เยาวชนไทยแลนด์ 4.0


ในกระเเสการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวดของโลกโลกาภิวัฒน์ นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงวัตถุที่รวดเร็วอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวดดังกล่าว เป็น "ความจงใจ" การเปลี่ยนแปลงสังคมที่เกิดขึ้น หากเราลองสังเกตดูดีดี มันจะเเบ่งเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนการเกิดโลกาภิวัฒน์ และช่วงโลกาภิวัฒน์ โดยนับตั้งเเต่ไอโฟนเครื่องแรกทำขึ้นโดย สตีฟจ๊อฟ มวลการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้มันทวีทบเท่าความรุนแรงเป็นเลขยกกำลัง ๒ ไปเรื่อยๆ ตามทฤษฎี Moore Law ซึ่งมันจะไม่หยุด เเต่มันจะแตกไปเรื่อยๆ  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเชิงวัตถุนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เเต่มัน คือ "ความจงใจของทุน" ที่พยายามสะสมทุนเพื่อไปสู่ขั้นถัดไป ตามแนวคิดของเดวิด ฮาวีย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นการไหลเทของเทคโนโลยี ความก้าวหน้า ตามเเนวคิดของอับปาดูไร 

ภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวด ทำให้เกิดปัญหาที่ทำให้เยาวชนไทย ต้องปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะเรื่อง ๓R ๗C และ ๒L เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตท่ามการความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ที่จะนำพาประเทศไปสู่สังคมที่ยั่งยืน

เยาวชนไทยแลนด์ ๔.๐ เป็นช่วงวัยของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาบนสังคมที่ไหลเททางวัตถุและเทคโนโลยี โดยเป็น Gen Y และ Gen Z มีความถนัดด้านเทคโนโลยี คนกลุ่มนี้อยู่ในทั้งช่วงวัยเรียน และวัยทำงาน และจากการที่ยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน

ผู้นำในโลกอนาคต เป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้นำแบบคนรุ่นใหม่ จะแตกต่างจากคนรุ่นเก่า โดยผู้นำแบบเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Change Agent) ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม ยึดตามนโยบายเเละทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ น่าจะมีลักษณะ ดังนี้ 

  • รู้จักตนเอง  เข้าใจว่าตนเองชอบอะไร ถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร รู้จักเป้าหมายชีวิตของตนเอง รู้จักนิสัยบวก-ลบของตนเอง สู่การเข้าใจผู้อื่น และตระหนักในคุณค่าภายในตนเอง(Self Esteem)
  • มีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม(Creative,Innovator) โดยเฉพาะสังคม ๔.๐ ที่ต้องนำความคิดสร้างสรรค์(๓.๐)มาสร้างเป็นนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆที่จะนำไปสู่นวัตกรรม(๔.๐)ที่สามารถใช้ได้จริง
  • มีทักษะการเรียนรู้(Learning skills) สามารถตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้ ตั้งคำถามกับวิถีชีวิตเเละสังคม ค้นคว้าหาความรู้ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และคิดเชิงนวัตกรรม
  • มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information, Media and Technology Skills) สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ใช้เทคโนโลยีสื่อสารอย่างมีความหมายและสร้างสรรค์ สร้างเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดไปสู่มูลค่าเพิ่ม กล้าพูดกล้าเเสดงออกทางความคิดเห็นตามแนวคิดของตนเอง 
  • มีทักษะชีวิตและการทำงาน(Life and Career Skills) มีทักษะเชิงสังคม แก้ไขปัญหาได้ ทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ทำงานเป็นทีม สามารถบริหารจัดการชีวิตของตนเองได้ รับผิดชอบ รับฟังผู้อื่นตามวิถีประชาธิปไตย
  • มีความเป็นพลเมือง สามารถตั้งคำถามกับสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามวิถีประชาธิปไตย กล้าพูด กล้าเเสดงออกซึ่งความคิดเห็น ตามอุดมการณ์ของตนเอง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือ อยากทำ

ผู้นำในโลก ๔.๐ หากยึดตามแนวคิดของ Thailand ๔.๐ อาจมองได้ ดังนี้ 

  • ผู้นำแบบ ๑.๐ คือ ผู้นำแบบสั่งการ ยึดเอาตนเองเป็นศูนย์กลางโดยไม่รับฟังใคร ทำให้งานไม่ยืดหยุ่น
  • ผู้นำแบบ ๒.๐ คือ ผู้นำที่รับฟังความคิดเห็นของผู้ตาม แต่ยังติดกรอบ ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่เกิดสิ่งใหม่
  • ผู้นำแบบ ๓.๐ คือ ผู้นำที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมความสร้างสรรค์ของผู้ตามและองค์กร
  • ผู้นำแบบ ๔.๐ คือ ผู้นำที่สร้างนวัตกรรมทางความคิดและวัตถุ สามารถนำเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม และผู้นำต้องอยู่ท่ามกลางผู้นำ คือ ผู้นำที่สร้างผู้นำขึ้นมาด้วย

เยาวชนไทยแลนด์ ๔.๐ เป็นผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นในสังคม และผู้นำแบบเยาวชนไทยแลนด์ ๔.๐ เป็นผู้นำคนรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งยวด จึงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นในสังคมตามเรื่องที่เขาสนใจที่จะทำ สู่การเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมในด้านต่างๆ ตามปรัชญาการศึกษาแบบปฏิรูปนิยม



อ้างอิง
เดวิด ฮาร์วี. (๒๕๕๘). ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา.
วิจารณ์ พานิช. (๒๕๕๖). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
ภาพจาก : Freepik.com

 

หมายเลขบันทึก: 646525เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2018 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2018 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท