธรรมากย ก็น้อมใจตาม และสามารถจะรู้เห็นได้ตามสมควร ส่วนผุ้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ให้ทุกท่านรวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูรย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด แล้วให็ญาณพระธรรมกายเ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนิ่งกลางของกลางดวงเห็น ดวงจำ ดววคิด ดวงรู้ แล้วพิจารณารอบๆ "ดวงรู้" ซึงมีัลักษณะสัณฐานกลมใสประมาณเท่าเมล็ดพริกไทย ะเห็นมีสีดำมัวๆ หนาประมาณ ๑ กระเบียด ถ้าเป็นผุ้มีกิเลสหนามาก ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้าเป็ฯผุ้มีกิเลสเยาบางก็จะเห็นเป็นเพียงสีมัวๆ ฝ้าๆ เหมือนกระจกฝ้า เครื่องหุ้มดวงรู้หรือวิญญาณนี้เองคือ อวิชาานุสัย ดวงวิญญาณของสัตว์โลกทั้งหลายจะถูกห่อหุ้มอยู่ในกระเปาะหุ้มของอวิชชานี้ เหมือนกับไข่ขาวหุ้มไข่แดงอยู่ฉะนั้น ดวงวิญญาณหรือดวงรู้จึงไม่อาจขยายโตเต็มส่วนเหมือนดวงญาณรัตนะของพระธรรมกาย

             ที่นี้ ก็ให้พิจารณาดุรอบๆ ดวงคิด หรือจิต ซึ่งมลักษณะสัณฐานกลมใส โตประมาณเท่าลูกตาดำ อีกต่อไ ปก็จะเห็นเครื่องหุ้มของคิด หนาประมาณ ๑ กระเบียด สีมัวๆ หุ้มอยู่รอบนอกของดวงคิดหรือ "จิต" คือกามราคานุสัย สำหรับผุ้ที่มีการราคะกล้า ก็จะเห็นเป็นสีเข้มาก ถ้ามีกามราคะเบาบางลงมากแล้ว ก็จะเห็นเป็นสมัวๆ หรือ ฝ้าๆ 

            และเมื่อพิจารษผ่านไปยังดวงจำซึ่งมีสัณฐานกลมประมาณเท่าลูกตา และดวงเห็นซึ่งเป็นดวงกลมใส ขนาดประมาณเท่าเบ้าตาของผุ้เป็นเจ้าของ ก็จะเห็นะครื่องหุ้มของเห็นและจำ อยู่โดยรอบ สีดำมัวๆ หนาประมาณ ๑ กระเบียด อีกเหมือนกัน คือปฏิฆานุสัย ผุ้ที่มีกิเลสประเภทเจ้าโทสะ ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้มีกิเลสนี้เบาบางก็จะเห็นเป็นสีจางๆ มัวๆ 

           ตามนัยที่พิจารณานี้ เป็นการพิจารราจากละเอียดออกมาหาหยาบ ที่เรียกว่า ปฎิโลม คือจาดวงรู้หรือวิญญาณมาหาดวงเห็น แต่ถ้าจะพิจารณาจากหยาบไปหาละเอียดเป็นอนุดลม ก็จะเห็นว่า ปฏิฆานุสัยหุ้มอยุ่รอบนอกของเห็นและจำเหมือนลูตาขาว กามราคานุสัย็หุ้มคิดหรือจิตอยู่ชั้นกลางเข้าไป เหมือนลูกตาขาว กามราคานุสัยก็หุ้มคิดหรือจิตอยุ่ชั้นกลางเข้าไป เหมือนลูกตาดำ และอวิชราานุสัยก็หุ้มดวงรุ้หรือวิญญาณอยุ่ชั้นในเขาไปอีก เหมือนแววตาดำ ฉะนั้น

          เนื้องจากอนุสัยทั้ง ๓ คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชาานุสัยนี้ต่างก็หุ้ม ห็จ จำคิด และรู้ เป็นไส้กัน คือยู่ในกลางของกลาง เป็นชั้นๆ กันเข้าไปในจิต นี้ประการหนึ่ง และอนุสัยเอง ก็เกิดจากความนอนเนืองของกิเลส ทั้งกิลสหยาบ กลาง และกิเลสละเอียด ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับอกุศลจิตที่ฟุ้งซ่านออกไปรับ ไปยึด ไปเกาะอารมณ์ภายนอกที่พูกใจบ้าง ที่ไม่ถูกใจบ้าง  และที่เฉยะๆ บ้าง แล้วประกอบดรรมที่เป็นอกุศลด้วยกาย สาจา และใจ ไปโดยความไม่รุ้หรือเพราะความมือมน ไม่รุ้จักบาปบุญคุณโทษ หรือไม่รู้จักทางเจิรญ ทางเส่อม โดยเฉพาะอย่างิย่งกิเลสประเภทโทหะ และมิจแาทิฎฐิ ได้แก่ ความหลงผิดหรือเห็นผิดความไม่รุ้ในสัจจธรรมและสภาวธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง แล้วหมัหมมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย นี้อีกประการหนึ่ง...

          "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้น ถึง ธรรมกาย"

คำสำคัญ (Tags): #อนุสัย
หมายเลขบันทึก: 648338เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2018 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2018 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท