นวัตกรรม การจัดการศูนย์การเรียนรู้คนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน


  

สังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนได้ต้องเปลี่ยนจากฐานราก ชุมชนคือฐานรากของสังคม ถ้าชุมชนเข้มแข็ง สังคมก็จะเข้มแข็ง วันนี้สังคมอ่อนแอเพราะชุมชนอ่อนแอ อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ถูกครอบงำจากคนที่มีอำนาจมากกว่า มีความรู้มากกว่า มีทุนมากกว่า
(สยามรัฐรายวัน, 2556)

ก่อนจะเลือกทำงานด้านการวิจัย  ปรอยฝนได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับพี่ปืน รงค์รบ ในเรื่องของการไปจัดศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชน

เพื่อจัดการเรียนการสอนให้เด็กพิการ ทำให้ได้รู้จักการทำงานอย่างมีขั้นตอนและการเรียนรู้แบบทีมงานเครือข่าย อีกทั้งได้สรุปงานออกมาในลักษณะของงานวิจัย

นวักรรมการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้มีระบบการทำงาน ดังนี้

๑. แบ่งประเภทผู้พิการ โดยเลือกประเภทที่มีศักยภาพมากที่สุด มาเป็นกลุ่มนำร่อง

๒. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเพื่อหาข้อสรุปในการแก้ปัญหาต่างๆ หรือประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิต
    ชุมชนจะมีการพัฒนา การเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ยังทำให้ความเป็นชุมชนแนบแน่นขึ้น
๓. สื่อสารความสำเร็จและองค์ความรู้ที่ได้ ไปในช่องทางต่างๆ ในชุมชน เช่น เสียงตามสาย วิทยุชุมชน
    ป้ายประกาศที่วัด เทศบาล โรงพยาบาลตำบล โรงเรียน และใช้ อสม.เป็นผู้สื่อสารอีกหนึ่งช่องทาง)
๔. โฆษณาเชิญชวน กลุ่มผู้พิการเป้าหมายที่ยังไม่ออกมาร่วมกิจกรรม ให้ออกมารวมกลุ่ม
    ชี้ให้เห็นความสำเร็จและประโยชน์ 
๕. ประเมินผลและปรับกลยุทธ์ ยุทธวิธี

โมเดลขั้นแรก และเป็นภาพใหญ่ ในการปฏิบัติงานจริงๆ 

ซึ่งจริงๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ เราออกแบบโมเดลตรงนี้ไปไกลมาก
คุณรงค์รบมองว่ามันอาจไม่ใช่โมเดลที่เป็นคำตอบสุดท้าย ดังนั้น จึงขอประเมินสถานการณ์ภายหลัง

อ้างอิง: https://www.gotoknow.org/posts...

การร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ พอจะสรุปได้ 8 ประการว่า ชุมชนเรียนรู้อย่างไรจึงได้ผล

     1. สนุก  เพราะเรียนเรื่องชีวิต เกี่ยวกับชีวิตจริง เรื่องใกล้ตัว เรียนด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่เครียด ไม่กดดัน ไม่แข่งขันเพื่อเอาชนะ ไม่มีการแพ้คัดออก ไม่ใช่การเรียนที่เป็นทุกข์

     2. ได้ความรู้จริง เพราะได้ปฏิบัติ ทดลองด้วยตนเอง ความรู้จริงมาจากการลงมือทำมากกว่าการนั่งฟังการบรรยาย ซึ่งหากไม่ได้นำไปปฏิบัติ ไม่นานก็ลืม

     3. ได้เพื่อน ได้เครือข่าย เป็นการเรียนรู้ร่วมกับคนอื่น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้สนทนาวิสาสะ ได้เสวนา ได้ถกเถียง จนเกิดความรู้ความเข้าใจ ได้ร่วมมือกันคิดร่วมมือกันทำ ช่วยกันพัฒนา ช่วยกันแก้ปัญหา

     4. ได้กินได้ใช้ เพราะเรียนแล้วได้ผลจนได้กินได้ใช้สิ่งที่ตนได้ทำ เป็นผลที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ทันที ไม่ต้องรอให้เรียนจบหลักสูตรก็ได้รู้รสของการเรียนรู้ที่ดีที่ให้ผลตอบแทนที่ "กินได้" จริง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เรียนแล้ว "ทำเป็น" ไม่ใช่แค่ท่องจำได้ แต่ทำได้จริงมากกว่า

     5. ได้ขาย ได้เงิน การเรียนรู้ที่ดีต้องเรียนให้ครบวงจร ไม่ใช่เพียงทำเป็น ผลิตเป็น แต่รวมถึงการจัดการเป็น เมื่อเหลือกินเหลือใช้ก็ขาย แต่ต้องเรียนรู้การจัดการ การขาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เรียนรู้ได้ และต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ จึงจะเรียกว่าเรียนแล้วได้ผลจริง

     6. ได้ความคิด ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่ได้รับความคิดต่างๆ มา แต่หมายถึงเรียนแล้วคิดเป็น ถ้าเรียนแล้วคิดเป็นย่อมหมายถึงได้เข้าถึงหัวใจของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายในวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบไทยๆ ที่เน้นการรับรู้ ท่องจำ ซึ่งนำไปสู่การเลียนแบบมากกว่า การเรียนรู้ที่ดีนำไปสู่การคิดเป็น เมื่อคิดเป็น คิดได้ ก็จะมีความเป็นอิสระปลดปล่อยจากการครอบงำ ทำให้คิดอะไรใหม่ๆ ได้อีกมากมาย

     7. ได้วิธีการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้เป็น ช่วยให้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เริ่มจากการเรียนการตั้งคำถาม เริ่มจากความไม่รู้ความสงสัย ไม่ใช่เริ่มจากการหาคำตอบสำเร็จรูป แต่มาจากการตั้งคำถามเป็น ซึ่งจะนำไปสู่การค้นหาคำตอบใหม่ๆ นำไปสู่การสืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ ผู้รู้ นำมาเชื่อมโยงจนเกิดความรู้ความเข้าใจ เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติก็ยิ่งทำให้รู้แจ้งเห็นจริงจนสรุปเป็นหลักการ หลักคิด เป็นปรัชญา เป็นปัญญา

     8. ได้แรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นอะไรที่ล้ำลึกและมีพลัง แรงบันดาลใจเป็นแรงขับจากภายในทำให้คนที่ล้มลุกขึ้นมาเดินหน้าได้ ทำให้คนที่คนที่สิ้นหวังเกิดความหวัง คนที่คิดว่าถึงทางตันเห็นทางออก คนที่คิดว่าตนเองไม่มีอะไรค้นพบศักยภาพหรือสิ่งดีๆ ที่ซ่อนอยู่ในตัวเอง

     การปฏิรูปการศึกษาวันนี้ยังพายเรืออยู่ในอ่างเพราะไม่สามารถก้าวข้ามกรอบคิดเดิมๆ ได้ ไม่เพียงแต่ไม่สามารถทำให้การศึกษากับชีวิตสัมพันธ์กัน ที่สำคัญ ยังไม่สามารถทำให้การศึกษากับการเรียนรู้เป็นเรื่องเดียวกันได้  (ดร.เสรี,)

หมายเลขบันทึก: 646301เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2018 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2018 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท