เห็นกายในกาย ถึง ธรรมกาย ตอนที่ ๔


       ในทางปฏิบัติ พระโยคาวจรเมื่อปฏิบัติถึง "ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย" หรือ "ดวงปฐมมรรค" หรือ "ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน" นี้แล้ว ควรปฏิบัติภาวนาให้รุดหน้าไปถึงธรรมกายก่อน แล้วใช้ตาหรือญาณธรรมกายเพ่งพิจารณาดูจะเห็นสภาวะของสังขารได้ชัดเจนดีกว่าการเพียงแต่เข้าถึงดวงปฐมมรรคนี้แล้วก็พิจารณาสภาวธรรมเลย

       จึงให้รวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุด นิ่ง ตรงกลางของกลางอากาศธาตุกลางวิญญาณธาตุนั้นต่อไป พอใจหยุดนิ่งถุกส่วน ศูนย์กลางก็จะขยายว่างออกไป และจะปรากฎดวงธรรมที่ใน สว่าง ต่อๆ ไป จนสุดละเอียด ็ให้หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆๆ ดวงธรรมที่ใสสว่างและละเอียดๆ ตอๆ ไปจนสุดละเอียด คือเมื่อปฏิบัติไปถึง "ดวงศีล" อันเป็นศีลเป็น "ศีลเห็น" ซึ่งเป็นเครื่องกลั่นกรองกาย วาจา และใจที่ละเอียด บริสุทธิ์ในพระกัมมัฎฐานผู้ใดมีสติสัมปชัญญะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนี้ ให้ใสบริสทุธิ์อยู่เสมอ เป็นอันเจตนาความคิดอ่านทางใจ (ดวงเห็น จำ คิด รู้) ที่ซ้อนอยู่ในท่ามกลางดวงศีล นี้ ก็บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มัวหมอง ความประพฤติปฏิบัติทางกายและวาจา ก็ย่อมไม่พิรุธเสียหาย จึงเป็น "อธิศีล" ชื่อว่า "ศีลวิสุทธ์" อันเป็นพื้นฐานให้เจริญถึง "จิตตวิสุทธิ์" ต่อไป 

            ดวงสมาธิ เมื่อพระโยคาวจรเจริญภาวนา รวมใจหยุดนิงถึงดวงสมาธินี้ย่อมยกภูมิจิตใจขึ้นเป็นฌานจิต อันประกอบด้วยองค์คุณ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานขึ้นไป กิเลสนิวรณ์ย่อมสิ้นไป ใจ (ดวงเห็น จำ คิด รู้) ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใน เป็น "อธิจิต" ชื่อว่า "จิตตวิสุทธิ์" อ่อนโยน ควรแก่งานวิปัสสนาปัญญา

            ดวงปัญญา เมื่อใจหยุดนิ่งถึงดวงปัญญานี้จะปรากฎเห็นเป็นดวงใสสวางตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดม อันเป็นที่ตั้งของธราติละเอียดของอายตนะ ๑๒ และ ธาตุ ๑๘ ซึ่งตั้งอยุ่ในท่ามกลางธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุ (ธาตุรับรู้) ให้เกิด และเจริญวิชชา และอภิญญา ได้แก่ ทิพยจักษุ และทิพยโสต ฯลฯ ให้สามารถ รู้ เห็น สังขารธรรมที่ละเอียดๆ เกินกว่าสายตาเนื้อหรือประสาทหูของมนุษย์จะสัมผัส รู้ เห็น ได้ยินได้

          อย่างน้อยก็สามารถจะรู้เห็นสัตว์โลกในภพภูมิที่ละเอียด เช่น เทพยดา หรือ เปรต อสุรกาย และสัตว์นรกได้ นั้นคือสามารถจะรู้ เห็นความปรุงแต่งด้วยผลบุญ (ปุญญาภิสังขาร) ด้วยผลบาป (อปุญญาภิสังขาร) เป็นต้นไป ก็ย่อมจะเห็นสามัญญลักษณะ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นไปในภุมิ ๓ นี้ ตามที่เป็นจริงได้ อย่างกว้างขวางขึ้นจึงเป็น "อธิปัญญา" ช่วยให้วิปัสสนาญาณ และวิสุทธิ ๕ เจริญขึ้นอย่างละเอียดและรวดเร็ว

           ดวงวิมุตติ เมื่อหยุดนิ่งกลางของกลางถึงดวงวิมุตติ ก็ช่วยให้หลุดพ้นจากกิเลสหยาบของมนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฎฐิ ได้

           ดวงวิมุตติ เมื่อหยุดนิ่งกลางของกลางถึงดวงวิมุตติ ก็ช่วยให้หลุดพ้นจากกิเลสหยาบของนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฎฐิ ได้

          ดวงวิมุตติญาณทัสนะ เมื่อใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะนี้ย่อมหยังรู้ความหลุดพ้นจากกิเลสขั้นหยาบ แล้วก็จะได้เห็นผลญาณตามที่เป็นจริงในเบื้องต้น คือ เมื่อหยุดกลางของกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนี้ ถูกส่วนเข้า สูนย์กลางจะขยายว่างออกไป แล้วจะปรากฎกายมนุษย์ละเอียด มีลักษะเหมือนผุ้ปฏิบัติเอง แต่โปร่งใส และสวยงามกว่ากายเนื้อ อยู่ในท่าขัดสมาธิ นั่งอยู่บนองค์ฌาน (มัสัณญานเหมือนแผ่นกระจก) กลมใส หนาประมาณเทา ๑ ฝ่ามือ ของกายละเอียดนั้นเอง) องค์ฌานนี้ปรากฎขึ้นรองรับกายมนุษย์ละเอียดโดยธรรมชาติ เมื่อปฐมฌานอันประกอบด้วยองค์ ๕ สำเร็จด้วยใจของกายมนุษย์ละเอียด ซึ่งตั้งอยุ่ในท่ามกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะของกายมนุษย์หยาบ นั้นเอง.. "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาเบื้องต้น ถึง ธรรมกาย"


หมายเลขบันทึก: 647116เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2018 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2018 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท