สติปัฎฐาน ๔ (ตอน ๒)


          การมีสติพิจารณาเห็น กายในกาย เห็นเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ณ ภายใน และณ ภายนอก

           การมีสติพิจารณา ณ ภายใน 

           คือ เห็นในเบื้องต้น (ส่วนหยาบ) พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ของตน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงก่อน เช่นว่า พิจารณาเห็นส่วนต่างๆของร่างกายของเตัวเราเองว่าไม่งดงาม เป็นแต่ปฏิกูลโสโครก น่าเกลียด หรือเป้นที่ตั้งแห่งปฏิกูลโสโครก น่าเกลียดทั้งสิ้น และพิจาราเห็นความเกิดขึ้น เสื่อมไป คือเห็นว่า ไม่เที่ยง (อนิจฺจฺ) เป็นทุกข์ (ทุกฺข์) เพราะแปรปรวนไป และเป็นของไม่ใช่ตัวตนของใครที่ทแ้จริง(อนตฺตา) 

          ในขั้นละเอียด พิจารณาเห็นกายในกาย และวทนา จิต ธรรม ของกายในกาย ณ ภายใน ต่อๆ ไป จนสุดละเอียด ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่ง ด้วย ปุญญาภิสังขาร(ปรุงแต่งด้วยบุญกุศล) อเนญชาภิสังขาร (ปรุงแต่งด้วยฌาน สมบัติที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่จตุตถฌาน ปัญจมญาน และอรูปฌาน เป็นต้น)

          อปญญาภิสังขาร (ปรุงแต่างด้วยบาปอกุศล) ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม และที่เป็นโลกุตตรธรรม (พ้นโลก) พ้นความปรุงแต่ง ได้แก่

          กรณีปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร ก็จะพิจารณาเห็กายในกายที่ปรุงแต่งด้วยบญุกุศล คุณความดี ที่ไปประกอบ ทานกุศล และภาวนากุศล ในระดับมนุษศย์ธรรม ซึ่งจะปรากฎกายมนุษย์ ละเอียด และ เวทนา จิต และธรรม ที่บริสุทธิ์ ผ่องใน เป็นสุคติภพ

          ในระดบเทวธรรม ก็จะปรากฎกายทิพย์ ทิพย์ละเอียด และเวทนา จิต ธรรม ที่เป้ฯสุขเวทนา ที่ละเอียด ประณีต และบริสุทธิ์ ผ่องใส ยิ่งไปกว่ามนุษย์ 

          ในระดับเทวธรรม ก็จะปรากฎกายทิพย์ ทิพย์ละเอียด และเวทนา จิต ธรรม ที่เป็นสุขเวทนา ที่ละเอียด ประณีต และบริสุทธิ์ ผ่องใส ยิ่งไปกว่ากายมนุษย์ 

          ในระดับพรหมธรรม และรูปฌาน ก็จะปรากฎกายรูปพรหม รูปพรหม ละเอียด และเวสทนา จิต ธรรม ที่เป็นสุขเวทนา ที่ละเอียด ประณีต บริสุทธิ์ผ่องใน และมีรัศมีสว่างยิ่งกว่ากายทิพย์

          ในระดับอรุปฌาน เป็น อเนญชาภิสังขาร ก็จะปรากฎ กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด และวทนา จิต ธรรม ที่เป้ฯสุขเวทนา ที่ละเอียด ประณีต บริสทุธิ์ ผ่องใน และมีรัศมีสวางยิง กว่า กายรูป พรหม

           และเห้ฯว่า แม้เป็นกายในกาย ที่ประกอบด้วยสุขเวทนา ที่ละเอียดประณีตด้วยจิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสในระัดบโลกิยธรรม เป็นสุคติภพ ก็ยังต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ หรือมีสามัญญลักษณ คือ ไม่เที่ยง (อนิจฺจั) เป็นทุกข์ฺ (ทุกข์) เพราะปแรปรวนไป (วิปริฯามธมมฺมโต) และไม่ใช่ัวตนทีแท้จริงของใครๆ (อนตฺตา) เพราะมไ่ม่อยู่ในอำนาจ (อวสาตฺตนโต) ของใครๆ ว่า จงอย่างแก่ (มา ชีรนฺตู) จงอย่าตาย (มามียนฺตฺุ)

          - กรณีอปุญญาภิสังขาร (ปรุงแต่งด้วยบาปอกุศล) ก็จะพิจารณาเห็นกายในกายภายใน ที่ปรุงแต่งด้วยบาปอกุศลคือความชัว ได้แก กายทุจจริต วจีทุจจริต และมโนทุจจริต ปรากฎเป็นกายมนุษย์ละเอียดที่ซอมซ่อ เศร้าหมอง ด้วยทุกขเวทนา ด้วยจิตใจ (เห็น จำ คิด รู้) ที่มัวหมอง และดวงธรรมทีทำให้เป็นกายก็ขุ่นมัว เป็นทุกคคติภพไป

         และเห็นว่า ต้องตกอยู่ในอาณัติ แห่งไตรลักาณะ หรือมีสามัญญลักษณะ คื อความเป้นอนจจิัง ทุกขัง และอนัตตา อีกเช่นกัน

         - กรณีเป็นโลกุตตระรรม (พ้นโลก) พ้นควรามปรุงแต่ง ก็จะเห็นเห็นกายธรร คื อ"ธรรมกาย" ปรากฎ ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู หยาบ ละเอียด ธรรมกาย พระโสดาหยาบ ละเอียด ธรรมกาย พระสกิทาคา หยาบ ละเอียด, ธรรมกายพระอนาคาหยาบ ละเอียด และธรรมกายพระอรหัต หยาบ ละเอดียด ซึ่งถ้ายังละสัญโญชน์ กิเลส เครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก อย่างน้อย ๓ ประการ คือ สกกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาศ ยังไม่ได้ก็ยังไม่นับว่าได้เข้าถึง รู้ เห็น และ เป้นธรรมกายที่มั่นคงเที่ยงแท้ ภาวร คือ ยังอาจเห็นๆ หายๆ ได้ ต่อเมื่อละสัญโญชน์ได้แล้วเพียงไร ก็จึงเป็นธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้เพียงนั้น.. บ้างส่วนจาก "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาเบื้องต้น ถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 646823เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2018 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2018 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท