ทำไมต้องทำสันทนาการ ?


ทำไมต้องทำสันทนาการ ?
สันทนาการเป็นสิ่งที่นักกิจกรรมรุ่นใหม่ มักจะใช้เป็นกิจกรรมแรกเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนหรือเนื้อหา เเต่รู้ไหมว่า "ทำไมต้องสันทนาการ ทำไมต้องสนุก ทำไมต้องใช้เกม ใช้เพลง สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความหมายต่อบรรยากาศการเรียนรู้อย่างยิ่ง

จุดประสงค์การทำสันทนาการ
๑) เพื่อเตรียมความพร้อม ละลายพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมเรียนรู้ เข้าด้วยกัน พยายามลดช่องว่างทางอายุที่ปิดกั้นการเรียนรู้ลงให้มากที่สุด 
๒) เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเนื้อหาหลักของกิจกรรม 
๓) เพื่อสอนเเง่มุมอะไรบางอย่าง โดยใช้สันทนาการเป็นกิจกรรมเรียนรู้เนื้อหาโดยตรง
๔) เพื่อเป็นกิจกรรมผ่อนคลาย จากบรรยากาศของความเครียด กลายเป็นบรรยากาศของการเรียนรู้อีกครั้ง และอื่นๆ

หากกล่าวโดยรวม จะเห็นว่า สันทนาการที่มีความสนุก จะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ขั้นถัดไป นั่นเอง 

ทฤษฎีกิจกรรมสันทนาการที่ควรรู้
ในฐานะนักกิจกรรมกับความเข้าใจถึงสารัตถะแห่งความหมาย จึงน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เป็นทักษะการเรียนรู้ของกระบวนกร เพื่อรู้อย่างนุ่มลึกขึ้น จัดกระบวนการอย่างเข้าใจ การที่เราใช้สันทนาการ เพื่อนำเข้าสู่กิจกรรมหลักนั้น มีความหมายสำคัญมาก มีแนวคิดที่อยากให้เรียนรู้ ดังนี้

๑) ทัศนคติ(Attitude) ตามทฤษฎีจิตตพิสัย(Affective domain)ของบลูม เป็นภาษานักการศึกษา ซึ่งเป็นเหมือนประตูแห่งการเรียนรู้ หากเปิดประตูแห่งทัศนคตินี้ได้ ก็จะเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข นั่นหมายความว่าการที่เราเอากิจกรรมแห่งความสนุก เช่น สันทนาการ มานำเข้ากิจกรรมจะทำให้เด็กเปิดใจที่จะเรียนรู้ได้ดีมากๆเลยทีเดียว 

๒) ทฤษฎีสมอง๓ชั้น ปัญญา ๓ ฐาน ของรูดอฟ ไซส์เนอร์ กล่าวว่าหากสมองอยู่ในโหมดปกติ ได้แก่ ความกล้า(ฐานกาย) ความสบายใจ(ฐานใจ) เเละการคิดสร้างสรรค์(ฐานคิด) ซึ่งกิจกรรมสันทนาการเเละกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์สามารถเปิดประตูทั้ง๓ฐานได้ ช่วยให้สมองเข้าสู่โหมดปกติ ไม่อยู่โหมดปกป้องนั่นเอง 

๓) ทฤษฏีคลื่นสมอง ปกติสมองคนเราจะอยู่ในคลื่น Beta (พื้นฐาน) เเต่เมื่อมีสันทนาการเข้ามา สมองจะปรับเป็นคลื่นแห่งการเรียนรู้ คือ Alpha Wave นั่นเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในสถานการณ์จริง โดยกระบวนการจิตตปัญญาเป็นเเนวทางในการพัฒนาข้อนี้ได้ดีมาก

๔) ทฤษฎีระบบประสาท ปกติเราอยู่กับระบบประสาทซิมพาเทติก(กลไกป้องกันตนเอง) เเต่สันทนาการจะช่วยให้ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก(กลไกปลอดภัย) ให้ทำงานตรงข้ามกับซิมพาเทติกนั่นเอง ทำให้เกิดความไว้วางใจ ความเชื่อใจ ความสบายใจ ความผ่อนคลาย ที่จะเป็นต้นทุนไปสู่เนื้อหาบทเรียน

๕) ทฤษฎีนิวโรไซส์ กล่าวว่า สมองคนเรามีเซลล์ประสาท ชื่อ นิวรอน เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม หากนิวรอนเป็นบวก ก็จะทำดี หากนิวรอนเป็นลบก็จะทำไม่ดี สันทนาการเเละกิจกรรมดี สร้างสรรค์ ไม่ลามก ช่วยให้นิวรอนเป็นบวก ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดี

หากเราลองศึกษาดูจะเห็นว่า หลายเเนวคิดเเละทฤษฎี พูดเรื่องเดียวกัน เพียงมีชุดความคิดการมองที่เเตกต่างกันเพียงเท่านั้นเอง

หากพูดภาษานักกิจกรรม ในขั้นสนุกนี้ เรามักเรียกว่า "กิจกรรมสันทนาการ" ซึ่งใช้เพื่อละลายพฤติกรรม สานสัมพันธ์กันในค่าย คั่นความเป็นวิชาการ ให้มีบรรยากาศอยากเรียน อยากรู้มากยิ่งขึ้น ฉะนั้นเเล้ว คำว่า "สนุก" จึงมีความหมายมากต่อการเรียนรู้ในศตวรรษนี้ เเต่สนุกก็มีขอบเขตเช่นเดียวกัน ซึ่งข้อนี้เราในบทบาทผู้จัดกระบวนการ ต้องใคร่ครวญอย่างนุ่มลึก ..

อ้างอิง
หนังสือความเป็นมนุษย์กับการเรียนรู้ สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัย มหาสารคาม
แนวคิดนิวโรซายส์ ศึกษาได้ที่นี่ http://www.ftimatching.com/upl…/ebrochure/industry-focus.pdf
ทฤษฎีสมอง ๓ ชั้น ปัญญา ๓ ฐาน ศึกษาได้ที่นี่ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nitimajeng

หมายเลขบันทึก: 647029เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2018 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2018 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สังเคราะห์ได้ลุ่มลึกยิ่ง....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท