อนาคตอันเก่าแก่ ที่กำลังล่มสลายการจากท่องเที่ยวและการใช้ทรัพยากรเกินขนาด (แด่ลาดัก)


อนาคตอันเก่าแก่ บทเรียนจากลาดัค

ผมไปลาดัคครั้งแรก ปี ๒๐๑๑ สมัยนั้นคนไทยยังไม่ค่อยนิยมอินเดีย และยังมองว่าอินเดีย และมีเสียงยี้.... ยาวๆ ตาม

ไปเพราะได้รับความกรุณาจากพี่ที่สนิทกันชวนผมกับภรรยาไป เราถึงมีโอกาสได้ไปดูดินแดนในฝัน


ผมรู้จักลาดักครั้งแรกจากหนังสือ เล่มในรูปนี้ที่แปลจากหนังสือภาษาอังกฤษพิมพ์ และจัดจำน่ายโดยเคล็ดไทยตอนปี ๒๕๓๘ อ่านจนจบ ปัจจุบันลืมไปแล้ว มีแต่ความรู้สึกที่จำได้ลางๆจากการอ่าน ต่อมาสมัยนั้นมีวิชากฎหมายกับสังคมและเป็นปีแรกที่คณะนิติศาสตร์ จุฬา พาไปเยี่ยมยาม โฮงเฮียนกดหมายแห่งชาดลาว ได้รู้จักกับเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งที่นั้น ถ้าจำไม่ผิด ชื่อท่านท้าว กฤษณะ พรหมมาจัน เลยให้หนังสือเล่มนี้ท่านไป เพราะ เรารู้ตั้งแต่ตอนนั้นมาว่าการพัฒนาของไทยมาผิดทาง เราไม่อยากเห็นเพื่อนของเราเดินตามรอยเท้าที่ผิดๆ ของเรา


ครั้งที่สอง ผมรู้จักลาดักอีกครั้งจากหนึ่งสือ ชื่อว่า คือสาระจากชีวิตเร่ร่อนของคุณ ภาณุ มณีวัฒนกุล ยังจำได้ถึงบรรยายกาศที่ท่านผู้เขียนบรรยายไว้ ถึงความเป็นสังคมพหุลักษณะ เนื่องจากอยู่บนเส้นทางสายไหม ทำให้มีคนหลายเผ่าพันธุ์ และหลากความเชื่ออยู่ด้วยกันตั้งแต่โบราณ ทำให้คนมีลักษณะเปิดกว้าง เพราะต้องอยู่โดยขันติต่อความต่าง อีกทั้งลักษณะทางธรรมชาติที่โหดร้ายและตัดขาดจากโลกภายนอกกล่อมเกลาให้ทุกคนต้องช่วยเหลือกันเพื่อความอยู่รอด


จนกระทั่งเราไปเห็นเองกับตา

ผู้คนท้องถิ่นที่นั่นยังน่ารัก เป็นมิตร และเอื้อเฟื้อ


แม้คุณเฮเลนนาจะเขียนผลกระทบจากการรุกล้ำทางวัฒนธรรมและผลกระทบจากการท่องเที่ยวในลาดักไว้ว่า จากดินแดนที่เปรียบเสมือนสวรรค์บนดิน ผู้คนเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน กลายเป็นคนเริ่มเห็นแก่ตัวมากขึ้น และคนเริ่มรู้สึกขาดแคลน กว่าที่เป็นจริง


คุณเฮเลนน่าเขียนถึงชายคนหนึ่ง ชื่อ เซวัง ปังเซอร์ ในช่วงทศวรรษที่หกศูนย์ ชายผู้นี้ กล่าวไว้ว่า ที่นี่ เราไม่มีความขาดแคลาน เรามีแต่ความสุขสันติ แต่สิบปีให้หลังหลังจากกระแสบริโภคนิยมและการท่องเที่ยวรุกล้ำเข้ามา ชายคนเดียวกันนี้ กล่าวกับผู้เขียนคนเดียวกันว่า ที่นี่ เรายากจนมาก ขาดแคลนไปเสียทุกอย่าง ขอให้ท่านช่วยเหลือ เราบ้างๆ ทั้งๆที่สถานการณ์และฐานะของ เซวัง ปังเซอร์ ไม่ได้แตกต่างกันเลย สิ่งเดียวที่เปลี่ยนไป คือความคิด... กระแสบริโภคนิยมทำให้ชายชาวลาดักคนนี้รู้สึกขาดแคลน ...


จะครบสิบปีแล้วที่ผมไปลาดักมา ที่จริง เคยวางแผนว่าอยากกลับไปร่วมงานคลี่พรมทังก้า ที่จัดที่ลาดักใน ปี 2015 แต่ไม่สำเร็จ

ตอนนี้ทั้งอินเดีย และลาดักกลายเป็นกระแสความนิยมของคนไทย รวมถึงคนอินเดียเองที่อยากจะไปลาดัก หลังจาก การโด่งดังของภาพยนตร์ เรื่อง 3 Idiots

ถ้ามีโอกาส ผมจะกลับไปอีก ถ้าสังขารยังอำนวย


ปล.  ผมเขียน บันทึกไว้ในปี ๒๐๑๒ ว่า


อนาคตอันเก่าแก่ บทเรียนจากลาดัค
บางครั้งความรวยความจนไม่ได้อยู่ที่วัตถุ แต่ขึ้นอยู่กับจิตใจ
ใจที่พอ คือ ใจที่มั่งมี มีความสุข 
การศึกษาที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางธรรมชาติในท้องที่ของตน สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรม หล่อหลอมให้คนมีลักษณะความคิดและการมองโลกที่เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

เซวัง ปังเซอร์ 196? ความยากจนคืออะไร ที่นี่เราไม่มีความยากจนเรามีแต่ความสุข
เซวัง ปังเซอร์ 197? ที่นี่เรามีแต่ความยากจนข้นแค้น ขอท่านช่วยเราด้วย

ฅนฅนนี้อยู่ในสถานที่เดียวกัน เงื่อนไขอย่างเดียวกัน แต่ภายใต้ชุดความคิดที่ต่างกันออกไป จากการสัมภาษณ์ของนักสังคมวิทยา ก่อนเปิดและหลังเปิดพื้นที่ให้ลาดัค เป็นที่ท่องเที่ยวสำหรับอินเดีย จะเห็นความต่างนี้ชัดเจน

ผมอ่านตั้งแต่ตอนที่ตัวเองยังไม่เข้าใจเลยว่าอะไร คือการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัจจุบัน เข้าใจมากขึ้น แต่ดูเหมือนจะทำอะไรได้น้อยลง

เราไม่อาจต้านความเปลี่ยนแปลงได้ ได้แต่ รับรู้และทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ถ้ารักมันก็ดูแลมัน อยากเห็น คนไทยไปช่วยกันเก็บขยะที่ลาดัก และ ตอนไปเที่ยว ก็พยายามลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำให้มากที่สุด เพราะน้ำจากลาดักนั้น ได้มาจากการละลายของธารน้ำแข็งในหิมาลัย และไม่ได้มีเพียงพอสำหรับ นักท่องเที่ยวทุกคน เพราแต่เดิม คนในลาดักมีเพียงน้อยนิด ช่วงเปิดประตูการท่องเที่ยวใหม่ๆ นักท่องเที่ยวจะมาเฉพาะฤดูร้อนที่ถนนเปิด และไม่ถูกตัดขาดจากหิมะ แต่ปัจจุบัน มีเที่ยวบินไปถึงลาดักมากขึ้นทุกที จำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินกว่า ความสามารถของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จะรับไหว จะทำให้ แหล่งท่องเที่ยวที่ใครๆ ฝันอยากไปเห็นเสื่อมโทรมลง จนไม่มีให้เราดูอีก  มันไม่ใช่แค่ดินแดนของใคร  แต่มันคือ โลกของพวกเราทุกคน

จูเล่ ลาดัก

 References
https://www.survival.org.au/bo...
https://www.dailyo.in/variety/...

หมายเลขบันทึก: 646171เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2018 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2018 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท