"ครูผู้ไม่ควรสอนคุณธรรมจริยธรรม" ... (วุฒิภาวะของความเป็นครู : วิเชียร ไชยบัง)


...

ครูผู้ไม่ควรสอนคุณธรรมจริยธรรม

...

การศึกษาในระบบใหญ่บ่มเพาะคนให้มีนิสัยเป็นผู้รับแบบไม่รู้ตัว เพราะเป็นระบบที่ผู้เรียนได้เป็นผู้รับบริการนานาของรัฐ ในการเรียนรู้เด็กก็เป็นผู้รับความรู้จากครู มีครูคอยชี้แนะ ชี้นำ ชี้ขาด และคอยจัดแจงจัดการเรื่องต่าง ๆ ให้ สิบกว่าปีของแต่ละคนที่อยู่กับการศึกษาในระบบจึงเหมือนกับกระบวนการที่ทำให้เด็กถูกสะกดจิตให้เป็นผู้คอยรับแบบกลาย ๆ เมื่อจบการศึกษาออกไป เราจึงได้คนที่มีจิตใจที่เสียสละเพื่อส่วนรวมนั้นน้อย ส่วนใหญ่ก็จะยุ่งวุ่นวายอยู่กับชีวิตตัวเองแบบตัวใครตัวมัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบ่มเพาะจริยธรรมและคุณธรรมในโรงเรียนเพื่อยกระดับวุฒิภาวะของผู้เรียนให้สูงขึ้นหรือการเป็นคนดี 

คนดีในที่นี้ หมายถึง การไม่ได้ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางจนเบียดเบียนคนหรือเบียดเบียนสิ่งต่าง ๆ แต่ถ้าถามว่าหลักสูตรที่สร้างคนเป็นคนดีอยู่ตรงไหนในแปดหรือเก้าวิชาของหลักสูตรแกนมีสิ่งที่เป็นเครื่องมือในการบ่มเพาะความเป็นคนดี หรือความมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ตรงไหน อาจจะพบว่า พอมีเนื้อความที่กล่าวถึงคุณธรรม จริยธรรมไว้ในวิชาสังคมศึกษาว่าด้วยส่วนของศาสนาแต่นั่นเราก็รู้ว่ามันเป็นเพียงข้อความ เป็นความรู้เชิงปริยัติ ไม่ได้ถูกนำมาสู่การฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งย่อมไม่ถึงการปฏิเวธหรือการนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต นั่นเท่ากับว่าเราพึ่งพาหลักสูตรแกนกลางเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ได้ กลไกสำคัญกลับอยู่ที่ครอบครัว สังคม และโรงเรียน

ในส่วนของโรงเรียนนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูว่า จะมีความเข้าใจหรอืมีมุมมองต่อเรื่องนี้ลึกซึ้งเพียงใด กิจกรรมที่จะนำไปสู่การบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมก็จะแยบยลลึกซึ้งตามมาด้วยการพร่ำสอน ข้อความ ปริยัติเป็นสิ่งที่น่ารำคาญสำหรับเด็ก แต่การสร้างวิถีปฏิบัติที่จะนำไปสู่การใช้จริงที่คงเส้นคงวาสม่ำเสมอและมีเหตุผล เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเพราะเด็ก ๆ ได้ซึบซับจากแบบอย่างได้ดีกว่าคำตอบ การได้เห็นแบบอย่างจะช่วยหล่อรูปโครงสร้างทางคุณธรรมและจริยธรรมไว้ในสมองส่วนหน้า

ครูอาจต้องทนฝึนในบางเรื่องเพราะอาจถูกบ่มเพาะมาอีกแบบหนึ่ง แต่กลับเป็นสิ่งที่ดีต่อการขัดเกลาตนเองให้มีวุฒิภาวะ

เราไม่ได้เชื่อความรู้กันมากนัก ลึก ๆ แล้วเราเชื่่อความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ความรู้มีไว้เพียงเพื่อเป็นเหตุผล อธิบายความรู้สึก เราเรียนรู้มามากมายว่าดื่มเหล้าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่เหล้าก็ดำรงอยู่ในสังคมมานานนับ เราซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ทั้งที่รู้ว่าโอกาสที่จะถูกนั้นมีเพียง ๑:๑,๐๐๐,๐๐๐ บางครั้งการทดลองกินยาจริงกับก้อนแป้งก็อาจให้ผลตอ่การรักษาไม่ต่างกัน ความรู้สึกของมนุษย์ก่อตัวขึ้นและจัดเรียงเป็นตัวที่มาเกาะกับแกนความรู้สึกที่เรามีอยู่เดิมแล้วเท่านั้น เราอาจจะสลัดมันออกเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าเกิดขัดกับความรู้สึก เรามักจำเหตุการณ์ในอดีตนานแล้วได้บางเหตุการณ์เท่านั้น และเหตุการณ์ที่จำได้นั้นมักจะเชื่อมกับความรู้สึกบางอย่างด้วยเสมอ อาจเป็นดีใจ เศร้า เสียใจ ตื่นเต้น กลัว เกลียด ขยาด เจ็บปวด ฯลฯ ความรู้สึกยังเป็นที่มาของคุณธรรมจริยธรรม เช่น

เราเห็นลูกนกตกลงมาจากรัง คุณธรรมและจริยธรรมไม่ได้กระโดดออกมาทันที แต่ความรู้สึกสงสารและความรู้สึกคิดถึงแม่จึงทำให้เราแสดงจริยธรรมออกไปโดยการนำลูกนกกลับไปไว้ในรังเช่นเดิม เรารู้สึกปลาบปลิ้มที่ได้ทำอย่างนั้นและสั่งสมเป็นคุณธรรมเป็นความเมตตา เป็นความกรุณาในตัวเรา

การเรียนรู้เพื่อการจดจำประสบการณ์หนึ่ง ๆ นั้น จึงจำเป็นที่จะให้เชื่อมต่อกับความรู้สึกของเด็ก ๆ ประสบการณ์ที่จดจำมาเพียงเหตุการณ์เดียว อาจไม่ถึงความเข้าใจหรือการนำไปใช้ได้และโครงสร้างความรู้สึกที่เกิดขึ้น องค์ความรู้ที่เชื่อมต่อกับความรู้สึกก็จะใช้ได้จริงเช่นกันเป็นชีวิตจริงที่ผสมผสานทุกอย่างลงตัวแล้ว ซึ่งคุณธรรมกับความรู้จึงไม่ได้แยกชั้นกันอยู่

..

..

..............................................................................................

..

เห็นชื่อบทความแล้วก็ตั้งคำถามในใจ

"ครูผู้ไม่สอนคุณธรรมจริยธรรม"

อ่านแล้วช่างขัดกับสิ่งที่ครูสอนเรา
ขณะที่เรายังเป็นนักเรียนอยู่

แต่เมื่ออ่านจบ พบว่า

อาจารย์วิเชียร ต้องการบอกว่าเราว่า

การที่จะสอนคุณธรรมจริยธรรมได้นั้น
ไม่ใช่สอนจากหนังสือตำเราที่อยู่ตรงหน้า
หากแต่มันควรจะเกิดเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงด้วย

ซึ่งครูนั่นแหละที่ทำหน้าที่หาประสบการณ์เหล่านั้นมาให้
และยังไม่พอ ครูยังต้องเป็นต้นแบบให้กับเด็กเหล่านั้นอีกด้วย

ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน

ประโยคนี้จึงเป็นข้อสรุปที่ดีว่า

"ครูผู้ไม่สอนคุณธรรมจริยธรรม" คืออะไร

บุญรักษา ทุกท่าน ;)...

..

..............................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ ...

วิเชียร ไชยบัง.  วุฒิภาวะของความเป็นครู.  พิมพ์ครั้งที่ ๕.  บุรีรัมย์ : สำนักพิมพ์เรียนนอกกะลา, ๒๕๕๘.

..

..

หมายเลขบันทึก: 647987เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2018 00:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2018 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วันนี้ก็ยังไม่สายสำหรับตัวเรา

สำหรับเด็กเล็ก ๆ ในครอบครัวที่บทบาทของคนเลี้ยงเองก็ไม่พร้อมกล่อมเกลา  เป็นต้นแบบที่ดีไม่พอ ทั้งเวลาและคุณภาพ ... คุณครูก็รับช่วงต่อไปนะคะ  สู้ ๆ ค่ะ

สอนตัวเองให้ได้ก่อน  ทำเป็นตัวอย่างก่อน  เห็นผลจากการกระทำก่อน  แล้วค่อยมาสอนผู้อื่น  ข่าวครูอาจารย์ที่ขาดจริยธรรมคุณธรรมจะได้น้อยลง

เช่นนั้นครับ ท่าน อ.ดร. ไพโรจน์ จันทรมณี ;)...

ทำไม่ได้ อย่าสอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท