ตอนที่ 2 การวิจารณ์เรื่องความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) เกี่ยวกับธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย


GATS คือการค้าบริการระหว่างประเทศมีการขยายตัวภายใต้เงื่อนไขของความโปร่งใสและเป็นการเปิดเสรีแบบก้าวหน้าเป็นลำดับ

ผลเสียของการจำกัดการถือครองหุ้นของคนต่างชาติ คือ

               ทำให้ธนาคารต่างชาติไม่อยากพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรให้ทันยุคทันสมัย และไม่อยากแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ไทยเพื่อสร้างสรรผลงานให้เกิดในประเทศไทย 

บทบาทและความสำคัญของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ 

               เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลาช้านานและได้รับความเชื่อถือจากประชาชนประกอบกับมีสำนักงานและสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้เป็นแหล่งระดมเงินออมและแหล่งให้กู้เงินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการกำหนดนโยบายทางการเงิน และธนาคารพาณิชย์ก็มีความสำคัญควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของไทย ดังนั้นจึงขอสรุปบทบาทและความสำคัญของธนาคารพาณิชย์ดังนี้

               1. เป็นแหล่งเงินออมขนาดใหญ่ของประเทศโดยข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ.2548 ธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากประมาณ 6,196,052 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 77 ของยอดเงินฝากรวมในระบบสถาบันการเงิน         

               2. เป็นแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ จากการที่ธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งระดมเงินออมขนาดใหญ่ จึงเป็นแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปกู้เงินไปลงทุนในกิจการต่างๆ โดย ณ สิ้นปี พ.ศ.2548 ธนาคารให้สินเชื่อประมาณ 5,488,434 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 77 ของเงินให้สินเชื่อในระบบสถาบันการเงินทั้งหมด         

              3. ธนาคารพาณิชย์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดการใช้จ่ายเงินกล่าวคือ แต่ก่อนประชาชนมีการใช้จ่ายเงินโดยใช้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ แต่เมื่อมีกิจการของธนาคารพาณิชย์เข้ามาทำให้มีการใช้เช็คเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนอีกชนิดหนึ่ง         

              4. ธนาคารพาณิชย์เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการกำหนดนโยบายทางการเงินคือ รัฐสามารถดำเนินมาตรการต่างๆ ทางเศรษฐกิจผ่านระบบธนาคารพาณิชย์เพื่อควบคุมปริมาณในระบบเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เช่น การเพิ่ม หรือการลดอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย เป็นต้น         

              5. ธนาคารพาณิชย์มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มและลดปริมาณเงินในประเทศจากการสร้างและทำลายเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ขยายเครดิตด้วยการให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้า และเมื่อลูกค้าได้นำเงินกู้ยืมดังกล่าวไปฝากไว้กับธนาคาร จะทำให้ธนาคารสามารถนำเงินฝากของลูกค้าไปแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการให้กู้ยืมต่อไปได้ กระบวนการเหล่านี้ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างเงินฝากขึ้นมา และทำให้ปริมาณเงินในประเทศเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน การลดการให้กู้ยืมเงินของธนาคารพาณิชย์จะส่งผลให้เกิดการทำลายเงินฝากอันจะทำให้ปริมาณเงินในประเทศลดลงด้วย    

ปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจธนาคารพาณิชย์          

              ปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจธนาคารพาณิชย์สามารถจำแนกได้ตามกลุ่มผู้ให้บริการได้ดังนี้         

              1. ธนาคารที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนไทย   

                 (ก) การหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศจะมีต้นทุนสูงเนื่องจากอันดับเครดิตถูกจัดอยู่ในระดับที่เสียเปรียบธนาคารต่างชาติ   

                 (ข) การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินมีต้นทุนและต้องใช้เวลาเพื่อศึกษา คิดค้น และเลือกใช้ให้เหมาะสม   

                 (ค) ขาดความรู้ความชำนาญในการบริหารงานเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงจำเป็นจะต้องว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้น   

                 (ง) ประสิทธิภาพของพนักงานเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์และเงินฝากต่อพนักงานยังอยู่ในระดับต่ำ   

                 (จ) ขาดการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบโดยให้ความสำคัญกับหลักประกันหรือผู้ค้ำประกันที่คุ้นเคยหรือเชื่อถือได้   

                 (ฉ) ขนาดที่ใหญ่เกินไปเป็นข้อจำกัดสำคัญสำหรับการปรับองค์กรและการบริหารงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ    

                 (ช) มีสัดส่วนของหนี้ NPL  ที่ต้องแก้ไขมากกว่าธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ   

                 (ซ) ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนดและอยู่ภายใต้แรงกดดันจากปัจจัยทางการเมือง แรงงาน และสังคม   

                 (ญ) เกณฑ์การกำกับดูแลระดับสากลมีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น โดยจะส่งผลต่อความสามารถในการประกอบธุรกิจ   

                 (ฎ) ธุรกิจหลักในด้านการระดมเงินฝากและให้สินเชื่ออาจได้รับผลกระทบจากการที่ภาครัฐมีนโยบายที่จะส่งเสริมสถาบันการเงินประเภทอื่นๆ ตลอดจนมีนโยบายที่จะพัฒนาบทบาทของตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ในการะดมและจัดสรรเงินทุนของประเทศให้เพิ่มมากขึ้น          

              2. ธนาคารที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนต่างชาติ 

                  (ก) ลูกค้าชาวไทยต้องใช้เวลาในการสร้างความคุ้นเคยกับธนาคารใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในระยะแรก                  

                  (ข) ฐานลูกค้าไม่กว้างเท่าฐานลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ที่บริหารโดยคนไทย ทำให้ต้องทุ่มเททรัพยากรเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดในช่วงแรกที่เข้ามาแข่งขัน                  

                  (ค) ต้องปรับปรุงระบบการทำงานของทีมงานในประเทศให้สามารถทำงานภายใต้ระบบการทำงานของต่างประเทศได้อย่างราบรื่น                  

                  (ง) ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การตรวจสอบและกำกับดูแลทั้งของประเทศไทยและประเทศแม่                  

                  (จ) เกณฑ์การกำกับดูแลระดับสากลมีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการประกอบธุรกิจ 

                  (ฉ) มีข้อจำกัดในการนำส่งกำไรออกนอกประเทศ                  

                  (ช) การที่ประเทศใช้นโยบายเน้นความเป็นเอกราชทางด้านการเงิน ภาครัฐอาจมีการจำกัดสิทธิ หรือปฏิบัติกับธนาคารที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนต่างชาติไม่เท่าเทียมกับธนาคารพาณิชย์ไทย และประชาชนอาจมีการต่อต้านธนาคารต่างประเทศ                  

                  (ซ) ธุรกิจหลักในด้านการระดมเงินฝากและให้สินเชื่ออาจได้รับผลกระทบจากการที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมสถาบันการเงินประเภทอื่นๆ ตลอดจนมีนโยบายที่จะพัฒนาบทบาทของตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ในการะดมและจัดสรรเงินทุนของประเทศให้เพิ่มมากขึ้น              

              3. สาขาของธนาคารต่างประเทศในประเทศไทย                  

                  (ก) ลูกค้าคนไทยต้องใช้เวลาในการสร้างความคุ้นเคยธนาคารใหม่ที่ยังไม่รู้จักในช่วงแรก                  

                  (ข) ฐานลูกค้าไม่กว้างเท่าธนาคารไทย หากต้องการชิงส่วนแบ่งตลาด ก็ต้องทุ่มเททรัพยากรในช่วงแรกที่เข้ามาแข่งขัน

                  (ค) ขอบเขตการดำเนินธุรกิจถูกจำกัดมากกว่า เนื่องจากจำนวนสาขาที่ไม่สามารถขยายเพิ่มได้และมีข้อจำกัดด้านบุคลากรต่างประเทศ ตลอดจนประเภทธุรกรรมที่สามารถดำเนินการได้                   

                  (ง) ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การตรวจสอบและกำกับดูแลทั้งของประเทศไทยและประเทศแม่                  

                  (จ) เกณฑ์การกำกับดูแลระดับสากลมีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการประกอบธุรกิจ

                  (ฉ) มีข้อจำกัดในการนำส่งกำไรคืนแก่ธนาคารแม่ในต่างประเทศ                  

                  (ช) การที่ประเทศใช้นโยบายเน้นความเป็นเอกราชทางด้านการเงิน ภาครัฐอาจมีการจำกัดสิทธิ หรือปฏิบัติกับธนาคารที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนต่างชาติไม่เท่าเทียมกับธนาคารพาณิชย์ไทย และประชาชนอาจมีการต่อต้านธนาคารต่างประเทศ                  

                  (ซ) ธุรกิจหลักในด้านการระดมเงินฝากและให้สินเชื่ออาจได้รับผลกระทบจากการที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมสถาบันการเงินประเภทอื่นๆ ตลอดจนมีนโยบายที่จะพัฒนาบทบาทของตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ในการะดมและจัดสรรเงินทุนของประเทศให้เพิ่มมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 64533เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • การเปิดเสรีการค้าบริการ
  • ก่อนเปิดประเทศไทยควรศึกษาถึงผลดี  ผลเสีย
  • และเตรียมพัฒนาศักยภาพในสาขานั้นๆให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้  ไม่ใช่เห็นเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนแล้วก็รีบเปิดในสาขาที่ตนยังไม่พร้อมค่ะ
  • แวะมาบริโภคความรู้ใหม่ๆค่ะ
ขอขอบคุณที่เข้ามาให้ข้อคิดเห็นค่ะ เช้านี้ได้ข่าวว่า ประเทศไทยจะชะลอการเปิดเสรีการค้าบริการทางด้านการธนาคารซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถปรับปรุงแผนการเงินเพื่อเตรียมไว้รองรับการเสรีการค้าบริการทางด้านการธนาคารค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท