​บทความจากรายการวิทยุ Human Talk ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2561


รายการวิทยุ Human Talk ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2561

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า เรื่อง Tiger Woods เป็นเรื่องที่น่าสนใจ นอกจากเขาจะเป็นนักกอล์ฟผู้ยิ่งใหญ่แล้ว ก็เป็นลูกครึ่งไทยด้วย รัฐบาลชุดนี้น่าจะเชิญเขามาและให้เป็นที่ปรึกษา เขาเป็นแบรนด์ของโลก ถึงเขาจะหายไป 5 ปีและมีปัญหาต่างๆ เขาเก่งด้านกอล์ฟซึ่งเป็นกีฬาที่มีผู้ชมทั่วโลกและสร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ มีนักกอล์ฟไทยระดับโลกหลายคน ผู้ชายได้แก่ กิรเดช อภิบาลรัตน์ ผู้หญิงได้แก่ เอรียา จุฑานุกาล ทำให้ประเทศไทยเป็นแบรนด์ทั่วโลก ประเด็นคือไม่มีใครคิดว่า Tiger Woods จะหายไปนานถึง 5 ปี แล้วจะกลับมาได้ เพราะว่าเขาอายุมากขึ้นเป็น 42 ปีแล้ว ถ้าเขามีอายุ 50 ปีจะถูกไล่ไปเล่นในระดับ senior เขามีความมุ่งมั่น ยังไม่ชนะแต่เขาก็กลับมาแล้ว เขาแสดงให้เห็นว่าคนเราต้องต่อสู้กับความเจ็บปวด เรียกว่า Learning from Adversity  หลังจากที่ Tiger Woods ขับรถชนคนอื่นแล้วก็ไปผ่าหลัง 4 ครั้ง แต่ละครั้งที่ผ่ามาก็ไม่ได้กลับไปสู่สภาพเดิม เวลาที่เขาตีกอล์ฟก็ดูเหมือนว่าจะไม่รอด เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2561 ที่ติดตามทำให้ทราบว่าเขาอยู่ในอันดับ 7 หรือ 8 บ้านหลังเขากลับมาเป็นแชมป์ได้ เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา รายการใหญ่ชื่อ The Master เขาชนะมาตั้งเยอะ ถ้าเราเคยสำเร็จมาแล้ว และเราอาจจะผิดพลาดบ้าง ทำอย่างไรเราจึงจะต่อสู้กับปัจจัยต่างๆแล้วก็กลับมา คนเราต้องมองถึงความยั่งยืน ไม่ว่าเราจะมีอายุเท่าไหร่ชีวิตก็ต้องมีความหมาย ไม่ได้หมายความว่า เราต้องเก่งทุกเรื่องแต่ต้องพยายามรักษามาตรฐานหรือ Consistency ดาราบางคนมีชื่อเสียงขึ้นมาแล้วก็หายไป อยากคนไทยได้คิด บางคนกำลังปลุกปั้นให้ลูกอายุ 12 ถึง 14 ปีมาเป็นนักฟุตบอลหรือนักกอล์ฟ ถ้าเขาผิดหวังขึ้นมาจะจัดการตัวเขาเองอย่างไร บางคนเรียนเก่งแต่อาจจะผิดพลาดบ้าง

คุณวิชัย วรธานีวงศ์ กล่าวว่า Tiger Woods เป็นตัวอย่างที่ดีของคนสู้ชีวิต หากเราเรียนรู้ประวัติของ Tiger Woods จะเห็นว่าเขาผ่านการเลี้ยงดูอย่างทุ่มเทจากพ่อแม่ของเขา น่าเสียดายในวงการกีฬาไทย ที่ดิ้นรนโดยองค์กรแต่ละส่วน องค์กรภาครัฐให้เงินแต่ละคนไม่ค่อยพอ กลายเป็นว่าทุกคนต้องออกเงินและแรงเอง ถ้าวงการกีฬาไทยมีระบบการสร้างคนที่มีคุณภาพ และทุ่มเทอย่างจริงจังทุกภาคส่วน ก็จะได้บุคลากรที่ดีในวงการกีฬา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ไม่ควรมองเฉพาะกีฬาแต่ควรมองสาขาอื่นด้วย เช่น นักดนตรี นักแสดง คนทำงานในปัจจุบันเมื่อเกิดความสำเร็จต้องดูว่าความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วจะสามารถไปยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น  ในการทำอะไรก็ตามความสำเร็จนั้นไม่ได้มาจากประเทศไทย ต้องวัดในมาตรฐานโลก ถ้าเขามีปัญหาหรือล้มเหลวขึ้นมา บางคนก็ไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร เรียกว่า Pain is Gain. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสว่า ขาดทุนคือกำไร ในบางช่วงของชีวิต ก็ต้องมีความล้มเหลวบ้าง แต่เนื่องจากชีวิตคนเรายาวนาน บางคนถึงจุดสูงสุดแล้วก็ตกลงมา หนังสือเล่มหนึ่งบอกว่าเขาโค้ชเฉพาะคนที่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก แล้วไม่ประสบความสำเร็จอีก เขาประมาทคิดว่าสำเร็จแล้วก็จะสำเร็จต่อไป

ต้องยอมรับว่าในประเทศไทยการเรียนหนังสือหรือการพัฒนาคนโดยทั่วๆไป ก็จะถ่ายทอดความรู้ให้กับคน มีอาจารย์มาสอนก็สอนวิชาต่างๆ แต่ก็ลอกมาจากตำรามาก คนจึงเบื่อเพราะเรียน 5-6 ชั่วโมงก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เพราะฉะนั้นวิธีการเรียนในมหาวิทยาลัยเรียก Active Learning ให้คนฟังกับอาจารย์มีส่วนร่วมกัน เมื่อรู้อะไรอย่างหนึ่งก็อาจจะออกไปดูงานนอกสถานที่ หรือเอาไปทำให้เขามีส่วนร่วมอยากเป็น workshop ขึ้นมา แต่อาจารย์บางคนก็ทำไม่เป็น ก็สอนข้างเดียว ไม่ได้ทำงานแบบ Team Learning ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรอะไรศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ก็สร้างทีม บางคนก็เป็นผู้ประสานงาน เมื่อทำ workshop เราก็เข้าไปกระตุ้น เวลาทำ workshop เราก็ให้เขามีบทบาทร่วมกัน บางครั้ง workshop บางแห่งก็มีคนเก่งพูดคนเดียว จริงๆแล้ว workshop ต้องเน้น Learn-Share-Care เรียนรู้แล้วแบ่งปันกัน นำความหลากหลายของความคิดมาผสมกัน ถ้ามีการปะทะกันทางปัญญา ก็เหมือนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันเรียกว่า Learn-Share-Care เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองในเรื่องที่คิดไม่เหมือนกัน เช่น เสื้อเหลือง เสื้อแดง คิดไม่เหมือนกัน ไม่ได้แปลว่า เป็นศัตรูกัน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จึงชอบแนวคิด Value Diversity มาจากความหลากหลายของความคิดที่เกิดขึ้น แล้วก็ต้องนำมาผสมผสานกันให้เกิดความสามัคคี เพราะว่า ถ้าคิดเหมือนกัน บางทีก็คิดผิด เหมือนนำคนที่ทำงานด้านการเงิน 10 คนมาคุยกัน จะเกิดความโลภขึ้นมา ขอฝากครูโรงเรียนมัธยมไว้ว่า เวลามาเข้ากลุ่ม ก็นำคนที่มาจัดกิจกรรมสักกลุ่มหนึ่ง คนเรียนเก่งและคนเล่นกีฬามาคุยกัน มิฉะนั้น คนเรียนเก่งจะรู้เฉพาะวิชาการ พอไปถามเรื่องประชาธิปไตย เขาก็ตอบว่า เขาเรียนฟิสิกส์ไม่ได้เรียนรัฐศาสตร์ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว คนในเมืองไทยจะรอบรู้ได้อย่างไร

งานอุ่นไอรัก คลายความหนาวเป็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 10 โปรดเกล้าฯให้จัดงาน ณ อดีตพระราชฐานในหลวงรัชกาลที่ 5 ในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 5 ทำให้เข้าใจเรื่องทุนทางวัฒนธรรม 

ทฤษฎีทุนมนุษย์ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ซึ่งขยายมาจากแนวคิดของ Prof. Gary Becker เจ้าพ่อทางด้านเศรษฐศาสตร์เมื่อ 50 ปีที่แล้ว เขามองว่า มนุษย์เราเกิดมาเท่ากัน ถ้าลงทุนเรื่องโภชนาการและการศึกษา คนหนึ่งก็จะมีศักยภาพและรายได้มากกว่า ก็เป็นที่รู้กันว่า คนเรียนจบปริญญาตรีต้องมีความสามารถโดยเฉลี่ยมากกว่าคนจบม.6 ในปัจจุบัน

บางทีเราคิดว่า คนเก่งจะต้องจบปริญญาเอก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนขับแท็กซี่บางคน ผู้ประกอบการในต่างจังหวัดไม่ว่าจะเป็นอุดรธานี อุบลราชธานี หาดใหญ่ สงขลา หรือเถ้าแก่ต่างๆ ก็อาจจะไม่ได้จบการศึกษาสูงนัก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จึงได้ขยายปัจจัยที่มันไปเสริมทุนมนุษย์ของ Prof. Gary Becker และเป็นที่มาของ 8K’s และ 5K’s ใน 8K’s มีเรื่องทุนทางจริยธรรม ถ้าเรียนหนังสือมาก แต่ขี้โกง ก็ไม่ได้ จึงได้ใส่ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) คือ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น จากนั้นก็ใส่ทุนแห่งความสุขเข้าไป ในการทำสิ่งต่างๆ ถ้ามีแต่เงิน ก็ไม่มีความสุข ความสุขของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์แยกระหว่าง Happiness at Work และ Happy Workplace ออกจากกัน Happiness at Work หมายถึงขณะที่ทำงานอยู่ ตัวอย่างของ Happy Workplace ได้แก่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่มีบรรยากาศการทำงานที่ดี มีห้องสมุด มีการแจกหนังสือ มีห้องออกกำลังกาย แต่พนักงานเองอาจไม่มี Passion ในการทำงาน ก็ทำได้ครึ่งเดียว ในปัจจุบันนี้บางคนมี Laptop นั่งอยู่ที่ร้านกาแฟ เขามีความสุขในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ของตน ไม่จำเป็นต้องเข้าสำนักงานก็ได้ ตอนนี้ คนจะทำงานที่ใดก็ได้ มีอีกทุนคือทุนทางวัฒนธรรม แต่ก่อนนี้คนมักคิดว่า วัฒนธรรมเป็นของที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือเป็นของที่เก็บไว้ที่กรมศิลปากร มีฝ่ายโบราณคดี แต่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ใส่เข้าไปไว้ในทุนมนุษย์เพราะมนุษย์ที่เกิดมาในประเทศใดก็ตามแล้วก็ผ่านสังคมใดก็ตาม คนนั้นก็จะได้รับการปลูกฝังทางวัฒนธรรมในตัว เช่น ในปัจจุบันเราเปรียบเทียบคนไทยกับคนอเมริกัน หรือเปรียบเทียบคนผิวดำในแอฟริกากับคนผิวดำที่ย้ายถิ่นไปอยู่ในสหรัฐอเมริกา ทุนทางวัฒนธรรมของคนผิวดำทั้งสองกลุ่มไม่เหมือนกัน คนผิวดำที่อยู่ในประเทศของตนประกอบด้วยศาสนา พิธีกรรม ครอบครัว อาหารการกิน ได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมของประเทศตน แต่กลุ่มที่ย้ายถิ่นไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ก็ได้รับวัฒนธรรมแฮมเบอร์เกอร์ของอเมริกา ดังนั้นทั้งสองกลุ่มนี้มีทุนทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

คนกล่าวถึงละครบุพเพสันนิวาสมาก วันหนึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ไปบอกนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้ไปขยายทุนทางวัฒนธรรมจากละครเรื่องนี้แล้วส่งออกไปทั่วโลกคล้ายๆแดจังกึม ทุนเหล่านี้อยู่ในตัวเรา แต่คนไทยบางกลุ่มก็ไปคลั่งไคล้ K-Pop แต่ไม่ชื่นชมของดีในไทย ไปชื่นชมวัฒนธรรมอื่นแทน แล้วเราจะสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางวัฒนธรรมไทยได้อย่างไร เราก็ต้องหวงแหนทุนทางวัฒนธรรมของเรา

สถานการณ์เปลี่ยนไป คนที่เรียน Harvard เช่น Mark Zuckerberg หรือ Bill Gates ก็ไม่เรียนต่อ แต่ออกมาทำงาน เป็นตัวอย่างของคนที่มีปัญญาโดยไม่ต้องมีปริญญา

งานอุ่นไอรัก คลายความหนาวและละครบุพเพสันนิวาสเป็นกรณีศึกษาทุนทางวัฒนธรรม ในทฤษฎีของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทุนทางวัฒนธรรมเกิดมาจากตัวเรา ไม่ได้ออกมาเป็นวัดพระแก้ว คือตัวเราเปี่ยมไปด้วยทุนทางวัฒนธรรมแต่คนไทยอาจจะไม่รู้ว่าตนเองก็มีทุนทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ซาบซึ้งกับมัน หันกลับไปชื่นชมวัฒนธรรมอื่น

คุณวิชัย วรธานีวงศ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา คนไทยชื่นชมหลายสิ่ง ประเทศไทยเป็นประเทศที่รับวัฒนธรรมและเทคโนโลยีหลายอย่างจากทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารับสิ่งต่างๆเหล่านี้มาโดยปราศจากการวิเคราะห์และเลือก แล้วไม่ได้นำไปพัฒนาต่อยอด ถ้าคนไทยทำเรื่องทุนทางวัฒนธรรมให้ดี ก็น่าจะทำรายได้เข้าสู่ประเทศได้มหาศาลควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวและการส่งเสริมค่านิยมแบบไทย นอกจากมี K-Pop แล้ว ก็ต้องมี Thai Pop ด้วย การเรียนการสอนของประเทศไทยที่ผ่านมาไม่ค่อยส่งเสริมให้เด็กไทยคิดหรือมองแบบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีหรืออีกหลายประเทศมอง ประเทศเหล่านี้ส่งออกวัฒนธรรมได้ ประเทศไทยมีงานนี้คือ งานอุ่นไอรักคลายความหนาวและละครบุพเพสันนิวาสที่น่าจะต่อยอดได้ ถ้าพวกเรามองไกลอย่างแท้จริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความร่ำรวยทางวัฒนธรรมแต่เนื่องจากระบบการศึกษาไทยอ่อนแอจึงรับวัฒนธรรมโดยไม่รู้ตัวและก็ไม่ได้ค้นหาตัวเองว่า ประเทศไทยมีอะไรดีอยู่ การที่ยุคนี้ในหลวงรัชกาลที่ 10 ก็ทรงเน้นส่งเสริมวัฒนธรรม เช่น การแต่งชุดไทย ถ่ายรูปออกมาแล้วสวยงาม ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงเป็นพระราชปนัดดาในรัชกาลที่ 5 เรื่องนี้ก็เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของประเทศไทย แต่คนไทยคิดไม่เป็น เห็นด้วยกับคุณวิชัยว่า คนไทยไม่สนใจรากเหง้าของตนเอง เราต้องรู้รากเหง้าของเรา ไม่ใช่เฉพาะเรื่องความสำเร็จในชีวิต บางทีบางคนเกิดมาในสังคมที่ยากจน หรือเกิดในต่างจังหวัด บางทีมีความหมายมากกว่าเกิดในกรุงเทพ กรุงเทพมีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่ไม่ชัดเจน ครอบครัวของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เติบโตมาจากนครสวรรค์ คุณวิชัยก็โตมาที่หาดใหญ่ รุ่นศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ไม่มีวัฒนธรรมมากนัก แต่ได้มาจากรุ่นบิดามารดาที่เกิดในต่างจังหวัด มารดาศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เกิดที่อยุธยา แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าต้องไปอยุธยาบ่อยๆ อันที่จริงศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ก็ไปทำกิจกรรมเกี่ยวกับอยุธยาหลายครั้งเพื่อช่วยมารดา เวลาที่ไปพยุหะคีรี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ก็คิดถึงบิดา ถ้าคนเราไม่มีรากเหง้า แล้วจะทราบได้อย่างไรว่ามาจากที่ใด วัฒนธรรมจีนมีความลึกซึ้งมาก จะย้อนกลับไปในอดีต ก่อนหน้าการออกอากาศครั้งนี้ไม่กี่วัน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ฟังรายการของคุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ก็นำครอบครัวกลับไปแสวงหารากเหง้าของเขาในเมืองจีน

ละครบุพเพวันนิวาสทำให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจับประเด็นได้ แต่ท่านก็ต้องเข้าใจว่ากระทรวงวัฒนธรรมไม่ได้เป็นรองกระทรวงอื่นๆ ไม่ใช่รับมอบนโยบายแล้วทำงานพอเป็นพิธี แค่จัดเผยแพร่ แต่ต้องเขียนเป็นแผนออกมาว่า ประเทศไทยจะมีรายได้จากวัฒนธรรมเท่าไร ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เคยเข้าไปเป็นโค้ชให้กระทรวงวัฒนธรรมหลายครั้งในสมัยที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์เป็นปลัดกระทรวง คนที่ทำงานกระทรวงนี้เรียนมาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร เรียนด้านโบราณคดี แต่พอเป็นเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ การหารายได้ การสร้างภาพยนตร์ การทำบทละคร กระทรวงวัฒนธรรมก็ต้องมีแนวร่วม จะทำคนเดียวไม่ได้  เมื่อเร็วๆนี้ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ก็พาทูตไปเที่ยวเชียงราย แบบนั้นง่ายเกินไป แต่ควรจะคิดต่อว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาส่งเสริมให้แต่งชุดไทยเป็นแฟชั่น ส่งเสริมอาหารไทย วิถีชีวิต ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ดีเพราะเป็นเด็กบ้านนอก บิดาเป็นคนไทยเชื้อสายจีนมาจากนครสวรรค์ แต่มารดามาจากอยุธยา  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เติบโตในกรุงเทพ ได้รับอิทธิพลจากครอบครัว เข้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัด แล้วไปทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้รับการปลูกฝังทางวัฒนธรรมมาโดยตลอดและก็ต้องค้นหาตัวเอง เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เด็กรุ่นใหม่แทนที่จะเรียนแต่วิชาการ แต่ควรจะเรียนด้านประวัติศาสตร์ด้วย บางคนก็ไม่เข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ ถ้าการเรียนสมดุลกันระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ คนที่เรียนด้านวิทยาศาสตร์ก็ต้องรู้เรื่องวัฒนธรรมด้วย ในที่สุดหลักสูตรนี้ก็จะเป็นประโยชน์ ปัญหาคือ เด็กเรียนวิชาที่ตนเองไม่รู้คุณค่าของตนเอง แล้วจะเป็นสมาชิกของประเทศได้อย่างไร มันเกี่ยวกับวัฒนธรรมหลายด้าน เช่น ระดับภาค วัฒนธรรมการเมือง ถ้าวัฒนธรรมการเมืองหมายถึงการซื้อขายเสียง ประเทศไทยก็ยุ่งเหยิง วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามา เมื่อรู้แล้ว ก็ต้องนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยพิจารณาให้ดีแล้วทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ อาหาร แฟชั่น

คุณวิชัย วรธานีวงศ์ กล่าวว่า เวลาที่เราไปประเทศเกาหลีหรือญี่ปุ่น ก็มีโอกาสได้แต่งชุดประจำชาติของเขา นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นล้านคนมาเมืองไทยในแต่ละปี แต่ไม่มีใครมุ่งมั่นนำเขาเข้ามาถ่ายรูปแต่งกายชุดไทยหรือทำอาหารไทย เป็นเรื่องที่น่าคิด อยากจะให้ประเทศไทยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมากขึ้น และคนไทยควรมีความภูมิใจในความเป็นไทยมากกว่านี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับคุณวิชัย วันหนึ่งนักท่องเที่ยวต้องไม่มาแค่ซื้อของเท่านั้น แต่ต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เรื่องการทำอาหาร ก็มีคนสนใจ แต่ก็อยู่ในเฉพาะแวดวงคนรวย แต่นักท่องเที่ยวทั่วไปก็มาแค่ซื้อของที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าทางวัฒนธรรมไทยเลย

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูรูปประกอบ

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/289/827/original_Human_Talk_18032018.pdf?1521781371

ที่มา: บทความจากรายการวิทยุ Human Talkประจำวันที่ 18 มีนาคม 2561

หมายเลขบันทึก: 645920เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2018 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2018 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท