ทีมโค้ชของหมู่บ้านสุขภาพดี


มีความรักมาให้  มีหัวใจมาฝาก  มีความฝันมาขายจร้า

ช่วยกันทำโครงการเครือข่ายคนอำเภอสระใครสุขภาพดีมาสองปีแล้ว  สร้างทีมงานออกเยี่ยมเสริมพลังแกนนำชุมชนต่อเนื่อง  ปีแรก ๑๒ หมู่บ้าน  ปีสอง ๒๒ หมู่บ้าน  เยี่ยมซ้ำหมู่บ้านเดิมด้วย

ปีนี้ปีที่สาม  ใช้วิธีการใหม่ขยายงานเพิ่มเป้าหมายเป็น ๔๑ หมู่บ้าน

ก่อนจะจัดงานตลาดนัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับทีมองค์กรแกนนำหมู่บ้าน  ในเรื่องหมู่บ้านสุขภาพดี  หรือหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ 

มุ่งหวังให้ตัวแทนทีมองค์กรแกนนำหมู่บ้านที่มาร่วมกิจกรรม  ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ความรู้ที่ดำเนินงานเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของคนในหมู่บ้าน

ยิ่งหากมีกิจกรรมขั้นตอนการทำงาน  จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ  จัดแลกเปลี่ยนถึงระดับวิธีคิดได้  เพื่อปรับเปลี่ยนถึงระดับแนวคิดเบื้องลึกเบื้องหลัง  ที่ปรากฏออกมาให้เห็นเป็นผลลัพธ์พฤติกรรมต่าง ๆ  ซึ่งหากเปลี่ยนในทิศทางที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น  จึงจะแปลว่าชาวบ้านมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น  ดูแลตัวเองดีขึ้น 

คาดหวังวิธีคิด  แนวคิด  ความเชื่อที่ครอบงำเราเปลี่ยน (ส่วนภูเขาน้ำแข็งใต้ผิวน้ำ) ... จึงจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ (ยอดภูเขาน้ำแข็งเหนือผิวน้ำ)

เหตุดังนั้น  ทีมหมอครอบครัว  ทีมงานด้านสุขภาพที่จะออกไปเป็นโค้ชให้ทีมองค์กรแกนนำหมู่บ้าน

ต้อง เน้นนะคะ ต้องมีความเชื่อมั่นออกจากใจ  เนื้อตัวและหัวสมอง  เริ่มที่ตนเอง  ประสบการณ์ตรงเท่านั้น

ต้องเชื่อก่อนว่า  หากความคิด  วิธีคิด  ความเชื่อเปลี่ยน ... เรา  ตัวเราก็จักเปลี่ยนการกระทำได้

^_,^

สิ่งคาดหวังที่มาสองวันนี้

• ดูแนวทางลดน้ำหนัก/จากคุณหมอ  แนวทางปฏิบัติตัว  ไปปฏิบัติที่บ้าน  ที่ทำงาน  ช่วยได้มาก-น้อย
• ยิ่งกินยิ่งอ้วน   อยากลด  จะพยายามลด
• ดูการกิน  น้อยลง
• ปกติผอม  กินปกติ  ดูแนวทางใช้ในชุมชน
• กำลังใจ  กำลังหมดพลัง  เสริมพลัง  ปรับใช้ในชุมชน

• สุขภาพสำคัญมาก  กินน้ำหนักตัวปกติ  ปรับพฤติกรรมตัวเอง  อาหาร  หวานมัน  เค็ม 

มาในบทบาทหมอครอบครัว  ผลักดันชาวบ้านพฤติกรรมที่ดีขึ้น
• มาดีกว่าไม่มา  ปกติ  เสียงสะท้อน  สวยอยู่แล้ว  ให้ น้ำหนักน้อยลง  อยากสวยเพิ่ม

•  BMI ๒๐ หุ่นดี  คนที่ไม่ได้อ้วน  มีปัญหาสุขภาพปวดเข่า  ศึกษาร่วมกัน  นำไปใช้ในชุมชน

  •  ๑. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ต้นแบบแก่ภายนอก  พวกเรากลับไปเป็นต้นแบบ  ๒. สุขภาพดี  อยากให้คนไข้ลดลง

•  เรียนรู้สิ่งดี ๆ ดูแลตัวเอง  ห่างไกลโรคเรื้อรัง  ปรับกระบวนการ  ทำงานของเจ้าหน้าที่   ในพื้นที่  ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• ความสุข  ผ่อนคลาย  ในการจัดกระบวนการเรียนรู้

^_,^

วาดภาพความสุข

• วาดภาพความสุข  จากที่ตัวเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  หรือ
• จากการทำให้คนอื่นปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  หรือ
• จากการทำให้ทีมงาน / คนในหน่วยงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  หรือ
• จากการทำให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

^_,^

กิจกรรมดอกไม้  ผึ้ง  แมลง

• ทบทวนความสุข
• จับกลุ่ม  ๓  คน  มาจากต่างที่
• เลือกเป็น  ดอกไม้  ผึ้ง  แมลง
• เล่าครั้งละ  ๑  คน  ที่เหลือฟังอย่างตั้งใจ

หลักการและฝึกปฏิบัติออกกำลังกาย

โดยน้องอุ๋ย  บัณฑิตา  ประจันตเสน  นักกายภาพบำบัดแสนสวย  และผู้ช่วย  น้องปุ๋ย


^_,^

กินพอดี  พอเหมาะ  พอควร ... อย่างไร

พี่นิต  ณัชชา  เดชชาตรี  พยาบาลผู้จัดการกรณีโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลเรา  บอกหลักการกินที่ถูกต้อง  พอเหมาะกับที่เราแต่ละคนใช้แรงงานออกไป

การคำนวณทั้งพลังงานที่ควรได้รับ  จะได้รู้พอดีหรือยัง  ขาดอะไร  ต้องกินอาหารหมู่ไหนเพิ่ม

และกิจวัตรแต่ละวัน  ต้องออกแรง มีกิจกรรมทางกาย  ต้องออกกำลังกายเพิ่มเท่าไหร่  จะใช้อาหารที่กินเข้าไปหมด  คนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์จะกินและใช้แรงอย่างไร  จึงจะเอาส่วนเกินออกได้

พอเข้ากลุ่มมีคุณหน่อย  วิไลพร  บุทเสน   คุณพิราพร  บุญแสนแผน  เป็นพี่เลี้ยงกลุ่ม  เริ่มคำนวณดัชนีมวลกาย  และทำพันธะสัญญากัน


จบวันแรก  แยกย้ายกลับบ้าน  พรุ่งนี้ตื่นเช้ากลับมาพบกันใหม่นะคะ

^_,^

วันที่สอง

ทบทวนความรู้สึกจากวันวาน

• ออกกำลังกายกลับไป  กิน Para  บวก  บรูเฟน  คำนวณ BMI  ใช้  ๑,๔๓๐  kcal. กิน  ๑,๘๐๐ kcal. วันนี้เอาใหม่  กินอะไรดู cal.  อาหาร  เครื่องดื่มที่มีฉลากดู cal. ได้  แต่ไข่เจียว  ไข่ดาว  สรุปกี่แคล
• อาหารเฝ้าระวังอยู่แล้ว  ยังติดบทบาทเป็นผู้พูดให้ฟัง  กลุ่มผู้ชาย BMI  ถ่ายทอดสมาชิกในกลุ่ม  ไม่ทราบว่ากินอย่างไร  ผู้ชายเน้นข้าวเหนียว  เพราะใช้พลังงานเยอะ  จะมีพลังในการทำงานไหม  ภูมิใจได้แบ่งปันความรู้
• ออกกำลังกาย  กลับไป  ไม่ปวดเมื่อย  ร่างกายยังเฟิร์ม  เจ็บไหล่นิด ๆ ไม่มาก   เห็นหลาย ๆ ท่าน  ความสุขอยู่ที่การกิน  กินไม่ยั้ง  แคลเกิน  อ็อบพยายามคุมแคล  แต่ติดยังไม่ออกกกำลังกาย   อาหารพอกินหลาย ๆ อย่างได้แคล  บางคนกินขนมเยอะอาจเกิน  

ได้ไอเดีย  หลายคนเป็แบบนี้  คนไข้  คนยังไม่ป่วย  กินแล้วไม่รู้ว่าเกิน  เห็นรูปแบบวิถีชีวิตคน  ไม่ได้แตกต่างจากคนไข้  ประชาชนที่เราพบมา

• ทบทวนตัวเอง  เปิดอินเตอร์เน็ตดู  เราจะสอนชาวบ้านอย่างไร  ยังไม่แม่น  ยากอยู่  นอนคิด  ให้ชาวบ้านเข้าใจง่าย ๆ
• เหมือนไป สสจ.มา  อยากเสนอ  ถ้ามีคำนวณ sheet ง่าย ๆ  แบ่งเป็นเนื้อ  กุ้ง  ปลา  กี่กิโลแคล  เราจะได้พิจารณาการกินของเราเอง  พฤติกรรมกินปกติ  มีก็กิน  หิวก็กิน  ไม่ได้สติ  ไม่ได้คำนวณ
• ออกกำลังกาย  เวลาน้อย  ๔๐  นาที  ปกติไปทำงานที่ รพ.สต.ไม่ได้ออกกำลังกาย  ทำงานบ้านแต่ยังไม่ใช่ออกกำลังกาย

^_,^

ฝึกปฏิบัติ  เสริมพลัง  สร้างแรงบันดาลใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

• กลุ่ม ๑ BMI เกิน  เขามองตัวเขาเองอย่างไร

• คนที่ ๑  เริ่มอ้วน  BMI อวบ  อึดอัด  ต่างจากเดิม  จาก Sport girl
• เคยเป็นนักกีฬา  กินตามใจ  มีลูกแล้ว  พาลูกกิน 

   มีใครกินกินด้วย (เพื่อสังคม)  ไม่กินจุบจิบ  กินแป้งเยอะ  ขนมปัง  ให้พลังงานเยอะ  ใส่กระโปรงเดิมไม่ได้

• คนที่ ๒  เริ่มอวบ  น้ำหนักเยอะ  BMI ๒๔  อยากเริ่มเปลี่ยนแปลง  หนักมื้อเย็น  ๒ มื้อ  ๕ โมงเย็นและ ๒ ทุ่ม   มื้อดึก   ไม่อยากให้ข้าวเหนียว (ข้าวเย็น) เหลือ
• คนที่ ๓  น้ำหนักมีปัญหาบ้าง  ลดได้ ๔ kg.แล้ว  มีช่วงเผลอไผล  เคยลด  เคยสวย  เคยลดน้ำหนักได้
• แต่น้ำหนักขึ้นอีก  จากข้าวเย็น  ไม่ออกกำลังกาย   กินตามใจปาก
• มีเป้าหมายในชีวิต  เปลี่ยนไป  อยากสวย  หุ่นดี  ปฏิวัติตัวเอง

กลุ่ม ๑ BMI เกิน  จุดเปลี่ยนความคิด  ที่เขาอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง

  • คนที่ ๑ จุดที่อยากเป็น Sport girl กลับมาอีก
  • คนที่ ๒  ความรู้สึกอึดอัด

• คนที่ ๓ จุดเปลี่ยน  เป้าหมายชีวิต  มีบุคคลกำลังใจ  เริ่มปฏิวัติ
   มีองค์ความรู้  เปิดร้านกาแฟ  มีบริการคำนวณแคล.  ชงแล้วถามได้
   ปรับอาหารได้แล้ว  ลง  ๔ Kg.  ชัดเจน

^_,^

กลุ่ม ๒  มีพฤติกรรมเสี่ยง 

  • คนแรก  ชาย  ทำงานก่อสร้าง  BP  ๑๓๙/๘๙  mm.Hg.  ยายคนที่สอง  น้ำตาล  ๑๑๐ mg.%  คนที่สาม  วัยรุ่นชอบกินโค้ก  เริ่มตั้งวง

• กลุ่มเสี่ยง  เขามองตัวเขาเองอย่างไร
• คนที่ ๑ เคม  ภูภูมิ  "ก็เป็นอย่างนี้แหละ"  ตื่นเช้าก๊งเหล้า  เที่ยง ทิงน้อย  คาบบุหรี่  กินทุกอย่าง  ลาบดิบ  ก้อยดิบ  เย็นก๊ง  กลุ่มเสี่ยงความดัน

  • คนที่สอง  "ทำเพื่อหลาน"  ยายมีเลี้ยงหลาน  กินข้าวเหนียว  มะขาม  ชอบกินขนมบ่อย
  • คนที่สาม  "ฉันเป็นฉันเอง"  ไม่เชื่อใครง่าย  มีกลุ่มของฉัน

ความรู้สึกของคนที่เล่นเป็นบทบาทสมมติ

• ตาเคม  ฟังไปงั้น  หูซ้ายทะลุหัวขวา  ฟังเฉย ๆ คิดว่าจะเปลี่ยนอะไรไม่ได้  จะเหมือนเดิม
• ยายมี  เลี้ยงหลาน  รับฟังคุณหมอ  อยากเปลี่ยน  แต่ขาดองค์ความรู้  กินยังไง  ลดอาหาร  เวลากินมะขาม  ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า  น้ำตาล ๑๑๐ คืออะไร  พร้อมจะเปลี่ยน

  • บทบาทวัยรุ่น  หัวดื้อ  ชีวิตประจำวัน  ไม่ได้ตระหนัก  เป็นโรคหรือป่วย  เห็นแต่คนแก่ป่วย  ความสุขของเรา  เพื่อนจะไม่ให้เข้ากลุ่ม  ego สูง  ไม่ได้เบียดเบียนใคร  พ่อแม่ไม่ว่า  ไม่ได้ห้าม  หมอมามีแต่สอน ๆๆๆๆ •ไม่ได้กลัวโรคต่าง ๆ ที่หมอบอก

^_,^

สะท้อนจากโค้ชของโค้ช

• หาแรงบันดาลใจ 

• ฟังอย่างมีสมาธิ  จับจุดแรงบันดาลใจ  ถ้ายังไม่เห็นคุณค่า  เขาจะไม่ปรับ
• การสอน  โดยไม่รับรู้ว่าทำไปทำไม  พฤติกรรมไม่เปลี่ยน
• มองหาให้เห็นจุดที่เขาอยากปรับ
• ต้องมีการติดตาม  ไม่ต้องใส่เยอะ  แค่ประเด็นที่จับได้  ค่อย ๆ ใส่  ให้เห็นผลสำเร็จก่อน
• ยาย  อยากแข็งแรง  เลี้ยงหลาน  การสะท้อน  เป็นหยังยายถึงอยากแข็งแรง  เฮ็ดเวียกได้  เฮ็ดแนวกินได้ (ทำกับข้าว) ให้หลาน  แมนบ่ .... ค่อยชี้ประเด็นต่อ
• ฟังเขาต่อ  เทคนิค  จับประเด็น  สะท้อนความคิด   ปรับคำพูดเขา  ขยายความ  จากตัวเขาเอง  เราบอกเขา  เขาอาจจะทำไม่ได้ 

• เทคนิคการฟังอย่างตั้งใจ  การสื่อสาร  เอาเทคนิคให้คำปรึกษามาใช้
• ตกลงบริการว่า  จะทำอะไร  เมื่อไหร่  จะเห็นผลเมื่อไหร่
• วันเริ่มต้นสำคัญ  ให้เขาบอกเอง

การสะท้อน

• สิ่งที่เคยทำได้ดี   จะทำอย่างไรต่อ
• พูดเชิงบวก  ปลายเปิด  
• ถ้าไม่หื้อไม่อือ  สร้างสัมพันธภาพไปเรื่อย ๆ
• คนประมาณ ๕ – ๑๐ % ที่ใจจะไปกับเรา   มีใครสักคนทำได้  เอามาพูดต่อให้เพื่อนฟัง
• คุณแม่น้ำตาลดี  ทำอย่างไร  เพื่อส่อ (ถาม) กัน  มาเล่าให้เพื่อนฟังหน่อย
• ไม่พูดว่า  ไม่ให้กิน  ใช้คำพูดว่า  กินถอยลงสักหน่อย  น้ำตาลสิลงบ่  หนูสิถ้าเบิ่งเด้อ

^_,^

อาหารว่าง  พักเที่ยงกินอาหารเพื่อสุขภาพ  คำนวณปริมาณกันตามที่เรียนมา

มีนอนผ่อนพักตระหนักรู้ทั้งสองวัน  ตื่นมาวันที่สอง  น้องอุ๋ย  น้องปุ๋ยพาออกกำลังกายซ้ำอีก

เน้นสร้างกล้ามเนื้อ  ลดพุง ... มา ๆ ๆ ๆ ๆ six pack จงมา  อิ อิ


เกือบจบแล้วนะคะ  ช่วงท้ายจะเป็นการวางแผน  ได้ความว่าทีมโค้ชแต่ละตำบลจะไปร่วมประชุมชาวบ้านของแต่ละหมู่บ้าน

คืนข้อมูล  แล้วให้แกนนำหมู่บ้านและชาวบ้านวางแผนร่วมกันในการสร้างหมู่บ้านสุขภาพดี  หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

และจะมีการรับสมัครผู้ที่อ้วน/อวบ/ท้วม  เข้าร่วมกิจกรรม (ยังมิตั้งชื่อ)  เพื่อรวมกลุ่มแข่งขันลดน้ำหนักให้ได้ยั่งยืน

แค่ก้าวแรก ๆ เริ่มเห็นความสนุก  คอยติดตามให้กำลังใจทีมโค้ชที่จะไปทำงานกับแกนนำองค์กรชุมชนด้วยนะคะ

หลังจากนัดหมายครั้งหน้า  ตัวแทนแกนนำหมู่บ้านจะมาเข้าร่วมตลาดนัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมแกนนำองค์กรหมู่บ้าน  ปลายเดือนเมษายนนี้

เดี๋ยวค่อยติดตามกันต่อนะคะ

ความหวัง  ความฝันจะเป็นจริง ... ความเชื่อเปลี่ยน  การกระทำ  พฤติกรรมเปลี่ยนได้แน่นอน

ลาที  สวัสดีค่ะ

^_,^








ความเห็น (11)

ขมรมนี้ได้เห็นแค่ชื่อ ก้อรู้สึกเย็นกายเย็นใจครับ  ขอเข้าร่วมด้วยเเถอะนาครับ ผมเกิดที่สกลนคร  ชื่อเพชรครับผม ทุกคนมักเรียกว่า โค้ชเพชรครับ

RESUME_OF_KITTINANT_PHISUWAN_For_App.Eng_Version.pdf

นอกจากนี้กระผมจบด้านจิตวิทยาองค์ และ ชุมชน ป โท จิตวิทยาแนะแนว ที่  The Univetsity of Wherton ตอนนี้กำลังศึกษา ป เอก มศว การวิจัยพฤติกรรมศาตร์ประยุกต์ อายุ 35 ครับผม อาชีพเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ นักบัญชี นักเศษฐศาสตร์ นักการเงิน เป็นคนง่าย ตามประสาคนอิสาน ชอบฟังหมอลำ เพลงลูกทุ่งครับ

สวัสดีค่ะ  ยินดีที่ได้รู้จักโค้ชเพชรนะคะ

มีอะไรแนะนำด้วยนะคะ  เพราะทีมนี้ต้องไปทำหน้าที่โค้ชให้ทีมแกนนำองค์กรหมู่บ้าน  ทำงานพัฒนาสุขภาพของชาวบ้านเอง  งานระยะยาว  ยาวมาก ๆ และต้องใช้ศาสตร์หลายด้าน   ใช้พลังงาน  พลังใจ  พลังกาย  พลังความคิดอย่างเชื่อมโยงกับบริบทให้กลมกลืนละค่ะ  จึงจะทำไปอย่างมีสุข  พอเหมาะ  พอดี  สุขทั้งทีมเราและชาวบ้าน

ร่วมด้วยช่วย ๆ กันนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ  ^_,^

เข้าไปอ่านประวัติโค้ชเพชรแล้วนะคะ  โห !!!! ไม่ธรรมดาจริง ๆ

ผมพอช่วยได้หรือไม่ครับ ก่อนหน้านี้ผมเคยไปเป็นครูอยู่บนดอย ผมรู้สึกสงบ และมีความสุขอย่างแท้จริง งานก้อไม่มีอะไรมากครับ ตื่นตี 4 ทำอาหารไว้ให้เด็ก ๆ 8.30 เริ่มสอน (ปกติมีครูคนเดียวครับ) พอผมไปก้อได้แยก  ป 1 ถึง ป 3 และ ป .4-6 การติดต่อสื่อสารไม่มีคลื่นเลยครับ แต่ในแต่ละสัปดาห์ เราต้องลงจากดอย ใ้เวลาล 4 ชั่วโมง กลับอีก 4 ชั่วโมง เพื่อหาซื้ออาหารแห้งไว้เด็กทานครับ ถ้าเป็นฤดูฝน ก้อต้องเสี่ยงครับ ระหว่างไป ระหว่างกลับ อาจมีต้นไม่ล้ม และ ดินสไลด์ ก้อต้องรอให้ชาวบ้านใกล้ มาช่วยกันกู้เพื่อให้การเดินทาง เงินเดือนผม 5 พัน แต่ไม่เหลือครับ ถามเด็กว่าเย็นนี้ทานข้าวกะอะไร เด็กพูดเป็นเสียงเดียวว่า น้ำพริก มันคือน้ำพรึกที่ตำขึ้นเอง เผ็ดมากครับ บางทีเราเห็นเด็ก ๆ ทานแต่ผัก หรือ มาม่าใส่ข้าว(เหมือนข้าวต้ม) พอชาวบ้านมีการล้มหมู ไก่ เนื้อ ก้อไปซื่อมาให้เด็ก ๆ

เด็กบนดอย น่ารักครับ สามารถใช้เครืองมือ สิ่ว ตะปู ฆ้อน ในการซ่อมรั้ว ปลูกผักกินเอง ที่สำคัญผมสงสัยว่าทำไมครูถึงให้เด็ก ๆตักเข้าจนจานพูน คำตอบคือ เด็ก ๆ จะกินแค่ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเค้าจะนำไปให้พ่อแม่ น้อง ๆ พี่ ๆ กินกัน มันเรื่องจริงครับ โรงเรียนที่ผมไปอยู่ชื่อว่า พะตี้หมู่โจ แต่เด็กมีความรับผิดชอยมากครับ ประมาณตี 5 เค้าจะแบ่งเวร  รดน้ำต้นไม้  กวาดใบไม้ กวาดห้องเรียน  มีทีมเข้าไปช่วยครูในการหั่นผัก เพื่อให้เพื่อนทานครับ

อยากรู้จัก ตัวเป็น ๆ code phet..จังเลย...(ยายธีค่ะ)

ช่วยได้แน่ค่ะโค้ชเพชร  ทีมโค้ชจะออกไปทำงานร่วมกับชุมชน  จะกลับมาเจอกัน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านเรื่องเล่า  นั่นละคะที่โค้ชเพชรช่วยได้

ช่วยสะท้อนและโค้ชต่อ  ทาง GTK นี่ละค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

โห  !!!  คุณยายธี   น่าทึ่งใช่ไหมคะ  โค้ชเพชรจิตอาสาในวัยหนุ่ม

กระบวนการทบทวนความสุข

เป็นกลยุทธสำคัญมากๆ เลยครับพี่หมอ

ในระยะแรกที่ทำกระบวนการ  ผมมักเคลื่อนด้วยกระบวนการนี้  เพราะเชื่อว่านี่คือการทบทวนเพื่อหยัง่รู้ตัวเอง สู่การแบ่งปันต่อคนรอบกาย

ไม่เพียงเตรียมความพร้อมของการเรียนรู้ตัวเองเท่านั้น

ทว่าเป็นการตอกย้ำว่ามนุษย์มีศักยภาพ มีความดีงาม และความสุขที่ว่านั้น ก็ชวนให้เราได้ค้นาปัจจัยความสุขไปด้วย

ขอบพระคุณครับ

ใช่ค่ะ อ.แผ่นดิน  พอเริ่มที่ความสุข  ใจก็พร้อมที่จะเห็นตัวเอง  และก้าวเดินต่อในทิศทางบวกต่อชีวิตตัวเอง  ความดีงาม  ความสุข  ความจริงที่จริงก็จะชัดเจนก็ยอมรับ  เข้าใจ  และเดินต่อไปได้ค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท