กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน


           กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน มีสติเห็นกายในกาย ทั้ง ณ ภายในและ ณ ภายนอก

           กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน นี้ จะแบ่งเป็น ๔ ตอน คือ

           - กายานุปัสสนา 

           - วิธีเจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย ถึงธรรมกาย

           - วิธีเจริญสมถวิปัสสนา กายคตาสติ และนวสีวถิกาปัพพะ

           - มรณสติ - กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน

           กายนุปัสสนา ในการมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้ง ณ ภายในและทั้ง ณ ภายอกนั้น ท่านจำแนกสิ่งที่เนื่องด้วยกายไว้ ๖ ปัพพะ (หมวด) ในปัพพะที่ ๖ ท่านจำแนกไว้ ๙ หัวข้อจึงรวม (ทั้ง ๖ ปัพพะ) มี ๑๔ หัวข้อด้วยกัน ดังนี้

          อานาปานปัพพะ ข้อกำหนดด้วยลมหายใจ คือ หายใจออก เข้า ยาว สั้น ให้รู้ กำหนดอยู่ว่า เราจักรู้แจ้งกองลมหายใจออก หายใจเข้า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก หายใจเข้า

          อิริยาบถปัพพะ ข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ คือ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน ให้รู้ หรือทรงกายอยู่อย่างไรก็ให้รู้ตัวอย่างนั้น

          สัมปชัญญปัพพะ ข้อกำหนดด้วยความรู้สึกตัว คือ ทำความรู้สึกตัวในการก้าว การถอย การแล การเหลี่ยว การคู้เข้า การเยียดออก การทรงผ้านุงห่ม การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่าย อุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การหลัย การตื่น การพูด และในการนิ่ง

        ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ข้อกำหนดด้วยของไม่สะอาด (ปฏิกูล) คือ การพิจาณาความสกปรกของ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น

        ธาตุมนสิการปัพพะ ข้อกำหนดด้วยธาุ คื อในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

        นวสีวถิกาปัพพะ ข้อกำหนดด้วยป่าช้า ๙ คือ ซากที่ตายแล้ว หนึ่งวัน สองวัน สามวัน ขึ้นพอง มีีเขียว มีน้ำเหลืองไหล ๑, ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า แร้งกา นอกตะกรุม เป็นต้น จิกกัดกิน ๑, ซากศพที่เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อเลือด มีเส้นเอ็นรึงรัด ๑, ซากศพที่ไม่มีเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด มีเส้นเอ็นรึงรัด ๑, ซากศพที่ปราศจากเนื้อเลือด บยังมีเส้นเอ็นรึงรัด ๑, ซากศพที่เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นรึงรัด มีกระดุกเรี่ยรายไปในทิศต่างๆ เป็นต้น ๑, ซากศพที่เป็นกระดูกสีขาว เหมือนสังข์๑, ซากศพที่มีกระดูกเป็นกองๆ ล่วงปีไปแล้ว ๑, ซากศพที่เป็นกระดูกผุป่น๑.."หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานถึงธรรมกาย"

คำสำคัญ (Tags): #กายานุปัสสนา
หมายเลขบันทึก: 646999เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2018 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2018 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท