การปฏิบัติวิปัสสนา (สาย รูปนาม) ตอนที่ ๔


           ไม่ต้องเปลี่ยนการกำหนดอารมณ์

           ขณะที่กำหนดดูรุปอริยาบถใดอิริยาบทหนึ่งอยู่นั้น เมื่อรู้ว่าฟุ้งไป ก็ไม่ต้องกำหนดนามฟุง แต่ให้มากำหนดดุรูปอิริยาถนั้นๆ เสียใหม่ อุปมาเหมือนการหัดขึ่รถจักรยาน เมื่อแรกหัดใหม่ๆ ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องลม เรพาะยังไม่ชำนาญ เมื่อล้มแล้วจะทำอย่างไร ก็ต้องจับรถที่ล้มนั้นขึ้นมาหัดขี้ใหม่ ไม่ไช่ว่าเมือล้มแล้ว ไปต้องการรถคันอื่นมาเปลี่ยนใหม่เรื่อยไป จะต้องยกรถคันเดิมนั้นขึ้นมาหัดขี่ต่อไปใหม่ ผุ้เจริญวิปัสสนาที่ฝึกใหม่ก็เช่นเดียวกัน จะต้องหัดทำไปเช่นเดียวกันนี้ คือ เมื่อรู้ว่าจิตตกไปหรือหลุดไปจากอารมณ์ปัจจุบัน ก็ให้กลับมาตั้งที่อารมณ์ปัจจุบันที่กำลังกำหนดนั้นเสียใหม่เท่านั้นเอง

            จริงอยุ่ ฟุ้งนั้นก็เป็นปรมัตถ์ เป็นนามธรรม และก็เป็นปัจจุบันธรรมด้วย แต่ผุ้ปฏิบัติใหม่ๆ ไม่ควรย้ายอารมณืไปดุนามฟุ้ง เพราะรูปเป็นของหยาบ ดูงาย เห็นง่าย ผุ้ปฏิบัติใหม่ปัญญาน้อย จะไปดูของละเอดียด คือนามนั้น ดุยากเห้นยาก และรูปอิริยาบถก็เป็นปรมัตถ์อยุ่แล้ว และเป็นปัจจุบันอยู่เช่นเดียวกัน

           การกำหนดอริยาบถ ๔ นี้ ให้กำหนดรูปใดรูปหนึ่งที่เป็นปัจจุบันเรื่อยไป ถ้าไม่มีเหตุผลอื่นใดมาทำให้ต้องเปลียนแล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยน ถ้าผุ้ปกิบัติกำหนดอริยาบถได้ปัจจบันมากเข้า ฟุ้งก็ไม่เกิดเพราะฟุ้งนั้นอาศัยอดีตอนาคตเข้ามา ถ้าปัจจุบันตั้งอยู่แล้วมีอริยาบถฟุ้งที่มีแต่อดีตอนาคตเท่านั้น ก็เข้าไม่ได้

          ข้อสำคัญนั้นอยู่ที่ว่า ผุ้ปฏิบัติรู้ตัวหรือเปล่าว่าฟุ้ง ถ้าไม่รู้ การปฏิบัตินั้นก็หลุดไปแล้วจากอารมร์ปัจจุบัน การฝึกบ่อยๆ ทำบ่อย มนสิการบ่อยๆ จึงจะรู้ว่า จิตตกไปหรอืหลุดไปจากอารมณ์ปัจจุบันแล้ว ก็กลับมาตั้งอบุ่ที่อริยาบถที่เป็นปัจจุบันเสียใหม่ ไม่ยากเลย

          อนึ่ง อารมร์ปัจจุบันเป็นความสำคัญที่สุดของการเจริญวิปัสสนา ที่จะกัดอภิชฌาและโทมนัสให้เกิดขึ้น

          อารมร์ปัจจุบัน หมายถึง รูปนามที่เกิดขึ้นเฉาพะหน้า โดยที่อารมณ์นั้นเกิดขึ้นเองและผุ้ปฏิบัติตามดุอารมรณ์นั้น

          ถ้าอารมณ์ใดเกิดขึ้นอ้วยความปรารถนาของผุ้ปฏิบัติ อารมณ์นั้นก็จะกัดกิเลสไม่ไ้เลยเพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจของตัณหาซึ่งเป็นตัวกิเลส เช่น เมื่อต้องการความสงบ จึคงทำความเพียร ไม่ว่าจะกำหนดอะไรก็ตามใจก็เพ่งอยุ่ หรือต้องการอยุ่ในความสงบ แล้วความสงบก็เกิดขึ้น เป็นต้น ที่เป้นเช่นนี้เพราะว่า เมื่อจิตมุ่งไปเพื่อความสงบ ความสงบก็เกิดขึ้นได้จริงๆ แต่ว่าไม่สามารถจะเห็นความจริงคือไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้ทั้งนี้ ก็เพราะวิปลาสตามเข้าไปในความสงบ โดยเห็นว่าความสงบี้เป็นสุขจริงหนอ ก็ทำให้ยินดีพอใจในความสงบนั้น 

         เมื่อวิปลาสตามเข้าไปครอบคลุมอารมร์สงบแล้ว ก็จะไม่เห็นเลยว่า อารมร์ที่สวบเป็นทุกข์ หรือไม่เที่ยง หรือไม่ใช่ตัวตนได้ เรพาะความสงบที่เกิดขึ้นนั้น เป้ฯไปด้วยอำนาจของวิปลาสที่ผุ้ปกิบัติต้งอากร โดยผุ้ปฏบิัติไม่เข้าใจว่า ความสงบนั้นก็มีไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน เหมือนกัน ไม่มีสาระอะไรดีกว่าความคิดฟุ้งซ่านหรือุทธัจจะเลย

         อนึ่ง ผุ้ปฏิบัติควรทราบว่า อารมร์ใดที่ผุ้ปกิบัติทำขึ้น อารมร์นั้นไม่ใช่ของจริง เมื่อสร้างขึ้นแล้ว จะกำหนดให้รู้ความจริงจากอารมณ์ที่สร้างขึ้นนั้นไม่ได้ เรพาะอารมณ์นั้นไม่ใช่ของจริง เมือ่สร้างขึ้นแล้ว จะกำหนดให้รู้ความจริงจากอารมณ์ที่สาร้างขึ้นนั้นไม่ได้ เรพาะอารมณ์ที่สร้างขึ้นด้วยอำนาจของความต้องการซึ่งเป็นตัวกิเลส จะเป็นเคร่องปิดบังทำให้ไม่สามารถที่จะได้ควาจริงในอารมณ์นั้น

        อารมร์ที่จะให้ความจริงได้ ต้องเป็นอารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นเอง เช่นอริยาบถต่างๆ นั้น แม้ว่าเราไม่ต้องการจะพลิก แต่ก็ต้องพลิกต้องเปลี่ยน เรพาะอะไร เพราะเมื่อทุกข์เกิดขึ้น ก็ต้องพลิกต้องเปลี่ยนไปเอง ไม่พลิกหรือไม่เปลี่ยนไม่ได้ และทุกข์นั้นไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะความต้องการของเรา แต่เกิดขึ้นเอง

        ฉะนั้น อารมร์ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้เกิดจากความต้องการ จึงเป็นอารมณ์ปัจจุบันเรพาะมไ่เป็นที่อาศัยของกิเลสตัณหา 

        การให้มีสติตามดู ตามรู้ เช่นนี้ ก็เพื่อกันมิให้กิเลสเข้าอาศัยในอารมณ์นั้น คือมีความรุ้สึกตัวกำหนดที่อารมณ์นั้นด้วยสติสัมปชัญญะ กิเลสจึงจะเข้าอาศัยในอารมร์นั้นไม่ไ้ แต่กิเลสอาจจะเข้อาศัยอารมณ์นั้น ก็ต่อภายหลัง

         ฉะนั้น ถ้ามีการสำรวมหรอือสังวร ก้จะกันกิเลสไม่ให้อาศัยอารมร์นั้น ๆได้ลอดไปเมื่อกิเลสอาศัยไม่ได้ จึงจะได้ความจริงของอารมณ์นั้น

        ดังนั้น อารมร์ปัจจุบันจึงเป้นความสำคัญของการเจริยวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติต้องเขาใจในอามร์ปัจจุบัน และต้องเขาใจจับอารมณ์ปัจจุบันด้วย 

       บางที่ผูปฏิบัติเข้าใจว่า กำหนดอยู่นั้นเป็นอารมร์ปัจจุบัน แต่ความจริงไม่ใช่ เรพาะอารมรณ์ปัจจุบัน มีเพียงพริบตาเดียวเท่านั้น เหมือนกับการจับปลาในน้ำ คือคิดว่าจะจับได้เพราะว่า เหมือนกับการว่ายนิ่งๆ อยู่ ก็ใช้มือตะครุบลงไปจะจับให้ได้อย่างนี้ บางทีก็หลุดไปข้าหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง

        ดังนั้น การจับอารมร์ปัจจุบันจึงไม่ใช่ของง่าย เรพาะกิเลสคอยฉุดไปข้างหน้าบ้างฉุดไป ข้าหลังบ้า จึงเป็นเหตุให้เกิดอภิชาและโทมนัส จึงจำเป้จต้องเขาใจอารมณืปัจจุบันว่าคืออย่างไร และต้องเขาใจในการจับอารมณ์ปัจจุบันได้ถูกต้องด้วย

       โดยมาก ผุ้ปฏิบัติไม่ได้อูอยู่ที่อารมณ์ปัจจุบัน เช่น กำลังพิจารณาอิริยาบถนั่ง ซึ่งเป็นอารมณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นอยู่เดี่๋ยวเดียวเท่านั้นก็จริงอยู่ แต่ว่าจิตใจที่กำลังจับอารมณ์ปัจจุบันนันเคลื่อไปหารความสงบ คือมุ่งไปหาความสงบ หาใช่กำหนดดูความจริงหรือต้องการจะรู้ความจริงของอารณ์ คือรูปนั่งนั้นไม่ กลายเป็นดูเพื่อหาความสงบ ซึ่งไม่มีในเวลานั้น การดุหรือการกำหนดก็เคลื่อนไปแล้ว คือ ไม่ได้ดุอยู่ที่อารมณ์ปัจจุบันแล้ว เรพาะฉะนั้น จึงต้องเข้าใจว่า

         อารมณ์ปัจจุบัตืออะไร และจะต้องเข้าด้วยว่า จิตที่จับอารมร์ปัจจุบันนั้นมีลักษณะอย่างไร และถ้าจิตหลุดจาการมณืปัจจุบัน มีลักาณอย่างไร เรื่องนี้ต้องมีความสังเกต ุมิฉะนั้น เมื่อจิตหลุดไปจากอารมณ์ปัจจุบัน ก็จะหลุดไปเรื่อยๆ โดยไม่รูตัวว่า ไม่ได้จับอยู่ที่อารมณ์ปัจจุบัน ทำให้เสียเวลาเปล่า

        ถ้าหากรู้ว่า หลุดไปจากอารมณ์ปัจจุบัน ก็จะได้กลับมารุ้อยู่ที่อารมณืปัจจุบันได้ต่อเนื่องกันนานๆ ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นความจริงได้

        - บางส่วนจาก "วิปัสสนากัมมัฎฐาน แนวปฏิบัติมี รูปนาม เป็นอารมณ์"

            

หมายเลขบันทึก: 646436เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2018 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2018 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท