อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ตอนที่ ๒


           .. ภัททันตะวิลาสมหาเถระ ได้ขอร้องท่านให้เรียนพระอภิธรรม โดยบอกว่าขณะนี้สภาวะธรรมกำลังชัดเจนจะทำให้เข้าใจดีย่ิงขึ้น วิธีการสอนนั้น ภัททันตะวิลาสมหาเถระ ได้เขียนเป็นภาษาพม่า แล้วให้หลวงประพันธ์พัมมนการ (สอนสามโกเศศ) แปลเป็นภาษาไทย การเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก

             พ.ศ. ๒๔๘๓ ผ่านมา ๘ ปีหลังจากได้ปฏิบัติวิปัสสนาและศึกษาพระอภิธรรม ท่านได้เรียบเรียงหนังสือแนวปฏิบัติธรรมและวิปัสสนาภูมิ ชื่อว่า "ความเบื้องต้น" เป็นงานหนังสือธรรมะเล่มแรกของท่าน

           พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้ร่วมกันคิดตั้งสถานที่เล่าเรียนพระอภิธรรมสนทนาะรรมสมาคม หลังวังบุรพา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยนิมนต์ภัททันตะวิลาสมหาเถระ มาสอนทุกวันเสาร์บ่าย ๒ โมง แต่สอนได้แค่ ๒ เดือน เรพาะหลีงจขากที่ท่านได้รับนิมนต์ไปบ่อพลอยไพลิน จึงหวัดพระตะบอ

กลบมาเกิดไม่สบาย และไม่สะดวกในเรื่องล่าม การเรยนการสอนพระอภิธรรมครั้งนี้จึงต้องหยุดไป

          พ.ศ. ๒๔๙๐ เดือนกรกฎาคม เร่ิมเปิดการเรียนการสอนพระอภิธรรม ณ วัดระฆ้งโฆสิตารามวรมหาวิหาร แขวง ศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยมีพระครูสังฆรกษ์ สุข ปวโร เป้นอาจารย์ใหญ่ และมีอาจารย์สาย สายเกษม อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ เป็นครู โดยใช้หลกสูตรพระอภิธรรม ๙ ปริจเฉท ที่อาจารย์สาย สายเกษมได้เรียบเรียงไว้ ในครั้งนั้นมีนักศึกษาทั้งหมดประมาร ๑๐๐ คน

         พ.ศ.๒๔๙๔ ทางพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึงตั้งอยู่หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ได้เชิญท่านไปแสดงปาฐกถาพระอภิธรรมทุกวันเสาร์ 

         พ.ศ.๒๔๙๖ ร่วมกับอาจารย์บุญมี เมธางกุล และคุณพระชาญบรรณกิจ ตลอดจนอาจารย์ท่านอื่นๆ เร่ิมสอนอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๓ สอบจบปริจเฉทที่ ๙ เมื่อปี ๒๕๒๐

        พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้ย้ายการบรรยายพระอภิธรรมจากพุทธสมาคมฯ มาที่หอประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ซึงจุคนได้ประมาณ ๕๐๐ คน มีผู้เข้าฟังแน่นทุกครั้ง รัฐบาบลก็ให้ความสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่อมาสภาวัฒนธรรมได้ถูกยกเลิกไป จึงกลับมาใช้สภานที่พุทธสมาคมฯ

         พ.ศ.๒๔๘๗ จัดตั้งสำนักปฏิบัติวปิัสสนาที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดสามพระยา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร สำนักนาฬิการวัน อยุธยา วัดป่าโสภณ ลพบุรี เดินทางไปสอนวิปัสสนาที่นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว และสนับสนุนการตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนา รวม ๔๑ จังหวัด

       พ.ศ. ๒๕๐๖ จัดตั้ง "สมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศษสนา" และ "สมาคมสงเคราะห์ทางจิต" ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมทั้ง ๒ แห่ง มาตลอดอายุของท่าน ในระหว่างนั้นได้นำคณะกรรมการฯ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภุมิพลอดุลยเดชฯ หลายครั้ง และยังเคยกราบบังคมทุลตอบพระราชปุจฉาในเรื่องธรรมอีกด้วย

         พ.ศ.๒๕๒๓ ในโอกาสอายุครบ ๘๒ ปี คณะศิษย์ได้ร่วมกันจัดตั้งมุลนิธิและของอนุญาตใช้ชื่อท่านเป็นชื่อของมูลนิะิว่า "มูลนิธิแนบมหานีรานนท์" ตั้งเป้ฯสำนักปฏิบัติวิปัสสนาและสำนักศึกษาพระอภิธรรม โดยท่ายย้ำว่า "อย่าเอาธรรมะไปซ์้อขายกันนะ พระพุทธเจ้าท่านให้เราด้วยความบริสุทธิ์"

         วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๑๓.๑๑ นาฬิกา ท่านได้จากโลกนี้ไปด้วยอาการสงบ สิริอายุ ๘๖ ปี 

         ๑๔ ธันวาคม ปีเดียวกัน สมเด็จพระอรยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสนมหาเถร) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีฌาปนกิจศพ ณ วัดมกุกษัตริยาราม ราชวรวิหาร..http://nab.or.th/%E0%B8%9B%E0%...

หมายเลขบันทึก: 646261เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2018 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2018 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท