ศึกษาอารยธรรมตะนาวศรี ท่องเที่ยวเมืองมะริด (นุ่งโสร่งเที่ยวมะริด:1)


8-10 มิถุนายน 2561. ศึกษาอารยธรรมตะนาวศรี ท่องเที่ยวเมืองมะริด

เช้าวันเสาร์ที่ 9  มิถุนายน  2561  ตื่นเมื่อ 5 นาฬิกาตามความเคยชิน ทำภารกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว  ขี้นไปชั้นดาดฟ้า ชั้น 9 เพื่อทานมื้อเช้า  เช้านี้ฝนตกโปรยปราย เก็บภาพจากโต๊ะอาหารท่ามกลางเม็ดฝนค่ะ

อิ่มแล้วลงมารอคณะที่ลอบบี้โรงแรม ระหว่างรอคณะที่มาด้วยกันพร้อม ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก    
#หม่องไทย กับ #สาวพม่า(มัคคุเทศก์ท้องถิ่น)


08.00 น. ออกจากโรงแรมขึ้นรถตู้สถานที่แรกที่พวกเราจะไปท่าเรือบ้านนอก ที่นี่ไม่ได้ลงไปเพราะฝนโปรยปราย จากนั้นไปแวะชมบ่อกุ้งมังกร. กุ้งตัวโตๆเขาส่งเป็นอาหารตามภัตตาคารในกทม.ค่ะ. ราคากิโลกรัมละ 1,800 บาท

แวะร้านมุก มุกแท้ซึ่งเป็นมุกเลึ้ยง สวยงามตามราคาค่ะ #ชื่นชม แต่ไม่ได้ซื้อ สวยงามมาก ๆ

จากร้านไข่มุก แวะตลาดร้อยปี หรือ ตลาดเซจี (ZayGyi) ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมะริด เปิดตั้งแต่เวลาประมาณ 08:00 น. ไปจนถึงเวลาประมาณ 15:00 น. เปิดขายทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ที่เปิดเฉพาะช่วงเวลาเช้าเท่านั้น ที่ตลาดร้อยปีแห่งนี้มีสินค้าท้องถิ่นให้เลือกซื้อหามากมาย เช่น แป้งทะนะคา โสร่ง ขนมพม่า ชาพม่า ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ต้นไม้ดอกไม้แปลก ๆ เช่นต้นปะการัง  สัมผัสวิถีชีวิตของชาวมะริดที่ยังคงความเป็นอดีตไว้อย่างมาก

ไปชมตลาดปลานานาชาติเมียนมา ที่นี่มีกุ้ง หอย ปู ปลา ตัวโต ๆ สด ๆ เลือก ซื้อหอย "หอยมะพร้าว".บ้านเราเรียก "หอยโข่งทะเล" หรือ "หอยสังข์" เลือกได้ประมาณ 3 กก. ราคา 5,000 จ๊าด.(125 บาท) ซื้อกลับเมืองไทย เอามาชิมว่าอร่อยจริงไหม??

ประมาณ 10 นาฬิกา แวะกินน้ำชา เมืองมะริด ปาท่องโก๋ตัวยาว ๆ นุ่ม อร่อย ค่ะ ราคาคู่ละ 100 จ๊าด (2.50 บาท)

 ก่อนกลับขึ้นรถซื้อลอตเตอร์รี่ชุดละ 150 บาท จำนวน 10 ใบ. รางวัลที่1 : 2,500,000 บาท สังเกตรถขายลอตเตอรี่ทันสมัยกว่าเมืองไทยมาก ไม่เดิน ไม่ถีบจักรยาน  ไม่นั่งขาย ใช้รถยนต์ค่ะ  พวกเราช่วยกันอุดหนุน เขาออกรางวัล เดือนละครั้งค่ะ จดหมายเลขโทรศัพท์กันเรียบร้อย  ตรวจได้จากอินเทอร์เน็ต ทันสมัยมาก ๆ 

วัดอะตูละ มะริดที่มีพระนอนองค์ใหญ่อันดับที่ 7 ของเมียนมา  ต้องลงเรือหางยาวจากท่าเรือมะริด เพื่อไปไหว้พระอีกฟากหนึ่ง สายวันนี้มีฝนพรำแต่เมื่อพวกเราจะลงเรือไปไหว้พระฝนก็หยุดค่ะ  สิ่งที่ไม่มีคือเสื้อชูชีพ มอง ๆ ทุกลำไม่มีเสื้อชูชีพ 

วัดพระพุทธไสยาสน์อตูละ ชเวทัลเยือง (Atula Shwethalyaung)แห่งเมืองมะริด: วัดพระนอนแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะปาเตท (Pa Htet) ใกล้กับเกาะปาถ่อง (Pa Htaw) การเดินทางไปวัดพระนอนจะต้องนั่งเรือข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งซึ่งมีเรือหลายลำจอดเรียกผู้โดยสารอยู่ตรงท่าเรือบนถนนเลียมชายหาด (Strand Road) วัดพระนอนแห่งนี้มีความยาว 144 ศอก ถือว่าเล็กกว่าวัดพระนอนที่เมืองทวายซึ่งมีความยาวประมาณ 162 ศอก วัดพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในพม่าตอนนี้อยู่ทีเมืองมูเดิง (Mudon) ใกล้กับเมืองเมาะละแหม่ง มีชื่อว่าวัดพระนอนวิน เส่ง ตอว์ยะ (Win Sein Taw Ya) และอันดับสองคือวัดพระนอนชเวตาเลียว (Shwe Thal Lyaung) ที่เมืองพะโค (หงสาวดี) วัดพระนอนที่เมืองมะริดสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2498 ภายในองค์พระแบ่งเป็นห้องๆ แสดงพุทธประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า วัดพระนอนแห่งนี้ยามค่ำคืนจะงดงามไปด้วยแสงไฟที่ประดับประดาไว้รอบพระพุทธรูปและมีพุทธศาสนิกชนชาวพม่าทุกเพศทุกวัยมาสักการะและท่องเที่ยวพักผ่อนกันทุกวัน

เมื่อพวกเราขึ้นไปสักการะพระนอน ฝนตกหนักมาก  ลมแรง เราจังเดินดูในบริเวณพระนอนนั้น เมื่อถึงเวลาลงเรือกลับ ฝนหยุดสนิท พวกเราคงมีบุญ  มีวาสนา ที่มีดอกาสได้มาสักการะพระนอนในครั้งนี้ ฝนไม่เป็นอุปสรรคใด ๆ เลย ... กลับขึ้นฝั่งแล้วพักก่อนค่ะไปทานข้าวกลางวันที่ร้านโลตัส (อาหารไทย-มะริด) มื้อกลางวันกับอาหารจานเด่น #ปูนิ่มทอดกระเทียม

อิ่มแล้ว...ตามมาค่ะจะพาไปนมัสการวัดตอเจ้า (To Chao )วัดต่อเจ้า เดิมเป็นที่ตั้งของเจดีย์ โปงเงี๊ยต ตั้งชื่อตามภูเขาที่ตั้ง ต่อมาได้สถาปนาเป็นวัดต่อเจ้าราวปีพศ. 2209 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีเจ้าอาวาสมาแล้วทั้งสิ้น สิบสี่รูป (เจ้าอาวาสรูปที่สอง เป็นคนไทย) ปัจจุบันวัดต่อเจ้าเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะแบบไทยและแบบตะนาวศรี พระกรรณยาวถึงบ่าแบบอยุธยา พระพักตร์แบบนครศรีธรรมราชและจีวรจีบ ด้านหลังพระประธานประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์และด้านหน้าพระอุโบสถมีศิลาจารึกซึ่งสันนิษฐานว่า สลักเป็นภาษาล้านนาโบราณหรือภาษาพม่าโบราณ รอบพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 108 องค์แทนลูกประคำ 108 เม็ด และพระวิหารประดิษฐานพระทิพยภาวนานันทะอนุราษฏร์รังสี องค์ขนาดใหญ่ ศิลปะแบบพม่า อายุ 118 ปี ....ตอนที่ 2 ศึกษาอารยธรรมตะนาวศรี ท่องเที่ยวเมืองมะริด (นุ่งโสร่งเที่ยวมะริด:2)


คำสำคัญ (Tags): #มะริด#ตลาดเก่า
หมายเลขบันทึก: 648098เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2018 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2018 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท