อุทยัพพญาณ ตอนจบ


           เมื่ออารมณ์นามรูป ในอทุยัพพยญาณปรากฎให้เห็นมากๆ ขึ้น ความรู้สึกก็เกิดขึ้นตามญาณต่างๆ เช่น ความรู้สึกเห็น แต่ความดับไปของนามรูปในภังคญาณ ก็มาจากอุทยัพพยญาณนั่นเอง เรพาะความรู้สึกอย่างนี้ไม่เคยเห็นเลยตั้งแต่เกิดมา ดังนั้น เมื่อเห็นเข้าแล้วก็ย่อมตกใจกล้วและต้องไปสนใจในอารมร์ที่นามรูปดับนี้เอง เพราะความรู้สึกอย่างี้ไม่เคยเห็นเลยตั้งแต่เกิดมา ดังนั้น เมื่อเห็นเข้าแล้วก็ย่อมตกใจกลว และต้องไปสนใจในอารมร์นั้น การสนใจในอารมร์ที่นามรูปดับนี้เองก็ทำให้เห็นความดับมากขึ้น เพราะนามรูปเกิดขึ้นที่ไหน ก็ต้องดับที่นั่น แม้การเิดจากมีอยู่ แต่ก็ไม่สนใจ จึงเห็นแต่ความดับ เห็นแต่ความฉิบหายทำลายไปของนามรูปอ่างเดียวเท่านั้น  ความรู้สึกอย่างนี้วิปัสสนาเรียกว่า ภังคญาณ คือรู้สึกเห็นนามูปเป็นโทษเป็นภัยน่ากลัว ไม่เป็นที่น่ายินดี แลวก็เกิดความเบื่อหน่าย ความรู้สึกเบื่อหน่ายนามรูปนี้  วิปัสสนาเรียกว่า นิพพิพทาญาณ ตัณหาก็ค่อยๆ คลายออกจากความยินดีในนามรูปมากขึ้นทุกที นี่เป็นผลจากการเจริญวิปัสสนาหรือการปฏิบัติตามสติปัฎฐาน ถ้าไม่เดินตาทางสติปัฎฐานและปฏิบัติไม่ถูกต้องจริงๆ แล้วก็ไม่สามารถจะเกิดผลคือวิปัสสนาญาณได้

            ในอุทยัพพยญาณนี้ ถ้าหากสมาธิกำลังกล้า หรือผุ้ปฏิบัติเคยทำสมาธิมาก่อนเมื่อสมาธิมีกำลังมากแล้ว วิปัสสนูปกิเลสก็อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างอุทยัพพญาณนี้ สำหรับผู้ที่ไม่เคยทำสมาธิมาก่อนหรือมีความเพียรอ่อน วิปัสสนูปกิเลสก็ไม่เกิด เรพาะคำว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้น จะต้องเข้าถึงวิปัสสนาเสียก่อน กิเลสที่เกิดจึงจะเป็นกิเลสของวิปัสสนาถ้ายังไม่เข้าถึงวิปัสสนา คือยังไม่เข้าถึงอุทยัพพยญาณ กิเลสนั้นไม่เรียกว่าวิปัสสนูกิเลส

           วิปัสสนูปกิเลสนี้ เกิดด้วยอำนาจของสมาธิทั้งสิ้น เมื่อวิปัสสนูกิเลสเกิดขึ้นแล้ว ก็จะขัดขวางอารมร์ของวิปัสสนาที่จะดำเนินต่อขึ้นไป โดยจะทำให้มีความยินดีและหยุดอยู่เพลินอยู่อ อารมร์ของวิปัสสนาก็จะระงับหายไป กิเลสต่าง ๆที่ดับไปเป็นตทังคปหาน แล้วนั้น ก็จะกลับมาอีก ฉะนั้น วิปัสสนูปกิเลสจึงเป้ฯส่ิงทีบันทอนความเจริญของวิปัสสนา

          ด้วยเหตุนี้ ผุ้ปฏิบัติต้องมีความเข้าใจโดยเฉียบขาดในที่นั้นว่า อารมร์อย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนา ความรุ้ว่าผิดหรือถูกในที่นั้น วิสุทธิ ๗ เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ผุ้ปฏิบัติจะต้องมีวิสุทธินี้ด้วย มิฉะนนั้น อารมณ์ใดที่เกิดขึ้นมาผิด ก็อาจไม่เข้าใจเพราะกิเลสที่เกิดขึ้นในอารมร์ เวลานั้นละเอียดมาก ชวนให้หลง ชวนให้ยินดี ให้เพลิดเพลิน ให้เข้าใจผิดว่าได้เข้าถึงธรรมแล้ว หรือเข้าถึงนิพพานแล้ว ความสุขที่ประณีตเราได้เขาถึงแล้ว เช่นี้ เป้นต้น ถ้าขาดการศึกษาที่ถูกต้องตด้วยเหตุผล ก็จะรู้ไม่ได้เลยว่าอารมร์นั้นผิดหรือถูก

           เมื่อความรู้ในอุทพพยญาณปลอดโปร่งจากิเลสแล้ว หรือกำจัดวิปัสสนูปกิเลสหมดแล้ว การเห็นความเกิดดับของนามรูปจะชัดเจนขึ้น เพราะว่ากันกิเลสออกไปแล้ววิปัสสนูปกิเลสไม่มารบกวนอีก อุทยัพพญาณที่ปลอดโปร่งจากิเลสแล้วนั้น วิสุทธิ๗ เรียกว่า ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และญาณอื่นต่อๆ ไปนั้น ก็สงเคราะห์อยู่ในวิสุทธินี้ตลอดไปจนถึงอนุโลมญาณ 

         .. การเจริญวิปัสสนาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เพียรให้ทราบเหตุผลข้อปฏิบัติพสมควรแก่การที่จะให้เกิดอุทยัพพยญาณเท่านั้น เรพาะเป้นความสำคัญ ถ้าหากปฏิบัติให้เกิดถึงญาณนี้ได้แล้ว ญาณต่อๆ ไปก็ไม่ยากเลย...

             - บ้างส่วนจาก "วิปัสสนากัมมัฎฐาน แนวปฏิบัติมี รูป นาม เป็นอารมณ์"

หมายเลขบันทึก: 646535เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2018 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2018 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท