ใบความรู้ที่ 1 ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ (ตอน 3)


9.  ประวัติห้องสมุดในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทยไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าสมัยสุโขทัยได้เคยมีห้องสมุดหรือไม่  ปี  1826  พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ประดิษฐ์อักษรไทย  และการเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก  เรียกว่า  หอไตร  และมีพระสงฆ์ทำหน้าที่คล้ายบรรณารักษ์ในปัจจุบันนี้  ปลายยุคสุโขทัยเริ่มมีหลักฐานวรรณกรรมไทยหลายเล่ม  เช่น  ไตรภูมิพระร่วง  สุภาษิตพระร่วง

สมัยอยุธยามีวรรณกรรมมากขึ้น  รวมทั้งกฎหมายและเอกสารราชการอื่น ๆ  มีการจัดสร้างสถานที่เก็บหนังสือเรียกว่า  หอหลวง

สมัยกรุงธนบุรี  โปรดให้จัดสร้างหอพระไตรปิฎกหลวง  เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎก และจัดสร้าง  หอพระสมุด  เพื่อเก็บรวบรวมวรรณกรรมอื่น ๆ  

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่  1  ได้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ใช้สำหรับเก็บพระไตรปิฎกและหนังสืออื่น ๆ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือ ทางศาสนาและวรรณคดี  กฎหมาย  ตำราแพทย์และพงศาวดาร  ซึ่งกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ                และในสมัยรัชกาลที่  1  นี้ได้มีการสังคายนา[1]  พระไตรปิฎก  สร้างเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้น ปิดทองทั้งฉบับ  อีกหลาย ๆ ฉบับในรัชกาลต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อจากฉบับทองทึบเป็น  “ฉบับทองใหญ่”   

                สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  ในรัชกาลที่  2  โปรดให้ย้ายคัมภีร์จากหอพระไตรปิฎกหลวงฝั่งธนบุรีมาไว้ที่ฝั่งพระนครและสร้างหอพระมณเฑียรธรรม  นอกจากนี้ยังได้มีการชำระกฎหมายแล้วเก็บไว้ใน หอหลวง  ทุกเล่มจะประทับตรา  3  ดวง  จึงเรียกว่า  กฎหมายตรา  3  ดวง

                สมัยรัชกาลที่  3  โปรดให้มีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  (วัดโพธิ์)  ให้เป็นแหล่งวิชาความรู้ของคนทั่วไป  มีการรวบรวมตำราต่างๆ  แล้วจารึกไว้บนศิลาตามระเบียบและศาลารายรอบบริเวณพระอุโบสถ  ซึ่งมีถึง  70  ศาลา  เพื่อจารึกเรื่องชาดก  รวบรวมตำรายาและการแพทย์แผนไทย  ตำราอาชีพต่างๆ  ซึ่งจะจารึกไว้บนแผ่นศิลาเป็นร้อยกรองประเภทโคลง  และข้อความสั้น ๆ  โดยสมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส  เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา  ซึ่งมีประวัติของสาวกคนสำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้า  เช่น  พระสารีบุตร  พระมหากัสสป  พระอนุรุทธเถระ  ส่วนเรื่องทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจะเขียนเป็นร้อยแก้ว  เช่น  เรื่องเกี่ยวกับประเพณีกวนข้าวทิพย์  มหาสงกรานต์  ขบวนแห่พยุหยาตรา  วรรณคดีร้อยแก้วเรื่องนารายณ์สิบปาง  และรามเกียรติ์ เขียนและวาดภาพไว้ตามฝาผนังและในพระวิหารเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน  จึงนับได้ว่า  วัดพระเชตุพนฯ  แห่งนี้เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทยเรา

                พ.ศ.  2412  กลุ่มสตรีอเมริกันและอังกฤษซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยในฐานะภริยาทูต  ผู้ติดตาม  หรืออาสาสมัครได้ร่วมกันจัดตั้งห้องสมุดขึ้นเพื่อให้บริการแก่สมาชิกโดยเสียค่าบำรุง ชื่อ  “เลดี้  เซอคูเลชั่น  ไลบรารี่”  (Ladies  Circulation  Library)  ปัจจุบัน  คือห้องสมุดเนลสันเฮย์  ถนนสุรวงศ์  สี่พระยา  เขตบางรัก  กรุงเทพมหานคร

                พ.ศ.  2424  มีการจัดสร้าง  หอพระสมุดวชิรญาณ  โดยสมาชิกต้องเสียค่าบำรุง  มีความสำคัญเพราะเป็นสถานที่รวบรวมหนังสือไทยที่เป็นต้นฉบับตัวเขียนด้วยมือไว้ได้มากที่สุดในขณะนั้น             ซึ่งบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของเมืองไทยทั้งที่มีมาแต่เดิม  และแต่งขึ้นใหม่ให้แพร่หลาย  และคงอยู่              มาจนถึงทุกวันนี้

                สมัยรัชกาลที่  5  ในฐานะพระองค์ใหญ่ได้สร้างหอพระสมุดวชิรญาณขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและสนองพระคุณพระชนกนาถ  ซึ่งต่อมาภายหลังโปรดเกล้าฯ  ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม  หอพระสมุดวชริญาณ[2]  และหอพุทธสังคหะ[3] เข้าด้วยกันและให้ใช้ชื่อว่า  “หอพระสมุดสำหรับพระนคร”  เมื่อวันที่  12  ตุลาคม  ร.ศ.  124  ซึ่งตรงกับ  พ.ศ.  2448  ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง  และภายหลังรัชกาลที่ 6  ได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุหน้าวัดมหาธาตุฯ  ด้านสนามหลวง  เพื่อใช้เป็นที่สำหรับเก็บรวบรวมหนังสือประเภทต่าง ๆ  ได้แก่  หนังสือพระพุทธศาสนา  หนังสือไทย  และหนังสือต่างประเทศ  หนังสือเก่ามีคุณค่าและหายาก  เช่น  ไตรภูมิพระร่วง  พระราชกฤษฎีกา  และตำนานเขียนสมัยกรุงศรีอยุธยาหลายเรื่อง  จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี  ต้นร่างพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก  6  เรื่อง  คือ  ปลุกใจเสือป่า แบบสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือ  การราชาภิเษกพระราม  บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์  พระนลคำหลวง  และโองการแช่งน้ำ  บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลง  มีโรงเรียนเกิดขึ้น  วรรณกรรมต่าง ๆ  เปลี่ยนไปตามอิทธิพลตะวันตก

                ส่วนหนังสือต่างประเทศที่ซื้อไว้ในหอพระสมุดนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย  ที่ชาวต่างประเทศเขียนไว้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเมืองไทย  ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

                เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณหนังสือให้มากยิ่งขึ้น  รัชกาลที่  5  ได้ทรงดำริให้มีเหรียญรางวัลพร้อมด้วยประกาศนียบัตรสำหรับผู้แต่งหนังสือดี  เป็นเหรียญทองสัมฤทธิ์  มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปรากฏอยู่พระราชทานนามว่า  “เหรียญวชิรญาณ”  เมื่อวันที่  25  กันยายน  2432

                พ.ศ.  2443  มีการจัดสร้าง  หอพุทธศาสนสังคหะ

                พ.ศ.  2447  โปรดให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม  หอพระสมุดวชิรญาณ  และหอพุทธศาสนาสังคหะเข้าไว้ด้วยกันแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า  หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

                พ.ศ.  2468  รัชกาลที่  7  โปรดให้แยกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครออกเป็น  2 แห่ง  คือ

                        1.  หอพระสมุดวชิรญาณ  เก็บคัมภีร์  จดหมายเหตุของเก่า  หนังสือเขียน  ศิลาจารึก

                        2.  หอพระสมุดวชิราวุธ  เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์  ให้บริการอ่านและจัดพิมพ์หนังสือของหอพระสมุดฯ

                พ.ศ.  2477  หอพระสมุด ฯ  เปลี่ยนชื่อเป็น  หอสมุดแห่งชาติ  สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

                พ.ศ.  2490  จัดสร้าง  หอดำรงราชานุภาพ  จัดเก็บหนังสือของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดแห่งชาติ

                พ.ศ.  2500  รัฐบาลอนุมัติงบประมาณให้จัดสร้างอาคารใหม่  ณ  ท่าวาสุกรี  มีพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติแห่งใหม่  เมื่อวันที่  5  พฤษภาคม  พ.ศ.  2509  ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติมีฐานะเป็นกอง  สังกัดกรมศิลปากร  กระทรวงศึกษาธิการ กิจการห้องสมุดประชาชนเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ  ปี  พ.ศ.  2459  เดิมเรียกว่า ห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชน  เลิกล้มไปในปี  พ.ศ.  2471  และเริ่มต้นใหม่อีกในปี  พ.ศ.  2483  ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการศึกษานอกโรงเรียน  กระทรวงศึกษาธิการ

[1]  ตรวจชำระแก้ไขความคลาดเคลื่อนของพระไตรปิฎกฉบับเต็มที่มีอยู่แล้ว  จัดทำฉบับใหม่ขึ้นมาให้ถูกต้องสมบูรณ์กว่าฉบับเก่า

[2]  สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่  5  มีหน้าที่จัดพิมพ์หนังสือวชิรญาณโดยจะรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่  พิมพ์ออกใน  3  ลักษณะ  คือ

                        วชิรญาณวิเศษ  ออกสัปดาห์ละครั้ง  ทุกวันพฤหัสบดี  จัดพิมพ์ข่าวราชการในราชสำนัก

                        วชิรญาณปัญหา  เป็นหนังสือตอบปัญหาต่าง ๆ  ซึ่งมีผู้ส่งมาถามและพิมพ์แจกเป็นครั้งคราวไม่มีกำหนดออกแน่นอน

                        วชิรญาณรายเดือน  ออกรายเดือน  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง  “พระราชพิธี  12  เดือน”  พระราชทานด้วย

                        นอกจากออกหนังสือวชิรญาณแล้ว  ยังได้รวบรวมหนังสืออื่น ๆ ที่เป็นตัวเขียนด้วยมือนำมาคัดลอกและเก็บไว้เป็นจำนวนมาก

[3] หอพุทธสังคหะ  เป็นห้องสมุดที่เก็บเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้งสิ้น  ได้แก่  พระไตรปิฎกฉบับภาษาต่าง ๆ ได้แก่  ภาษามคธซึ่งเขียนด้วยอักษรขอม  อักษรไทย  อักษรลาว  อักษรสิงหฬ  อักษรรามัญ  อักษรโรมัน  อักษรญี่ปุ่น  และอักษรจีน  เป็นต้น  สิ่งที่ใช้ในการรักษาหนังสือ  เช่น  กรอบหนังสืออาจประดับด้วยมุก  ทำด้วยงาหรือโลหะ  มีกายะเยียสำหรับวางหนังสือ  ตู้ใส่หนังสือเป็นตู้ทึบสี่เหลี่ยมด้านนอกทำเป็นลวดลายสวยงามประดับด้วยมุก  หรือปิดทองรดน้ำ

              ส่วนหนังสือต่างประเทศที่ซื้อไว้ในหอพระสมุดนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ที่ชาวต่างประเทศเขียนไว้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเมืองไทย  ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

                เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณหนังสือให้มากยิ่งขึ้น  รัชกาลที่  5  ได้ทรงดำริให้มีเหรียญรางวัลพร้อมด้วยประกาศนียบัตรสำหรับผู้แต่งหนังสือดี  เป็นเหรียญทองสัมฤทธิ์  มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปรากฏอยู่พระราชทานนามว่า  “เหรียญวชิรญาณ”  เมื่อวันที่  25  กันยายน  2432

                พ.ศ.  2443  มีการจัดสร้าง  หอพุทธศาสนสังคหะ

                พ.ศ.  2447  โปรดให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม  หอพระสมุดวชิรญาณ  และหอพุทธศาสนาสังคหะเข้าไว้ด้วยกันแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า  หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

                พ.ศ.  2468  รัชกาลที่  7  โปรดให้แยกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครออกเป็น  2 แห่ง  คือ

                        1.  หอพระสมุดวชิรญาณ  เก็บคัมภีร์  จดหมายเหตุของเก่า  หนังสือเขียน  ศิลาจารึก

                        2.  หอพระสมุดวชิราวุธ  เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์  ให้บริการอ่านและจัดพิมพ์หนังสือของหอพระสมุดฯ

                พ.ศ.  2477  หอพระสมุด ฯ  เปลี่ยนชื่อเป็น  หอสมุดแห่งชาติ  สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

                พ.ศ.  2490  จัดสร้าง  หอดำรงราชานุภาพ  จัดเก็บหนังสือของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดแห่งชาติ

                พ.ศ.  2500  รัฐบาลอนุมัติงบประมาณให้จัดสร้างอาคารใหม่  ณ  ท่าวาสุกรี  มีพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติแห่งใหม่  เมื่อวันที่  5  พฤษภาคม  พ.ศ.  2509  ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติมีฐานะเป็นกอง  สังกัดกรมศิลปากร  กระทรวงศึกษาธิการ   

                กิจการห้องสมุดประชาชนเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ  ปี  พ.ศ.  2459  เดิมเรียกว่า ห้องอ่านหนังสือสำหรับประชาชน  เลิกล้มไปในปี  พ.ศ.  2471  และเริ่มต้นใหม่อีกในปี  พ.ศ.  2483  ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการศึกษานอกโรงเรียน  กระทรวงศึกษาธิการ 

10.  ประวัติห้องสมุดในต่างประเทศ

มนุษย์ในสมัยโบราณบอกความรู้สึกหรือเล่าสิ่งต่าง ๆ  ที่ได้พบเห็นด้วยวิธีการและลักษณะ ที่แตกต่างกันไป  เช่น  การทำท่าทางต่าง ๆ  การส่งเสียง  แต่การกระทำเหล่านี้จะอยู่ในความทรงจำของมนุษย์ได้ไม่นาน  อาจเสื่อมหรือลืมได้  มนุษย์จึงคิดประดิษฐ์หรือเครื่องช่วยความจำด้วยการ ขีดเขียน  การวาดภาพ  ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นสื่อติดต่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ  จนพัฒนาการมาเป็นภาษาเขียนบันทึกลงในวัสดุ  เช่น  แผ่นหนัง  แผ่นดินเหนียว  ไม้ไผ่  จนกระทั่งกลายมาเป็นกระดาษในปัจจุบัน  เมื่อมีการบันทึกเกิดขึ้นมาก ๆ  จึงต้องหาสถานที่เก็บรวบรวมบันทึกเหล่านี้ให้เป็นระเบียบ  สถานที่เก็บเหล่านี้ต่อมาเรียกว่า  ห้องสมุด  (Library)  ห้องสมุดมีวิวัฒนาการมาตามสมัยต่าง ๆ  จนเจริญมาถึงปัจจุบัน  ชาติที่เจริญแล้วในโลกส่วนใหญ่จะมีห้องสมุดประจำชาติของตน 

ธรรมชาติของมนุษย์มีนิสัยอย่างหนึ่งคือชอบบอกกล่าวผู้อื่นถึงสิ่งที่ตนค้นพบ  คิดได้หรือ พบเห็นมาว่าน่าสนใจ  ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มามนุษย์จะใช้วิธีต่างๆ  เช่น  ทำท่าทางให้รู้  ส่งเสียงให้ได้ยินหรือขีดเขียนภาพเพื่อบอกเรื่องราวให้รู้  จนกลายมาเป็นภาษาพูด  และภาษาเขียนในปัจจุบัน  ซึ่งได้มีการพัฒนาเรื่องมาตามลำดับ  จึงเกิดความคิดที่จะต้องหาที่ใดที่หนึ่งเป็นที่สำหรับเก็บรวบรวมสะสมความรู้ความคิดเอาไว้  การศึกษาในสมัยก่อนเริ่มต้นที่วัด  โบสถ์  วิหาร  โดยมีพระเป็นผู้จัดการดูแล  ซึ่งก็ได้มีการบันทึกเรื่องราวทางศาสนา  การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ  ไว้บนแผ่นดินเหนียว  แผ่นหนัง  หรือม้วนกระดาษ  จึงนับได้ว่าโบสถ์  วิหาร  เป็นห้องสมุดในยุคแรก ๆ

700  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ครอบครัวปโตเลมี  (Ptolamy)  ได้ก่อตั้งห้องสมุดขึ้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย  (Alexandria)  ซึ่งมีหนังสืออยู่เป็นจำนวนมากประมาณ  70,000  เล่ม  รวมทั้งสำเนาบทละครของนักเขียนโศกนาฎกรรมของกรีซ  งานเขียนในภาษาเอธิโอเปียน  เปอร์เซียน  ฮิบรู        และฮินดู  แต่ทั้งหมดถูกเผาทำลายไปเมื่อปี  พ.ศ.  246  เมื่อประมาณ  47  ปีก่อน  คริสต์ศักราช

ปลายคริสต์ศตวรรษที่  15  สร้างห้องสมุดแยกจากโบสถ์  วิหารขึ้นที่เมืองแคนเทอร์เบอรี่ (Canterbery)  และเมืองเดอร์แฮม (Durham)

คริสต์ศตวรรษที่  15  สร้างห้องสมุดแยกจากโบสถ์  วิหารขึ้นที่เมืองแคนเทอร์เบอรี่  (Canterbery)  และเมืองเดอร์แฮม  (Durham)

คริสต์ศตวรรษที่  16  มีการจัดหนังสือหรือคัมภีร์วางไว้บนโต๊ะและล่ามโซ่ไว้ กับแท่นแม่เหล็ก  ซึ่งระยะหลังต่อมาห้องสมุดเอสคอเรียล  (Eacorial)  เป็นห้องสมุดแห่งแรกที่ ไม่ล่ามโซ่หนังสือโดยจะจัดวางหนังสือพิงเอาไว้กับกำแพง

ปลายคริสต์ศตวรรษที่  17  มีการพิมพ์เกิดขึ้น  จึงทำให้มีจำนวนของหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ  เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะการผลิตหนังสือไม่ต้องนั่งคัดลอกด้วยมือ  จึงมีการจัดตั้งห้องสมุดสาธารณะขึ้นเป็นแห่งแรกในทวีปยุโรป

                แบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ   ได้ดังนี้

1.  ห้องสมุดสมัยโบราณ  (Acient  Times)

     เริ่มตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์  มนุษย์ได้เริ่มตั้งประเทศชาติและสร้างอารยธรรมขึ้นบริเวณแม่น้ำใหญ่ ๆ  เช่น  ลุ่มแม่น้ำไนล์   ลุ่มแม่น้ำไทกริส  ทางด้านวงการห้องสมุดถือเป็นยุคเริ่มต้น  มีห้องสมุดที่น่าสนใจ  ดังนี้

     1.1  ห้องสมุดปาปิรัส  โดยมีชาวอียิปต์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์  บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  เป็นแบบตัวอักษรภาพ  (Pictography)  ลงบนกระดาษปาปิรัส (Papyrus)  ปาปิรัสเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำไนล์  ชาวอียิปต์จะตัดต้นปาปิรัสเป็นท่อนเล็ก ๆ  แล้วอัดให้แบน  จากนั้นนำมารวมกันกลายเป็นแผ่นบาง ๆ  ใช้หญ้าทุบปลายให้เป็นฝอย  จุ่มหมึกเขียนแทนพู่กัน หมึกที่ใช้ทำด้วยถ่านไม้บดละเอียดผสมยางไม้  วิธีเก็บจะม้วนไว้  ปาปิรัสสะดวก  และง่ายต่อการ  นำติดตัวไปด้วย  เรื่องราวที่บันทึกเกี่ยวกับการปกครอง  วรรณคดี  ตำรายา  เป็นต้น

คำว่า  ปาปิรัส (Papyrus)  ต่อมาเพี้ยนเป็น  “Paper”  ภาษาไทย  หมายถึง  กระดาษ

                     1.2  ห้องสมุดดินเหนียว  ค้นพบในดินแดนเมโสโปเตเมีย  แถบลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีส  ใช้ดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่างๆ  วัสดุที่ใช้  คือ  ไม้  วิธีเขียนจะใช้ไม้กดลงบนดินเหนียว  ตัวอักษร  ที่ปรากฏคล้ายรูปลิ่ม  จึงเรียกว่าอักษรลิ่ม (Cuneiform)  เมื่อเขียนแล้วจะนำไปเผาไฟเก็บไว้  ดินเหนียวมีเนื้อที่น้อย  จึงเขียนเฉพาะเรื่องสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะเขียนเกี่ยวกับศาสนา  วรรณคดีและการสงครามแผ่นดินเหนียวมีน้ำหนักมาก  การเคลื่อนย้ายไม่สะดวก  การใช้ดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่างๆ จึงเสื่อมความนิยมลง

                     1.3  ห้องสมุดแผ่นหนัง  นักปราชญ์ชาวเมืองเปอร์กามุมเริ่มใช้หนังสัตว์เป็นวัสดุสำหรับบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  เขียนได้สองหน้า  แต่หนังไม่สามารถต่อกันได้ยาวเหมือนแผ่นปาปิรัสและม้วนไม่ได้  จึงใช้วิธีนำแผ่นหนังมาซ้อน ๆ  กันและพับตรงกลาง  เย็บติดกันเรียกว่า  CODEX  ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการเย็บเล่มหนังสือในปัจจุบัน

                2.  ห้องสมุดสมัยกลาง (Middle  Ages)  ยุคมืดของห้องสมุด  กิจการห้องสมุดในสมัยนี้       ซบเซาลงมากเพราะพวกอาณาอารยชนเข้ามารุกรานอาณาจักรโรมัน  ห้องสมุดถูกทำลาย  เพราะ       ไม่เห็นคุณค่าของตำราวิชาการ  อาณาจักรโรมันจึงเสื่อมลง  ขาดผู้สนใจกิจการห้องสมุด  จึงทำให้กิจการห้องสมุดไม่เจริญ  จัดเป็นยุคมืดแห่งวงการห้องสมุด

                3.  ห้องสมุดสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา  (Renaissance)  เป็นยุคทองของห้องสมุด  มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง  เกิดแนวคิดแปลกออกไปจากเดิม  บรรดานักปราชญ์และเชื้อพระวงศ์  ต่างสนใจวรรณคดีกรีก  ลาตินกันอย่างจริงจัง  ความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาของยุโรปเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ประเทศต่าง ๆ  เริ่มสร้างมหาวิทยาลัย  เช่น  มหาวิทยาลัยปารีส  มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด  และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

                ค.ศ.  1450  โจฮัน  กูเตนเบอร์ก  ชาวเยอรมันสามารถประดิษฐ์เครื่องพิมพ์อักษรที่ทำด้วยโลหะขึ้น  ทำให้การผลิตหนังสือเป็นไปอย่างกว้างขวาง

4.  ห้องสมุดสมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน (Present  Times) เนื่องจากมีเครื่องพิมพ์การผลิตหนังสือ   ก็ง่ายขึ้น  ห้องสมุดสมัยใหม่จึงเกิดมีขึ้นในยุโรป  เช่น  ห้องสมุดมาซาแรงอยู่ที่ปารีส  หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ

                ค.ศ.  1800  ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งหอสมุดแห่งชาติแห่งที่  3  ขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library  of  Congress)  ปัจจุบัน  เป็นหอสมุดแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก

                ค.ศ.  1876  เมลวิล  ดิวอี้  (Melvil  Dewey)  คิดระบบการจัดหมู่แบบทศนิยมขึ้น

                ค.ศ.  1887  เปิดการเรียนการสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

                ช่วงศตวรรษที่  20  กิจการห้องสมุดกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  และมีความสำคัญมาก มีมูลนิธิต่างๆ  ให้ความช่วยเหลือ  เช่น  มูลนิธิเอเชีย  มูลนิธิฟอร์ด  มูลนิธิคาร์เนกี้  เป็นต้น  ภายในห้องสมุดนอกจากจะมีเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่างๆ  แล้ว  ยังมีโสตทัศนวัสดุต่างๆ  ไว้บริการด้วย  ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานต่างๆ  ในห้องสมุด 

บรรณานุกรม 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  คณะอักษรศาสตร์.  ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์.  การค้นคว้าและเขียนรายงาน.  พิมพ์ครั้งที่ 8.  กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

สมมารถ  มีศรี  สุทธาริณี  วาคาบาซิ  และนฤมล  เทพชู.  ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ก. วิวรรธน์, 2547.

สุกัญญา  กุลนิติ.  ห้องสมุดและสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า.  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2549.

สุนี  เลิศแสวงกิจ  และพิศิษฐ์  กาญจนพิมาย.  ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์, 2546.

สุปรียา  ไชยสมคุณ.  ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ : ประสานมิตร, 2546.

หมายเลขบันทึก: 647994เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2018 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2018 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท