การจัดการประวัติศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ประวัติศาสตร์ นั้นใกล้ตัวและมีความสำคัญกับเรามากกว่าที่เราคิด ทั้งประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง การทหาร การพัฒนา ดังนั้นอย่างที่ผมบอกไว้ นักประวัติศาสตร์ ถึงพูดออกมาว่า ครคุมประวัติศาสตร์ คนนั้นคุมอนาคต  ใครจัดการประวัติศาสตร์ได้ คนนั้นคุมปัจจุบันและอนาคตได้โดยไม่ต้องใช้กำลังทหาร

 ในหัวข้อที่แล้ว ผมชวนมาแลกเปลี่ยนถึงประวัติศาสตร์บาดแผลในสังคมไทย และทิศทางการศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อเอามาแก้ไขปัญหาปัจจุบันของบ้านเรา ในหัวข้อนี้ผมชวนคุยถึงความท้าทายอีกอย่างของบ้านเรา และ ทั้งโลก 
"ทิศทางการพัฒนาประเทศ"ครับ

ตำราหลายๆ เล่มเคยเขียนไว้ว่าแนวทางการพัฒนาในอดีตที่เรียกว่า Brown economy นั้นเน้นการพัฒนา โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเน้นที่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ตลอดจนตั้งบนสมมุติฐานว่า ทรัพยากรธรรมชาติไม่มีจำกัด  แต่วันนี้ด้วยจำนวนประชากรโลก ที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง  เราคิดแบบนั้นไม่ได้อีกแล้ว จึงเกิดแนวความคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน  และGreen Economy

นั่นสอดคล้องกับสิ่งที่ผมคุยกับเพื่อนชาวไนจีเรียเมื่อหลายปีก่อน เพื่อนเรียนกฎหมายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ  แต่ทำวิทยานิพนธ์เรื่องพลังงานทางเลือก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน  เพื่อนบอกว่า "กฎหมายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตลอดจนกฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นกฎหมายของวันนี้  เพราะเรามีวิกฤตพลังงานและสิ่งแวดล้อม แต่กฎหมายของอนาคต คือ กฎหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน "   ผมเข้าใจและไม่มีอะไรโต้เถียงครับ เพราะทุกวันนี้ เราทั้งโลกมีปัญหาสิ่งแวดล้อม และ พลังงานที่จำเป็นจะต้องใช้เพื่อพัฒนาประเทศ  ไม่ว่าประเทศพัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาต่างต้องเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกโดยทั่วหน้ากัน    แต่ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต่างยังเห็นต่างกันในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม 

ประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่าเราควรเน้นให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของทุกคน จะถลุงทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสังเวยความเจริญเหมือนเดิมไม่ได้

ประเทศกำลังพัฒนาก็ตั้งคำถามว่า อีนี้ฉานก็แย่สิ เพื่อนจ๋า ... ฉานยังไม่พัฒนาเหมือนนาย  สิ่งที่ฉานมี คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ถ้าไม่ให้ฉานใช้ จะเอารายได้ที่ไหนมาเลี้ยงดูประชากรและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรละเกลอ?  แถมฉานก็ไม่ได้ทำอะไรเลย ฉานก็ทำเหมือนที่นายที่เรียกว่าประเทศพัฒนาแล้วทำในสมัยก่อนนั่นแหละ...


ผล จึงยังมีประเทศทำการพัฒนาโดยเน้นถลุงทรัพยากรธรรมชาติต่อไป  แถมโรงงานในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่งก็ย้ายมาอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาที่มาตรฐานกฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายแรงงานต่ำ เพื่อเลี่ยง ความรับผิดต่างๆ
ยิ่งกว่านั้น 
๑. มีการตกลงกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาแล้วว่า ถ้าเพื่อนจะให้ฉานหยุดถลุงทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนต้องช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยีให้ฉันสินายจ๋า จะได้มีเงินไปพัฒนาประเทศ เพราะสิ่งแวดล้อมที่เสียมาทุกวันนี้ ก็เพื่อนผู้พัฒนาแล้วของเรา เป็นประเทศที่ก่อมิใช่หรือ...

๒.  เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศวางอยู่บนพื้นฐานของหลักอำนาจอธิปไตยและความยินยอมของรัฐ คือ ถ้ารัฐไม่ยินยอมเข้าร่วมความตกลง ก็จะไปบังคับรัฐนั้นๆ ไม่ได้ เว้นกฎหมายนั้นกลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศไปแล้ว  ดังนั้นกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศยังไปไม่ถึงไหน  แม้จะมีความตกลงหลายฉบับ แต่พอบังคับใช้จริงก็ตกม้าตายเพราะ ยังมีคนร่วมไม่มาก หรือ ประเทศมหาอำนาจไม่เอาด้วย

 ๓.ที่ทำได้ปัจจุบัน คือ แต่ละประเทศมาคุยกันเป็นข้อผูกพันทางการเมืองว่าจะร่วมกันทำนโยบายและวางกฎหมายในแต่ละประเทศอย่างนี้นะเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม  แต่ถ้ายังทำไม่ได้ ก็ไม่มีบทลงโทษในทางกฎหมาย เพราะพอมีการทำสนธิสัญญามีบทลงโทษก็ไม่ค่อยจะมีใครเอาด้วย

พล่ามมาเยอะเดี๋ยวจะออกนอกเรื่องไป แล้วมันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยังไงล่ะผู้เขียน  คนอ่านน่าจะงงๆ  เกี่ยวสิครับ เพราะ ถ้าวันนี้เรามีการสอนประวัติศาสตร์ให้รู้ถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มจำนวนประชากรที่ไม่สมดุลกัน รวมถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ยั่งยืน คนในชาติของเราจะเกิดความตระหนักรู้ว่า เพียงเราช่วยกันคนละไม้ละมือ โลกเราบ้านเราจะน่าอยู่ขึ้นอีก  และเราจะต้งช่วยกันหาทางออกจากวิกฤต ไม่ใช้มัวขัดแย้งกันด้วยผลประโยชน์ ทางการเมือง ศาสนา อิทธิพล 
เอาง่ายๆครับ ถ้าสำนึกประวัติศาสตร์ของคนไทย เราพบว่าการพัฒนาที่ผ่านมาของเรามันไม่ยั่งยืน ไม่เป็นธรรม เพราะเราไปตามแบบอย่างผิดๆจากฝรั่งที่ฝรั่งเองก็ยอมรับว่า เขาทำผิด เขาเลยพยายามเปลี่ยน  คนไทยทุกคนก็จะช่วยกันเปลี่ยนบ้านเมืองของเราให้น่าอยู่  ไม่ว่าจะมาจากพรรคการเมืองไหน มีวิธีการทำงานอย่างไร แตกต่างกันเพียงใด  แต่ มันมุ่งไปที่จุดเดียวกัน คือการทำให้เมืองไทยน่าอยู่  คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มลภาวะลดน้อยลง  การกระจายรายได้ทั่วถึง

ถึงเวลาหรือยังที่เราต้องเริ่มหันมาทบทวนและสอนประวัติศาสตร์ทิศทางการพัฒนาประเทศและการจัดการสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง เพื่ออนาคตที่ดีของคนไทยทุกคน ใครสนใจว่าในอดีตทิศทางการพัฒนาที่คนไทยถูกปลูกฝังมา คืออะไร ลองอ่านลิงค์นี้ครับ ผมจำได้ว่าอ่านงานวิจัยชิ้นนี้มาจากข่าวในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  แต่ พยายามหาข่าวย้อนหลังแต่หาไม่เจอ ใครเจอขอความกรุณาบอกแหล่งที่มาผมทีเถอะครับ จักเปนพระคุณยิ่ง



This photo is available from https://www.slideshare.net/EOT...




หมายเลขบันทึก: 646096เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2018 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2018 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท