การพิจารณาอิริยาบถย่อย (สายปฏิบัติมี รูป นามเป็นอารมณ์)


           นอกจากพิจารณาอิริยาบถนั่ง นอน ยืน เดิน ที่มีอยู่เป็นประจำแล้ว ผู้ปฏิบัติยังมีความจำเป็นที่จะต้องทำกิจอื่นในระหว่างการปฏิบัติ เช่น กินอาหาร อาบน้ำ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เหล่านี้ก็ต้องมีการพิจารณาด้วย การพิจารณาเวลากินอาหาร ถ้าไม่หาวิธีกันกิเลสเสียก่อน ตัณหาและทิฎฐิก็อาจเขาอาศัยในอารมณ์นั้นได้ 

          เพราะฉะนั้น จะต้องพิจารณาเวลาที่กินอาการนั้นว่า กินทำไม ต้องไม่กิน เพราะอยากกิน หรือ อยากอร่อย แต่ต้องพิจารณาว่า จะต้องกินด้วยเหตุเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ จะให้กายดำรงอยู่เืพ่อะไร เืพ่อจะได้เป็นที่อาศัยทำกิจในการทำพระนิพพานที่ยังไม่แจ้ง ให้สำเร็จลุล่วงไป หรือเพื้อแก้ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความหิวเท่านั้น

         การพิจารณาเป็นสิ่งจำเป็น มิฉะนั้นจะกันกิเลสไม่ได้ ถ้ากินเพื่อแก้ทุกข์จากความหิวแล้ว แม้อาหารไม่อร่อยก็แก้หิวได้ ถ้ากินโดยไม่พิจารณาแล้ว เวลาไม่อร่อย โทสกิเลสก็จะเข้าอาศัย เวลาอร่อย โลภกิเลส ก็เข้าอาศัย การกินอาหารนั้นก็ย่อมจะเป็นไปกับกิเลสเรื่อยไป ไ่ม่พ้นกิเลส กิเลสก็จะสร้างสรรค์ทุกข์ให้ต่อไป หาใช่กินพื่ออกจากทุกข์ไม่

        ดังนั้น การเจริญวิปัสสนา เมื่อเวลาจะกินอาหาร ก็ต้องพิจารณาให้รู้เหตุผลด้วยทุกครั้งไป การอาบน้ำ ก็ต้องพิจารณาให้รู้ว่า เพื่อแก้ทุกข์ เวลาจะใช้บาตร ใช้จีวร ก็ต้องพิจารณาเพื่อแก้ทุกข์ ไม่ใช่นุ่งห่มเพื่อสวยงาม แต่นุ่งห่มเพื่อป้องกันหนาวกันแดดกันลม หรือกันยุงเหลือบ ริ้นไร เป็นต้น เพราะถ้ามีสิ่งรอบกวนอย่างนั้น กิจที่พึงทำก็จะตกไป ไม่สำเร็จ คือว่าจะทำอะไรๆ ทุกอย่าง ต้องมุ่งเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งทั้งสิ้น หรือให้ถึงความพ้นทุกข์ทั้งปวง เวลาถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ต้องพิจารณาเหมือนกันว่า เพราะอะไร เพราะทุกข์เกิดขึ้นแล้ว จึงต้องแก้ทุกข์

            การพิจารณาอิริยาบถย่อย สำหรับการพิจารณาอิริยาบถย่อยอืนๆ ในสัมปชัญญะบรรพนั้น มีเกี่ยวขช้องในอิริยาบถ ๔ อยู่แล้ เช่น การกำหนดรูปนั่ง เวลาจะพลิกตัวหรือลุกขึ้นยืน ถ้าไม่มีอริยาบถย่อยแล้วก็พลิกไม่ได้หรือลุกขึ้นยืนไม่ได้ ถ้ายืนอยู่แล้วจะนั่งถ้าไม่มีอิริยาบถย่อยช่วย ก็นั่งไม่ได้ จะทำอะไรๆ ทุกอย่างจะต้องมีอริยาบถย่อยอยู่ด้วยทั้งนั้น ในอริยายถใหญ่ ถ้ากำหนดอิริยาบถใหญ่ก่อน และอิริยาบถใหญ่ชัดเจนดีแล้ว ก็จะรู้ถึงอิริยาบถย่อยด้วย

          อิริยายถนั้นช่วยแก้ทุกข์ของอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อยก็เป็นทุกข์เหมือนกัน คือ เป็นสังขารทุกข์ อิริยาบถใหญ่เป็นทุกขเวทนา อุปมาเหมือนคนป่วย อิริยาบถย่อยเหมือนคนพยายบล คนพยายบาลก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เพราะต้องคอยพยุงคนป่วยให้ลุก ให้นั่ง ให้พลิกตัว เป็นต้น มิฉะนั้น คนป่วยไม่อาจพลิกตัวเปลี่ยนอิริยาบถได้ แต่ผุ้ปกิบัติใหม่ยังไม่ต้องสนใจในอริยาบถย่อยให้มากนัก เพราะเมื่อกำหนดอิริยาบถใหญ่ชัดเจนดีแล้วอิริยาบถย่อยนี้ก็จะรู้ไปเอง

        - บางส่วนจาก วิปัสสนากัมมัฎฐาน แนวปฏิบัติมี รูปนามเป็นอารมณ์

หมายเลขบันทึก: 646478เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2018 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2018 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท